24 มี.ค.2565 - นายบุญชอบ สุทธมนัสวงษ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลภายใต้การดำเนินงานโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ออก 10 มาตรการ ในการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน รวมถึงผู้ใช้แรงงาน หนึ่งในนั้น คือการลดเงินสมทบประกันสังคม เพื่อช่วยเหลือนายจ้างผู้ประกอบการ และพี่น้องผู้ประกันตน โดยเฉพาะผู้ที่มีรายได้น้อย ซึ่งได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด 19 และสถานการณ์สงครามระหว่างประเทศรัสเซีย และยูเครน ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ค่าครองชีพ ต้นทุนการผลิต และบริการของทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม สำนักงานประกันสังคม พร้อมร่วมดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งช่วยเหลือพี่น้องผู้ประกันตนในยามเดือดร้อนในสถานการณ์ดังกล่าว ที่จะส่งผลให้ผู้ประกันตน สามารถนำเงินสมทบที่ลดลงไปใช้เพิ่มกระแสเงินสดให้ผู้ประกันตนมีสภาพคล่องมากขึ้น หากลูกจ้างผู้ประกันตนติดเชื้อต้องรักษาตัวไม่สามารถประกอบอาชีพได้ ทำให้ขาดรายได้ อีกทั้งมาตรการดังกล่าว จะเป็นการลดปัญหาทางการเงินของผู้ประกันตนทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นายจ้าง การลดเงินสมทบดังกล่าวจะช่วยแบ่งเบาลดภาระต้นทุนที่สูงขึ้นและเพิ่มสภาพคล่องให้กับนายจ้าง เพิ่มศักยภาพในการรักษาการจ้างงาน ส่งผลให้สามารถประกอบธุรกิจต่อไปได้ อย่างต่อเนื่องในระบบเศรษฐกิจ เงินสมทบที่ลดลงมากกว่า 30,000 ล้านบาท จะกลายเป็นเม็ดเงินที่นำมาใช้จ่ายช่วยหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตได้ต่อไป
ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวต่อไปว่า สำหรับประเด็นของการลดเงินสมทบ จะมีผลกระทบเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคมในระยะยาวนั้น ตนขอเรียนว่ากองทุนประกันสังคมมีเงินสำรองสามารถนำมาบริหารสภาพคล่องได้ในระยะยาว และที่ผ่านมา สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน ได้พิจารณาการลงทุน โดยนักลงทุนมืออาชีพอย่างรอบคอบ เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่พี่น้องผู้ประกันตนที่เป็นเจ้าของเงินกองทุนร่วมกัน และได้มีการเปิดเผยข้อมูลผลตอบแทนของกองทุนฯ ให้ทราบทั้งรายปี และรายไตรมาส ผ่านทางเว็บไซต์ สปส. www.sso.go.th โดยการลงทุนมีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ซึ่งผลการบริหารกองทุนประกันสังคม ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 มีการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูง ดอกผลสะสมจากการลงทุน กว่า 8.34 แสนล้านบาท จึงขอให้พี่น้องผู้ประกันตนทุกท่านเชื่อมั่นในเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคม ว่ามีเพียงพอต่อการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ประกันตนในระยะยาวอย่างแน่นอน รวมถึงไม่กระทบกับบำนาญที่จะได้รับในอนาคต ทั้งนี้ ผู้ประกันตนสามารถตรวจสอบเงินสะสมกรณีชราภาพ ตามช่องทางผ่านเว็บไซต์ สปส. www.sso.go.th หรือที่ sso connect และทางแอพพลิเคชั่นไลน์ @ssothai สอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ สายด่วน 1506 ทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
นายมนัส โกศล ประธานสภาองค์การลูกจ้างพัฒนาแรงงานแห่งประเทศไทย และประธานเครือข่ายประกันสังคมคนทำงาน ในฐานะอนุกรรมการกลั่นกรองงบประมาณและติดตามการใช้งบประมาณประกันสังคม กล่าวถึงการลดเงินสมทบประกันสังคมเพื่อช่วยเหลือผู้ประกันตนพี่น้องแรงงานจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครนที่ออกมานั้นว่า มาตรการดังกล่าวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของกองทุนประกันสังคมแต่อย่างใด เนื่องจากปัจจุบันผู้ประกันตนส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเดือนละประมาณ 9,000 ล้านบาท จ่ายเงินบำนาญประมาณ 3,000 ล้านบาท ที่ปัจจุบันมีอยู่กว่า 1.8 ล้านล้านบาท ขณะเดียวกันในปี 2564 ที่ผ่านมา ประกันสังคมได้ดอกเบี้ยและผลตอบแทนจากการลงทุนประมาณ 70,000 ล้านบาท จึงขอให้ผู้ประกันตนมั่นใจได้ว่ามาตรการดังกล่าวไม่กระทบต่อเงินชราภาพของผู้ประกันตนอย่างแน่นอน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รมว. พิพัฒน์ มอบ เลขา อารี ลงพื้นที่ จ.ระยอง เปิดอาคาร สปส. สาขาปลวกแดง สร้างความเชื่อมั่น พร้อมยกระดับการให้บริการ
ในวันที่ 22 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน มอบหมายให้ นายอารี ไกรนรา เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
”พิพัฒน์“ เปลี่ยนกระทรวงสู่ยุคAI สร้างทักษะการใช้ AI บริการหางาน พัฒนาฝีมือ แจ้งข้อร้องเรียน รับสิทธิประกันสังคม ให้สะดวก รวดเร็วขึ้น .
วันที่ 23 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เป็นประธานในงานการประชาสัมพันธ์ด้านปัญญาประดิษฐ์และการนำไปใช้สำหรับบุคลากรภาครัฐ (Kick off Artificial Intelligence Literacy for Government officer)
"พิพัฒน์" รมว. แรงงาน มอบ "มารศรี" เลขาธิการ สปส. รุดตรวจสอบ พร้อมให้การช่วยเหลือลูกจ้างประสบเหตุถังแก๊สระเบิดโรงงานเหล็ก จังหวัดระยอง
เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 67 เวลาประมาณ 09.40 น. เกิดเหตุการณ์ถังแก๊สระเบิด และเกิดเพลิงไหม้โรงงานผลิตเหล็ก ของบริษัท ซิน เคอ หยวน สตีล จำกัด ตำบลหนองละลอก อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง เป็นเหตุให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 8 ราย
“พิพัฒน์” นำกระทรวงแรงงาน Roadshow Matching งานให้คนไทย เพิ่มโอกาสทำงานต่างประเทศ เปิดที่แรกกรุงโตเกียว
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี เลขาธิการสำนักงานประกันสังคม และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน
“พิพัฒน์” เยือนญี่ปุ่น ถกรัฐมนตรีแรงงาน นายจ้างญี่ปุ่นต้องการแรงงานทักษะ16 สาขา 820,000คน ที่แรกกรุงโตเกียว
วันที่ 19 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน ผู้บริหารกระทรวงแรงงานเข้าพบเข้าพบ Mr. Takamaro FUKUOKA
“พิพัฒน์” พบ รมว.แรงงาน ญี่ปุ่น ถกเพิ่มอัตราจ้างคนไทยดูแลผู้สูงอายุ พร้อมหนุนองค์กรรับส่งแรงงานไทย
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วย นายบุญสงค์ ทัพชัยยุทธ์ ปลัดกระทรวงแรงงาน นายสมชาย มรกตศรีวรรณ อธิบดีกรมการจัดหางาน นายเดชา พฤกษ์พัฒนรักษ์ อธิบดีกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน เรือเอก สาโรจน์ คมคาย อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน นางมารศรี ใจรังษี