'ผู้บริหารนกแอร์' แจง กมธ.คมนาคม ขอเวลาปรับแผนสร้างตลาด เชื่อมั่นสนามบินเบตง

ผู้บริหารนกแอร์ ชี้แจงกมธ.คมนาคม วุฒิสภา หลังยกเลิกไฟล์ทบิน เบตง ขอเวลาปรับแผนสร้างตลาด “ยอดยุทธ” เตรียมประสานหน่วยงานเกี่ยวข้องช่วยเหลือ

17 มี.ค.2565 - ที่รัฐสภา พล.อ.ยอดยุทธ บุญญาธิการ สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) คมนาคม วุฒิสภา พร้อมด้วยผู้บริหารสายการบินนกแอร์ แถลงภายหลังหารือร่วมกันกรณีเส้นทางการบิน ดอนเมือง – เบตง ที่กำลังเป็นปัญหาในขณะนี้ โดย พล.อ.ยอดยุทธ กล่าวว่า คณะกมธ.ฯ ได้รับการประสานจากสายการบินนกแอร์ เพื่อขอชี้แจงประเด็นเส้นทางการบินจากดอนเมือง – เบตง โดยเมื่อวันที่ 14 มี.ค.ที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ได้เป็นประธานเปิดเที่ยวบินปฐมฤกษ์ หลังจากวันนั้นประชาชนยังคาดการณ์ว่าสายการบินนกแอร์จะบินไปเบตง ทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ แต่ปรากฎว่าวานนี้ (16 มี.ค.) นกแอร์ยังไม่สามารถจัดเที่ยวบินลงไปได้ ส่วนวันพรุ่งนี้ (18 มี.ค.) จะเป็นเที่ยวบินพิเศษโปรโมทเบตง แต่หลังจากนั้นยังไม่มีแผนแน่นอน

พล.อ.ยอดยุทธ กล่าวว่า ตนในฐานะประธานกมธ.ติดตามเรื่องนี้มาเป็นเวลา 2 – 3 ปี โดยประสานกรมท่าอากาศยาน สำนักการบินพลเรือน และทางจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาทางเทคนิคจนได้รับใบอนุญาตให้สายการบินไปลงได้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 9 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการเชิญผู้ว่าราชการจังหวัด กรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม และสายการบินนกแอร์ หารือร่วมกัน ซึ่งทางคณะกมธ.ฯ รับทราบปัญหาว่าหากสายการบินจะไปลงเบตง ต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เนื่องจากจำนวนผู้โดยสารยังน้อย นกแอร์ต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายพอสมควร โดยนกแอร์ขอลดค่าธรรมเนียมสนามบิน ค่าธรรมเนียมการจอด ค่าธรรมเนียมนำร่อง ค่าธรรมเนียมสำนักงาน การบริการน้ำมันของอากาศยาน และลดภาษีสรรพสามิต

“เราประสานหน่วยงานที่เพื่อดูแนวทางช่วยเหลือ ส่วนปัญหาเรื่องการประกันรายได้ 75% หน่วยงานราชการยังติดขัดระเบียบที่ไม่สามารถดำเนินการได้ และต้องเป็นมติของรัฐบาล ซึ่งเป็นปัญหาหลัก ขณะที่นกแอร์คิดแล้วว่าถ้าไม่มีการประกันรายได้ก็จะไม่คุ้มทุน ทำให้สายการบินยังไม่สามารถเกิดเส้นทางประจำตามแผนเดิมได้ วันนี้ผู้บริหารนกแอร์ไม่สบายใจต่อเรื่องดังกล่าว จึงมาพบกับกมธ. เพื่อรับการประสานงานว่าจะให้ช่วยเหลือแก้ปัญหาอย่างไรได้บ้าง ซึ่งต้องหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป” พล.อ.ยอดยุทธ กล่าว

นายสุธี จุลชาต ประธานเจ้าหน้าที่สายปฏิบัติการสายการบินนกแอร์ กล่าวว่า การเปิดสนามบินใหม่ โดยเฉพาะสนามบินที่ไม่เคยมีตลาดมาก่อนต้องใช้เวลาในการศึกษาตลาด นี่คือเหตุผลที่นกแอร์พยายามใช้เวลาที่มีอยู่ ซึ่งโครงการสนามบินเบตงเราได้ยินชื่อมานาน พอจะเริ่มโครงการก็มีการระบาดของโควิด – 19 ทุกอย่างจึงถูกเลื่อนออกไป กระทั่งช่วงนี้ที่กำลังจะกลายเป็นโรคประจำถิ่น เราจึงพยายามเปิดตลาดให้ได้ แต่ระหว่างนี้มีการเลื่อนไฟล์ทมาตลอด ซึ่งอาจเกิดจากการประชาสัมพันธ์ไม่เพียงพอ เป็นสาเหตุที่พรุ่งนี้ (18 มี.ค.) นกแอร์จะมีไฟล์ทกระตุ้นตลาดเบตง เพื่อให้ทุกคนทราบว่าสนามบินแห่งนี้เปิดแล้ว เราพร้อมแล้ว เหลือเพียงการสร้างตลาด ซึ่งขั้นตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการ

“เราจำเป็นต้องได้ลูกค้า จากสถานการณ์ราคาน้ำมัน สถานการณ์โควิด – 19 ต้องใช้เวลาในการขอปรับแผนเพื่อให้รองรับกับสถานการณ์ปัจจุบัน นกแอร์ยังพยายามที่จะให้เกิดสนามบินที่นี่ให้ได้ เพราะเราเล็งเห็นศักยภาพของสนามบินเบตง” นายสุธี กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าดาวดับคู่

สื่อสภาตั้งฉายาสภา 'เหลี่ยม(จน)ชิน' – 'เนวิ(น)เกเตอร์' สภาสูง 'วันนอร์' รูทีนตีนตุ๊กแก – ประธานวุฒิฯ 'ล็อกมง' – ผู้นำฝ่ายค้านฯ 'เท้งเต้ง' 'บิ๊กป้อม-ธิษะณา' คว้าคู่ 'ดาวดับ' ยกขันหมาก 'พท.-ปชป.' เหตุการณ์แห่งปี

สภาสูง ยั๊วะ รัฐบาล ข้ามหัว เทตอบ 5 กระทู้ ‘ยุคล’ ตั้งฉายา ‘นายกฯนินจา’ หนีสภา

‘สภาสูง’ ยั๊วะ รบ.ข้ามหัว เทตอบ 5กระทู้ ‘ยุคล’ ตั้งฉายา ‘นายกฯ นินจา’ หนีสภา ‘หมอเปรม’ อาลัย ‘แพทองโพย’ ไร้รับผิดชอบ แขวะใส่ชุดนอนตรวจทหาร หิ้วผัวใต้ออกงาน

รัฐบาลคาดเที่ยวบินช่วงปีใหม่ทะลุ 1.8 หมื่นเที่ยวบิน

รัฐบาลเตรียมความพร้อมรองรับปริมาณเที่ยวบิน คาดมีเที่ยวบินรวมกว่า 1.8 หมื่นเที่ยวบิน เฉลี่ย  2,611 เที่ยวบินต่อวัน เพิ่มขึ้น 14% จากปี 67

รัฐสภารับหลักการ ร่าง 'พ.ร.ป.ปราบทุจริต' สว.เสียงแตก หนุน-ค้าน

ในการประชุมร่วมกันของรัฐสภา มีนายมงคล สุระสัจจะ รองประธานรัฐสภา เป็นประธานการประชุม มีวาระพิจารณาเรื่องด่วน คือ ร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)ประกอบรัฐธรรมนูญ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่...) พ.ศ... ซึ่งเสนอโดย คณะรัฐมนตรี (ครม.)

ดร.ณัฏฐ์ ชี้ชัด 'ประชามติชั้นเดียว' แค่ยกแรก 'แก้รธน.ทั้งฉบับ' เจอด่านหิน-นโยบายขายฝัน!

“ดร.ณัฏฐ์” มือกฎหมายมหาชน ชี้ กลไกแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับผ่านด่านหินยาก แม้เพื่อไทยใช้เทคนิคช่องทางพ้น 180 วัน ผ่านร่าง พรบ.ประชามติ เป็นเพียงนโยบายในฝัน