‘สว.คำนูณ’ ห่วงนโยบายเงินดิจิทัลสุ่มเสี่ยง เค้น ‘เศรษฐา’ เทหมดหน้าตักใคร หวั่นซ้ำรอยจำนำข้าว
11 ก.ย. 2566 – ที่รัฐสภา เมื่อเวลา 11.19 น. นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิกวุฒิสภา (สว.) อภิปรายนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาว่า นโยบายเติมเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ถือว่าเป็นนโยบายที่สุ่มเสี่ยง ซึ่งการเทหมดหน้าตักในครั้งนี้ ไม่ใช่หน้าตักของพรรคเพื่อไทยหรือของพรรคร่วมรัฐบาลชุดนี้เท่านั้น แต่เป็นหน้าตักของประเทศไทยใช่หรือไม่ เพราะใช้งบประมาณเท่ากับงบประมาณรายจ่าย 1 ปี สำหรับแหล่งที่มาของเงินทุนเป็นการใช้มูลค่าสูง ซึ่งหลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าอาจจะเหมือนโครงการรับจำนำข้าวเหมือน 10 ปีก่อนหรือไม่ และเมื่อแหล่งที่มาของเงินมีปัญหา ไม่ชัดเจน อาจจะไปแตะสินทรัพย์อื่นในประเทศ เช่น เงินสำรองระหว่างประเทศ เหมือนรัฐบาลของพรรคท่านในอดีตที่ตั้งกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ แต่ไม่อาจตั้งได้ เพราะเห็นต่างกัน
“ผมขอตั้งคำถามในนโยบายเติมเงินดิจิทัล ที่มาของเงินจะเป็นเงินในงบประมาณ โครงการในงบประมาณ หรือโครงการนอกงบประมาณ ลักษณะใด เมื่อรวมกับโครงการแก้ปัญหาหนี้สินและการพักหนี้ต้องใช้เงินอีกเท่าไร เมื่อรวม 2 โครงการใช้เงินเท่าไร ใช้เงินในงบประมาณหรือนอกงบประมาณ” นายคำนูณ ระบุ.
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘เวชระเบียน’หลอนทักษิณ โยนรพ.ตำรวจมอบให้ปปช.
นายกฯ พยักหน้ารับปม "ป.ป.ช." ทวงถามเวชระเบียนรักษาตัว
'อิ๊งค์' แค่พยักหน้า ปม รพ.ตร. ไม่ยอมส่งเวชระเบียน 'พ่อนายกฯ' ให้ ป.ป.ช.
'นายกฯอิ๊งค์' ปฏิเสธตอบคำถาม ปม รพ.ตำรวจ ไม่ส่งเวชระเบียนรักษาตัว 'ทักษิณ' หลัง ‘ป.ป.ช.’ ทวงแล้ว 3 ครั้ง ทำแค่พยักหน้ารับทราบ
'นายกฯอิ๊งค์' ถกหัวหน้าส่วนราชการ ลุยลงทุน 9.6 แสนล้าน กระตุ้นจีดีพีประเทศ
นายกฯ ถกหัวหน้าส่วนราชการฯ กำชับผลักดันเม็ดเงินลงทุน 9.6 แสนล้าน สู่ระบบเศรษฐกิจ กระตุ้น ‘จีดีพี’ ประเทศ
อดีตสว.คำนูญ ออกบทความโฉมหน้าเจ้าตัวร้าย ‘กฤษฎีกากัมพูชา1972’ รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย
อดีตสว.ตำนูญออกบทความโฉมหน้าเจ้าตัวร้าย กฤษฎีกากัมพูชา 1972”รุกล้ำอธิปไตยเกาะ/น่านน้ำไทย
เอ็มโอยู44-เอื้อนายทุน จุดจบรัฐบาลไม่ครบเทอม
หากอ้างอิงข้อมูลจากนิด้าโพลเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา หัวข้อ รัฐบาลอุ๊งอิ๊งค์ อยู่ครบเทอมหรือไม่ โดยประชาชนมากกว่า 57.71% มองว่าอยู่ไม่ครบเทอม ประกอบด้วยสัดส่วนร้อยละ
กระจ่าง! ดร.ณัฏฐ์ นักกฎหมายมหาชน ชี้กรณีคุณสมบัติ 'สว.หมอเกศ'
“ดร.ณัฏฐ์” นักกฎหมายมหาชน ชี้ กรณี สว.หมอเกศ ปริญญาเอกและตำแหน่งศาสตราจารย์ หากไม่จริง เป็นการโชว์เหนือ หลอกลวงเพื่อจูงใจให้ผู้สมัคร สว.ด้วยกัน เข้าใจผิดในคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถของตนเอง