18 ส.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายอดิศร เพียงเกษ สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมวิป 3 ฝ่าย ว่าเป็นการพูดคุยถึงระเบียบวาระการประชุมรัฐสภา ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ เพื่อโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ซึ่งในส่วนญัตติของพรรคก้าวไกลที่ขอให้รัฐสภาทบทวนการพิจารณามติเมื่อวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา ที่ห้ามเสนอชื่อบุคคลเดิมให้รัฐสภาเห็นชอบเป็นนายกฯ ที่ประชุมเห็นว่าควรเอาญัตติดังกล่าวออกไปก่อน เพื่อเปิดโอกาสให้ญัตติการโหวตนายกฯได้ดำเนินการต่อไป ส่วนการอภิปรายจะพูดถึงเฉพาะเรื่องคุณสมบัติ แต่ไม่สามารถที่จะให้ที่ประชุมเห็นว่านายกฯที่จะถูกเสนอชื่อไม่จำเป็นต้องมาสภา เพราะที่ผ่านมาข้อบังคับการประชุมไม่ได้เปิดโอกาสให้เป็นเช่นนั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ขณะนี้มีสว.หลายคนอยากให้นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯของพรรคเพื่อไทย มาแสดงวิสัยทัศน์ นายอดิศร กล่าวว่า เราก็อยากให้มา แต่ทราบว่านายเศรษฐาจะเปิดแถลงข่าวชัดเจนในวันที่ 21 ส.ค.นี้ ซึ่งเป็นคู่กรณีระหว่างบุคคลกับบุคคล
เมื่อถามว่า จะมีผลอะไรหรือไม่เพราะมีกระแสข่าวว่าบางคนจะไม่โหวตให้นายเศรษฐา นายอดิศร กล่าวว่า ขอร้องให้ชาติบ้านเมืองเดินต่อไปได้ เพราะข่าวสารบ้านเมืองที่เกิดขึ้นไม่เกี่ยวกับคุณสมบัตินายกฯ เพราะนายเศรษฐา และแคนดิเดตนายกฯทุกพรรค เป็นการเสนอต่อพี่น้องประชาชน มีการกลั่นกรองโต้เถียงตรวจสอบกันอย่างละเอียด ซึ่งข้อบังคับก็ไม่เปิดโอกาส ดังนั้นจะมาก็ได้หรือไม่มาก็ได้ ยกตัวอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ ก็ไม่ได้มา
ถามว่า ส่วนตัวเชื่อว่านายเศรษฐา จะไม่ผ่านการเลือกนายกฯ ในวันที่ 22 ส.ค.นี้ ใช่หรือไม่ นายอดิศร กล่าวว่า นักข่าวก็มีสิทธิ์คิด แต่พวกตนมั่นใจ ว่าพรรคเพื่อไทยเรามีความอ่อนน้อมถ่อมตน มีประสบการณ์ในการแก้ปัญหาบ้านเมืองให้เดินหน้าได้ คิดว่าวันที่ 22 ส.ค.นี้ จะมีข่าวดี ประเทศไทยจะมีนายกฯแน่นอน เพราะมั่นใจในการหารือกับทุกภาคส่วน และสว.ก็ใช้ระยะเวลาในการไตร่ตรอง ซึ่งตนเชื่อมั่นในเกียรติของสว.
ผู้สื่อข่าวถามว่า กังวลอะไรจึงไม่ให้นายเศรษฐามาชี้แจง นายอดิศร กล่าวว่า ในข้อบังคับบอกไม่ต้องมา ซึ่งจะมาก็มาได้ แต่วันที่ 21 ส.ค.นี้ ก็จะมีการแถลงแล้ว ก็ไปซัดกันตรงนั้น เพราะนายเศรษฐาก็ไม่ได้เป็นสส.
ถามอีกว่า กระแสสังคมบอกว่าถ้าจับมือกับพรรครวมไทยสร้างชาติ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ต้องลาออกจากตำแหน่ง นายอดิศร กล่าวว่า ตนไม่ได้มองอะไร แต่การเมืองบังคับให้เราทำ ตอนแรกเราก็ให้พรรคก้าวไกลทำ แต่ไม่สามารถนำเรือเข้าไปสู่ฝั่งได้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการให้สัมภาษณ์ นายอดิศรได้อ่านกลอนที่ตัวเองเขียน ว่า “เตือนตนตลอดเวลา ที่ผ่านมาเห็นอย่างไร เจ็บเนื้อลึกในๆ และเจ็บใจไม่อยากทำ” และกล่าวต่อว่า โลกนี้ไม่มีใครได้อะไรทั้งหมด เพื่อให้ชาติบ้านเมืองเดินทางต่อไปได้ ตนคิดว่าน่าจะเป็นนิมิตรหมายที่ดี ซึ่งกลอนดังกล่าวข้างต้นตนเขียนให้ตัวเอง
ถามว่า เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่าถ้าพรรคเพื่อไทยไปร่วมกับพรรครวมไทยสร้างชาติ จะลาออกไปเป็นฝ่ายอิสระ นายอดิศร กล่าวว่า วันนี้ก็ถูกนายสรยุทธ สุทัศนะจินดา จี้ถามในรายการ ตนก็มานั่งพิจารณาว่าสส.ตนก็ชอบมา 17 ปีแล้วกว่าจะได้มา ตนจะทำหน้าที่สส.ตรงนี้ให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะไหน
“กลอนดังกล่าวเขียนให้ตัวเอง ที่รู้สึกเจ็บใจที่พูดไปแบบนั้น เป็นสส.รอมาตั้ง 17 ปี และ 2 – 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ผมก็ทำหน้าที่ได้ดี และจะเป็นสส.ต่อไป แต่ถ้าไปเป็นสส.ฝ่ายค้านไม่รู้ว่าเขาจะรับผมหรือเปล่า” นายอดิศร กล่าว
พอถามว่า จะผิดคำพูดที่เคยให้สัมภาษณ์กับนายสรยุทธไว้หรือไม่ นายอดิศร บอกว่า ไม่ได้ผิด ก็บอกแล้วว่าเจ็บลึกในๆ เพราะสถานการณ์บ้านเมืองภายใต้ตัวละคร 750 คน ที่จะเลือกนายกฯให้ได้เกินครึ่ง โดยไม่เอาคนอื่นมาเลือกแทนได้
เมื่อถามว่า สส.ในพรรคมีความเห็นอย่างไรที่พรรครวมไทยสร้างชาติเข้ามาร่วมรัฐบาลด้วย นายอดิศร กล่าวว่า เป็นไปตามมติพรรค ตามมติของคนที่ไปเจรจา ไม่ได้อึดอัดอะไร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ
'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง
จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ระทึกสุดขีด! 22 พ.ย. ศาลรธน.ลงมติ 'รับ-ไม่รับ' คำร้อง 'ทักษิณ-เพื่อไทย' ล้มล้างการปกครอง
คอนเฟิร์ม ศุกร์นี้ 22 พ.ย. 9 ตุลาการศาลรธน.นัดประชุมวาระพิเศษ หลังงดมาสองรอบ เตรียมนำหนังสือ-ความเห็นอัยการสูงสุด กางบนโต๊ะประชุม ก่อนลุ้นโหวตลงมติ”รับ-ไม่รับคำร้อง”คดีทักษิณ-เพื่อไทย โดนร้องล้มล้างการปกครองฯ
'แพทองธาร' โชว์วิชั่น การเมืองมีเสถียรภาพ ประเทศไทยจะดีขึ้น!
นายกฯ โชว์วิชั่น Forbes ไทยสงบ สันติ หวังรัฐบาลเปลี่ยน นายกฯเปลี่ยน แต่นโยบายเพื่อปชช.เดินหน้า บอกต่างชาติเจอคำถามแรกถามพ่อ-อาเป็นอย่างไร ย้ำการเมืองมั่นคง มีเสถียรภาพแน่นอน
ไทยในสายตาต่างชาติ (ตอนที่ 48: พระราชกฤษฎีกา 1 เมษายน 2476 คือ การทำรัฐประหารเงียบหรือ ?)
ในตอนที่แล้ว ผู้เขียนได้สรุปเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เป็นเงื่อนไขที่นำมาสู่การประกาศพระราชกฤษฎีกาวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476
'ชูศักดิ์' บอกรู้ตั้งแต่เห็นคำร้อง 'ธีรยุทธ' ไปไม่ได้ เหตุไม่เข้าเกณฑ์ล้มล้างปกครอง
นายชูศักดิ์ ศิรินิล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญนัดพิจารณา