'วิทยา' ยัน รทสช.ยังไม่ร่วมรัฐบาล แนะเพื่อไทยแบ่งงานให้ลงตัวก่อนโหวตนายกฯ

“วิทยา” ชี้ เพื่อไทย ควรแบ่งเค้กให้เสร็จก่อนโหวตนายกฯ แนะ พท.ฟังหลายฝ่ายวิจารณ์คุณสมบัติ “เศรษฐา” หนุน โชว์วิสัยทัศน์ก่อนเลือก เปรียบปลุกเสกไม่เห็นรูปลอยก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ วอนสื่ออย่าตามติด ขอเวลาทีมเจรจาพูดคุยเงียบๆ แล้วรอฟังแถลงทีเดียว บ่นอย่านัดแถลงจิบกาแฟโชว์บ่อย ชาวบ้านรำคาญ แนะ 3-4 วันนี้เอาให้จบทีเดียว

17 ส.ค.2566 - เมื่อเวลา 10.50 น. ที่รัฐสภา นายวิทยา แก้วภราดัย รองหัวหน้าพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ให้สัมภาษณ์กระแสข่าวพรรคเพื่อไทย(พท.)ประสานงานมายัง รทสช. เรื่องการจัดตั้งรัฐบาล ว่า ไม่ได้ประสานมายังตน เพราะพรรคมอบหมายหัวหน้าพรรคฯ และเลขาธิการพรรคฯ ดำเนินการเรื่องนี้ โดยสรุปวันนี้ยังไม่คืบหน้า ส่วนพรุ่งนี้ (วันที่ 18 ส.ค.) ประธานรัฐสภานัดหารือตัวแทนทุกฝ่าย และเบื้องต้นจะนัดประชุมรัฐสภาในวันที่ 22 ส.ค.นี้ วาระหลักคือการเลือกนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ เรื่องกระแสข่าวได้ยินเรื่องนี้จากสื่อ และยังไม่ทราบว่าจะเจอในมุมใดของสภา เพราะสภาใหญ่มาก

นายวิทยา กล่าวอีกว่า ขณะนี้จึงเป็นภารกิจของพรรคเพื่อไทย ที่รับช่วงต่อจากพรรคก้าวไกล (ก.ก.) ในการตั้งรัฐบาล ซึ่งพรรคเพื่อไทยควรทำภารกิจให้จบภายในวันที่ 21 ส.ค.นี้ ไม่ใช่ไปคุยกันนอกรอบในการตั้งรัฐบาลจริงๆ ว่าจะมีนโยบายหลักที่ทุกพรรครับได้หรือไม่ รวมถึงการแบ่งหน้าที่ในคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต้องแบ่งกันให้เสร็จ หากไปร่วมรัฐบาลกันไม่แบ่งงานกันจะร่วมอย่างไร นี่คือหลักธรรมชาติ

“เวลาเหลือน้อย เพราะล็อควันแล้วว่าเป็นวันที่ 22 ส.ค. ฉะนั้น พรรคเพื่อไทยต้องเสนอชื่อนายกฯที่มั่นใจว่าคนที่จะเป็นต้องตัวจริงแล้ว ครั้งเดียวจบ ส่งเข้ามาต้องผ่านทุกฝ่ายรับได้ ไม่มีสิทธิแก้ตัว เพราะกฎหมายค้ำคอไว้แล้ว ส่วนจะได้ข้อสรุปวันนี้หรือไม่ ผมไม่รีบ เป็นวันจันทร์ก็ได้เพื่อให้รอบคอบ แต่หากให้ดีประธานรัฐสภาควรฟังสักนิด ว่าพรรคเพื่อไทยพร้อมวันไหนค่อยนัด อย่าเพิ่งกำหนดกดดันว่าต้องเป็นวันที่ 22 ส.ค. ดังนั้น ต้องรอพรรคเพื่อไทยว่าพร้อมตกลงเลือกนายกฯวันไหน ประธานรัฐสภาค่อยนัดทีเดียว เพราะหากไม่จบขึ้นมาจะยุ่งยากไปกันใหญ่ การเมืองจะเปลี่ยนไป ถ้าไหลจากคนที่เสนอชื่อคนแรก มาคนที่สอง คนที่สาม จะเอาอยู่หรือไม่ แล้วมันก็จะไปถึงพรรคที่ 3 อีก จึงต้องรอความพร้อมพรรคเพื่อไทย” นายวิทยา กล่าว

เมื่อถามว่า คุณสมบัติ ของนายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตของพรรคเพื่อไทย เหมาะสมในสถานการณ์นี้หรือไม่ นายวิทยา กล่าวว่า มีหลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งพรรคเพื่อไทยก็ต้องรับฟัง ให้รอบคอบ เพราะไม่มีโอกาสแก้ตัว ส่วนนายเศรษฐา ควรมาแสดงวิสัยทัศน์ในวันโหวตนายกฯหรือไม่นั้น มองว่าเป็นเรื่องปกติ การจะปลุกเสกใครเป็นนายกฯไม่เห็นรูปลอย ก็ไม่ศักดิ์สิทธิ์ ถ้ามีเวลาจริงๆ ไม่ถึงกับเจ็บไข้ได้ป่วย ก็ควรมาแสดงวิสัยทัศน์ แม้ไม่ได้เป็นสส. แต่ที่ผ่านมาข้าราชการที่มาชี้แจงต่างๆ ก็ไม่ได้เป็นสส. เขาก็ยังเข้ามาชี้แจงได้ อยู่ที่อำนาจของประธาน

“ผมเชื่อว่าประธานไม่ขัดข้องอยู่แล้ว แต่เรื่องที่น่าเกลียดก็คือ คนมาตะลุมบอนเบื้องหลังกัน ไม่สง่าสำหรับคนพูด และไม่สง่าสำหรับคนถูกเลือกด้วย ดีที่สุด ผมว่าให้เตรียมตัวมาชี้แจง” นายวิทยากล่าว

เมื่อถามถึงเงื่อนไขของการร่วมรัฐบาลนั้น นายวิทยา ระบุว่า เป็นหน้าที่ของหัวหน้าพรรคที่จะต้องไปเจรจา

ถามต่อว่า แต่ละพรรคที่จะร่วมรัฐบาลออกมาพูดถึงโควต้ากระทรวงต่างๆ หากพรรค รทสช. ยังไม่ชัดเจน จะเดินตามหลังเขาหรือไม่ นายวิทยา ชี้แจงว่า ถ้าจะตั้งรัฐบาลร่วมกัน ไม่แบ่งงานกันก่อนก็ทำไม่ได้ แต่ตอนนี้การพูดคุยยังไม่จบ ถ้าเขาบอกแล้วว่าจบก็คือจบ ตอนนี้ MOU มันหมดสมัยแล้ว เอาไว้หลอกเด็กได้

ถามอีกว่าพรรค พท. จำเป็นจะต้องได้กระทรวงเศรษฐกิจ และมีกระแสข่าวว่ารวมไทยสร้างชาติ ต้องการกระทรวงพลังงาน เป็นเหตุให้ยังพูดคุยไม่จบใช่หรือไม่ นายวิทยา กล่าวว่า ไม่ทราบ ตอนพูด พูดอะไรก็ได้ แต่ถึงเวลาจริงก็ต้องมาเปิดอกคุยกัน คิดอะไรก็ได้ แต่ความจริง ถ้าจะเอาอย่างที่คิด คงไม่มีใครร่วมกับคุณ พรรคตนหิ้วกระเป๋าไป แต่จะได้หรือไม่ได้ก็ต้องคุยกัน ส่วนพรรค รทสช. ถนัดด้านใด ตนไม่ทราบและไม่กล้ายืนยัน

ถามด้วยว่าก่อนการโหวตนายกฯ พรรค พท. และพรรค รทสช. ควรตั้งโต๊ะแถลงอย่างเป็นทางการในการจับมือร่วมรัฐบาลหรือไม่ นายวิทยา กล่าวว่า ให้การหารือจบแล้วค่อยแถลงดีกว่า ไม่ใช่นัดกันตอนเช้า ตอนสายไปกินกาแฟโชว์ ชาวบ้านรำคาญเมื่อไหร่จะจบสักที เอาให้จบ แล้วค่อยมาดีกว่า ดังนั้น ประธานรัฐสภาควรรอให้ พท. พร้อมก่อนแล้วค่อยนัด ไม่เช่นนั้นจะเกิดเหตุเหมือนที่ผ่านมา เราเจอมาพอแล้ว ชาวบ้านเวียนหัวแล้ว ประธานต้องตั้งหลัก

เมื่อถามว่า ต่อรองกันจบหรือยัง นายวิทยา ตอบสั้นๆว่า “ไม่ได้อยู่ในกระบวนการเจรจาจึงไม่ทราบ”

ถามย้ำว่า พรรค รทสช. จะไม่โหวตให้ หากการเจรจายังไม่จบใช่หรือไม่ นายวิทยา ระบุว่า วันนี้ทุกอย่างยังไม่จบ ว่าเขาจะเอาหรือไม่เอาเรา จึงไปพยากรณ์ว่าจะโหวตหรือไม่โหวตไม่ได้ แต่ถึงเวลาจะตัดสินใจได้ว่าควรทำอย่างไร ไม่ใช่เจอกันทีก็แถลงที เช่นนี้เป็นนัดแถลงข่าวไม่ใช่นัดมาทำงาน ถ้าให้ดี 3-4 วันนี้ มีเวลาก็หาที่เงียบๆคุยกัน คุยให้จบแล้วมาทีเดียว แล้วสื่อก็ไม่ต้องไปตาม ให้เขาได้หายใจกัน แล้วแถลงทีเดียวจะได้จบ

ผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า พรรคเพื่อไทยนัดมาหรือยัง นายวิทยา ระบุว่า ไม่รู้ เพราะไม่ได้นัดกับตน นัดกับคนอื่น เป็นเรื่องของหัวหน้าพรรค ที่บอกไม่รู้ไม่ใช่โกหก แต่เป็นเรื่องจริง

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ด่วนจี๋! 'วันนอร์' บรรจุร่างกฎหมายกาสิโนเข้าสภาฯ วาระพิเศษ 3 เม.ย.

เว็บไซด์สภาผู้แทนราษฎรในช่วงเย็นวันที่ 1 เมษายน ได้มีการบรรจุระเบียบวาระการประชุมสภาฯ เป็นพิเศษ วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายนนี้ ซึ่งปกติจะเป็นการประชุมสภาฯ

'ทักษิณ' ร่วมอวยพรวันเกิด 'ป๋าเหนาะ' ครบ 92 ปี บรรยากาศอบอุ่น

นายเสนาะ เทียนทอง ประธานคณะกรรมการที่ปรึกษาพรรคเพื่อไทย (พท.) เปิดบ้านให้นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจและคนสนิท เข้าอวยพรในวันคล้ายวันเกิดครบรอบ 92 ปี

'ดัชนีการเมืองไทย' หลังซักฟอก 'อิ๊งค์' เรตติ้งร่วง! 'เท้ง' แซง 10%

สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมีนาคม 2568” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม)

‘เทพไท’ สะท้อนผลโพล ‘พรรคส้ม’ ต้องเปลี่ยนหัวหน้า ‘อนุรักษ์นิยม’ ต้องตั้งพรรคใหม่ สู้เลือกตั้งปี 2570

เทพไท วิเคราะห์ผลการสำรวจความคิดเห็นของ นิด้าโพล สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เรื่อง การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1/2568

เปิดคะแนนนิยมการเมือง ปี 68 พบคนหนุน อุ๊งอิ๊ง นั่งนายกฯ อันดับ 1 พรรคประชาชนกระแสดีสุด

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลการสำรวจ เรื่อง “การสำรวจคะแนนนิยมทางการเมืองรายไตรมาส ครั้งที่ 1/2568” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 24-27 มีนาคม 2568

'สนธิญา' ยื่น กกต. สอบปม 'นายกฯอิ๊งค์-เท้ง' โต้กันนัวศึกซักฟอก คนนอกครอบงำพรรค

นายสนธิญา สวัสดี นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ยื่นหนังสือต่อกกต.เพื่อขอให้ตรวจสอบจากกรณีการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 24 -25 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่มีการกล่าวหาซึ่งกันและกัน ระหว่างน.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคเพื่อไทย และนายณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ หัวหน้าพรรคประชาชน ในฐานะหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน