ที่ประชุม ส.ส.ก้าวไกล ประกาศชื่อ 2 พรรค ไม่ร่วมรัฐบาลด้วย

24 ก.ค.2566 - ที่ประชุม ส.ส.พรรคก้าวไกล ได้จัดหารือทางออนไลน์เกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันและการกำหนดทิศทางการร่วมรัฐบาลของพรรคก้าวไกล ได้ข้อสรุปว่า พรรคก้าวไกลยืนยันจะไม่ร่วมรัฐบาลที่มีพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และพรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ด้วยเหตุผลต่อไปนี้

1.เป็นที่แน่ชัดว่าพรรคพลังประชารัฐมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรค และพรรครวมไทยสร้างชาติมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ซึ่งทั้งสองเป็นหัวหอกหลักในการยึดอำนาจ ทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 ซ้ำยังมีกระบวนการสืบทอดอำนาจตนเองผ่านรัฐธรรมนูญ 2560 ด้วยกลไกและองค์กรสถาบันทางการเมืองต่างๆ จนถึงปัจจุบัน

2.พรรคก้าวไกลมีจุดยืนชัดเจนต่อประเด็นการสืบทอดอำนาจ และประกาศตั้งแต่วันที่ 27 ธ.ค. 2565 ว่าจะไม่จับมือกับพรรคการเมืองที่สืบทอดอำนาจ และได้ประกาศย้ำต่อประชาชนในทุกรายการ ทุกเวทีหาเสียงเลือกตั้ง

3.ผลการเลือกตั้งเมื่อ 14 พ.ค. เป็นการประกาศเจตจำนงของประชาชนที่ชัดเจนว่าต้องการเปลี่ยนขั้วรัฐบาล ด้วยการลงคะแนนเสียงเลือกพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยจนชนะเป็นอันดับ 1 และอันดับ 2 เมื่อรวมกันได้ 8 พรรคการเมืองที่มีแนวทางยุติการสืบทอดอำนาจ ได้ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรถึง 312 จาก 500 ที่นั่ง และมีคะแนนดิบสูงถึง 27 ล้านเสียง ไม่มีอะไรชัดเจนไปกว่านี้ว่าประชาชนต้องการพลิกขั้วเปลี่ยนข้างรัฐบาล ดังนั้น เป้าหมายสูงสุดของเราในฐานะพรรคอันดับ 1 คือการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ให้สำเร็จเพื่อหยุดยั้งการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลเดิม

4.แม้กลไก สว. ที่มาจากการแต่งตั้งของ คสช. จะสกัดขัดขวาง พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล ทำให้พรรคก้าวไกลไม่สามารถเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลได้ แต่เรายืนยันว่าสิ่งสำคัญในวันนี้ ไม่ใช่พิธาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือก้าวไกลเป็นรัฐบาล แต่คือการจัดตั้งรัฐบาลที่ประกอบด้วย 8 พรรคตามมติประชาชน พรรคก้าวไกลจึงเปิดทางให้พรรคอันดับสองคือพรรคเพื่อไทย เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เดินหน้าหาเสียงสนับสนุนตามที่ปรากฎเป็นข่าว

5.แม้การจัดตั้งรัฐบาลให้ได้โดยเร็วที่สุด จะมีความสำคัญต่อการเดินหน้าแก้ไขปัญหาของประชาชน แต่เราเห็นว่าการจัดตั้งรัฐบาลที่บิดเบือนเจตนารมณ์ของประชาชนซึ่งสะท้อนผ่านผลการเลือกตั้ง จะนำไปสู่วิกฤติศรัทธาของประชาชนต่อระบอบประชาธิปไตย จนอาจยากต่อการเรียกกลับคืน

6.พรรคก้าวไกลจึงขอยืนยันสัจจะที่ให้ต่อประชาชน เราไม่สามารถร่วมรัฐบาลกับพรรคการเมืองที่สืบทอดอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นพรรคพลังประชารัฐ หรือพรรคร่วมไทยสร้างชาติ และจะพยายามอย่างถึงที่สุดในการผนึก 8 พรรคการเมืองที่สะท้อนเสียงของประชาชนกว่า 27 ล้านเสียง เพื่อจัดตั้งรัฐบาลที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน พาประเทศไปสู่เส้นทางที่ถูกต้องตามระบอบประชาธิปไตย อันมีอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จี้รัฐบาลประท้วงกัมพูชา

"สนธิรัตน์" นำทีมพลังประชารัฐลงพื้นที่ตราด "ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์" ชี้อันตรายมาก แนวสันเขื่อนดินที่กัมพูชาสร้างต่อเติมออกไป หากไม่มีการประท้วงหรือไม่มีข้อคัดค้านใดๆ ก

พปชร. ลงตราด ชวนชาวบ้านในพื้นที่ร่วมคัดค้าน MOU 44

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ ประธานร่วมศูนย์นโยบาย และวิชาการ และ ดร.ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี กรรมการบริหาร พรรคพลังประชารัฐ ได้เดินทางมาเยี่ยมพี่น้องประชาชนในจังหวัดตราด โดยได้รับการประสานงานจากประชาชนในพื้นที่

'ก๊วนธรรมนัส' เปิดตัวเข้าคอก 'กล้าธรรม' ลั่นทำการเมืองสร้างสรรค์ ไล่พรรคร่วมฯค้านบ่อยๆก็ออกไป

พรรคกล้าธรรม นำโดยนางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าพรรค พร้อมด้วย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา และสส.จำนวน 20 คนที่ถูกพรรคพลังประชารัฐขับออก

20 สส. ก๊วนธรรมนัส ย้ายเข้าพรรคกล้าธรรมแล้ว เพิ่มจำนวน สส.เป็น 24 คน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่ม สส. 20 คนที่ถูกขับพ้นพรรคพลังประชารัฐเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ได้แก่ 1.ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า สส.พะเยา 2.นายจตุพร กมลพันธ์ทิพย์ สส.ราชบุรี 3.นายจำลอง ภูนวนทา สส.กาฬสินธุ์ 4.นายจีรเดช ศรีวิราช สส.พะเยา 5.นายชนนพัฒฐ์ นาคสั้ว

ธนกรเผยคนเมืองคอนปลื้ม 'อิ๊งค์-อนุทิน' ลงพื้นที่น้ำท่วม

'ธนกร' เผยประสานทีมท้องถิ่นนครศรีธรรมราช ลงช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วมไม่หยุด บอกชาวบ้านปลื้ม 'นายกฯ-อนุทิน' รุดเยี่ยมชาวเมืองคอน-สุราษฎร์ ขณะ 'พีระพันธุ์-เอกนัฏ' นำ สส.ลงตามสมทบ