
23 ก.ค. 2566 – สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ความขัดแย้งกรณีการเลือกนายกรัฐมนตรี” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,809 คน สำรวจระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2566 พบว่า ประชาชนมองว่ากรณี ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นจากการเลือกนายกรัฐมนตรี ทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคม ร้อยละ 71.73 โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดความขัดแย้งครั้งนี้คือการมุ่งแต่อำนาจจนเกินขอบเขต แย่งชิงผลประโยชน์ ร้อยละ 74.21 แนวทางการยุติความขัดแย้ง คือ ควรเคารพเสียงจากการเลือกตั้ง ร้อยละ 77.39 บทเรียนจากความขัดแย้งครั้งนี้คือ ทุกคนมีความเห็นทางการเมืองที่ต่างกันได้ แต่ควรเคารพซึ่งกันและกัน ร้อยละ 64.13 ทั้งนี้เห็นว่าการเมืองไทยหลังจากนี้ก็คงจะแย่ลง ร้อยละ 40.63
จากผลการสำรวจสะท้อนให้เห็นว่าประชาชนรู้สึกเบื่อหน่ายกับปัญหาทางการเมือง ระบบของกฎหมายที่นำมาซึ่งปัญหาในการเลือกนายกรัฐมนตรี แม้จะเลือกตั้งผ่านพ้นไปแล้ว แต่กลับยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้เนื่องจากการมุ่งแต่อำนาจและผลประโยชน์ การปฏิบัติหน้าที่ของ สว. และการไม่ยอมรับเสียงของประชาชน จึงอยากให้ทุกฝ่ายถอยคนละก้าวบนฐานคิดคือประโยชน์ของประชาชนมากกว่าของตนเอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อัญชลี รัตนะ อาจารย์ประจำหลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิตโรงเรียนกฎหมายและการเมือง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต การเลือกนายกรัฐมนตรีคนที่ 30 ภายใต้กติกาตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาในการให้ความเห็นชอบต่อผู้ที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอชื่อให้เป็นนายกรัฐมนตรีและกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า เมื่อรวมสมาชิกสองสภาในการลงคะแนนรับรองผู้ที่ถูกเสนอชื่อแล้ว จะต้องได้เสียงเกินครึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งสองสภา จากประเด็นดังกล่าวผลโพล จึงชี้ให้เห็นว่าทำให้เกิดความขัดแย้งของคนในสังคมถึง 71.73% อย่างไรก็ตามประชาชนยังคงมีความหวังว่าสถานการณ์ทางการเมืองจะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ เพียงแต่ทุกฝ่ายเคารพเสียงของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย ยอมถอยคนละก้าวร่วมกันหาแนวทางอย่างสันติ นอกจากนี้ผลโพลยังสะท้อนว่าประชาชนได้เรียนรู้และยอมรับว่า ทุกคนมีความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันได้ เพราะเราทุกคนมีประสบการณ์ชีวิตในแต่ละช่วงวัยแตกต่างกัน แม้จะรู้สึกว่าประชาธิปไตยของไทย ยังคงมีปัญหา แต่สังคมไทยยังอยู่ด้วยความหวัง กลุ่มตัวอย่างจึงมองว่าการเมืองไทยจะดีขึ้นแม้มีเพียง 25.65% แต่นี่คือเชื้อไฟที่ไม่เคยดับมอด เป็นแสงสว่างที่คนในชาติต้องช่วยกันรับไม้และส่งต่อแสงสว่างให้ลุกโชนยิ่งขึ้นสืบไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โพลชี้ ศก.ฝืดเคือง รัฐบาลทำงานไร้ประสิทธิภาพ ชี้แจกเงินหมื่นก็ไม่ช่วย
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “คนไทยกับภาวะเศรษฐกิจ ณ วันนี้” กลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,141 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 18-21 กุมภาพันธ์ 2568
ประจานแก้ฝุ่น โพลชี้รัฐไร้ฝีมือ ทำ‘ปชช.’ระอา
โพลประจานผลงานแก้ฝุ่นพิษ ชี้ชัดเป็นปัญหารุนแรง แต่รัฐบาลกลับแก้ปัญหาไร้ประสิทธิภาพ 63% ฟันธงยากแก้ไขได้
ดุสิตโพล เผยผลสำรวจชี้รัฐล้มเหลวแก้ปัญหาฝุ่นพิษ PM 2.5
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ค่าฝุ่น PM 2.5 กับคนไทย”กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,255 คน
เอฟเฟกต์‘อบจ.’ เรืองไกรจี้‘กกต.’ คุ้ย3รมต.ขึ้นเวที
ควันหลงเลือก อบจ. ผลโพลชี้เหตุไปใช้สิทธิน้อยเพราะติดธุระ-หย่อนบัตรวันเสาร์
ผลสำรวจชี้ 'กกต.' ล้มเหลวจัดเลือกตั้งท้องถิ่น
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นทั่วประเทศ เรื่อง “ควันหลงเลือกตั้งท้องถิ่น”กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 1,386 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 4-7 กุมภาพันธ์ 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.28 ไปเลือกตั้งนายก อบจ.
ดัชนีการเมือง ม.ค. ดีดตัว ‘อิ๊งค์ - เท้ง’ โดดเด่นในวงการ
สวนดุสิตโพล มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ เรื่อง “ดัชนีการเมืองไทย ประจำเดือนมกราคม 2568” กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 2,261 คน (สำรวจทางออนไลน์และภาคสนาม) ระหว่างวันที่ 27-31 มกราคม 2568 พบว่า กลุ่มตัวอย่างให้คะแนนภาพรวมดัชนีการเมืองไทยประจำเดือนมกราคม 2568 เฉลี่ย 5.06 คะแนน เพิ่มขึ้นจากเดือนธันวาคม 2567 ที่ได้ 4.97 คะแนน