'พิธา' ทวงสัญญาเอ็มโอยู 'เพื่อไทย-ก้าวไกล' ลงเรือลำเดียวกัน คือสิ่งที่ประชาชนต้องการ

"พิธา" รับกังวล หากเสนอญัตติซ้ำหวังสกัดคนเดียว ชี้ แก้ม. 272 ไม่ได้เป็นเพราะอารมณ์นำ มอง ก้าวไกล-เพื่อไทย ลงเรือลำเดียวกัน เพื่อจัดตั้งรัฐบาลของประชาชน

18 ก.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์ถึงความกังวลเนื่องจาก การประชุมจากวิปทั้งสามฝ่ายยังไม่มีข้อสรุป เสนอที่จะตนเป็นนายกรัฐมนตรี นายพิธา กล่าวว่า ยังไม่ได้ติดตามรายละเอียด วันนี้จะมีการประชุมส.ส.ของพรรคก้าวไกล ซึ่งจะมาฟังว่าผลการเจรจาของวิปทั้งสามฝ่าย เป็นอย่างไร ในเรื่องของข้อบังคับคดีต่างๆ ซึ่งตนยังไม่ทราบรายละเอียดจึงไม่ทราบว่าจะต้องกังวลหรือไม่ แต่เมื่อวาน (17ก.ค.) นี้ ที่มีการประชุม 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ได้มีการอธิบายในเรื่องของกฎหมายไว้หลายข้อ ซึ่งทางฝ่ายกฎหมายของแต่ละพรรคได้ถกกัน ในเรื่องของรัฐธรรมนูญ เช่นญัตติข้อบังคับมาตรา 151 ดังนั้นจึงต้องมีการพูดคุยกันในรายละเอียดในที่ประชุมอีกที

เมื่อถามว่า เสียงที่เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญจะต้องมีจำนวนเท่าไหร่ นายพิธา กล่าวว่า หากเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซนต์ หรือ 345-350 เสียง ก็เป็นทิศทางที่ดี

ส่วนการแก้ไขมาตรา 272 ที่ดำเนินโดยพรรคก้าวไกลเอง อย่างที่เคยกล่าวไปว่า ไม่ได้เป็นการตัดสินใจด้วยอารมณ์ หรือเป็นการถ่วงเวลา แต่เป็นการตัดสินใจด้วยสถิติ

ถามว่า หากทางพรรคก้าวไกลจะเปิดทางให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลพรรคก้าวไกลจะต้องแถลงด้วยตนเองก่อนหรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า เมื่อถึงเวลาก็ต้องเป็นอย่างนั้น

ซักว่า มีความเห็นอย่างไร ที่ทางพรรคเพื่อไทย ได้ระบุว่าจะต้องมีแผนสำรอง ในการส่งชื่อแคนดิเดตจากพรรคเพื่อไทย นายพิธากล่าวว่า ตนยังไม่เห็นสถานการณ์ที่มีความจำเป็นที่จะต้องทำเช่นนั้น ตนติดให้สัมภาษณ์สื่อตั้งแต่ช่วงเช้าจึงยังไม่ได้ดูในรายละเอียด

เมื่อถามว่าการแก้ไข เอ็มโอยู จะต้องอยู่ภายใต้กรอบอะไรหรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า ตอนนี้เอ็มโอยู ยังเหมือนเดิมอยู่ และยังไม่ได้รับการติดต่อจากพรรคไหนว่าให้มีการแก้

ถามอีกว่า ในการโหวตนายกรัฐมนตรีครั้งที่ 2 แม้เสียงคะแนนเสียงเพิ่มขึ้น แต่ยังคงไม่ผ่าน ยืนยันว่าจะเดินหน้าต่อใช่หรือไม่ นายพิธากล่าวว่า หากได้ผลลัพธ์ เราก็สามารถปรับยุทธศาสตร์ได้เรื่อยๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์อย่างที่ต้องการ หากไม่ได้ผลลัพธ์อะไรก็แสดงว่ายุทธศาสตร์ที่ผ่านมา ไม่สามารถต้านแรงสกัดได้ ก็ต้องยอมให้ประเทศชาติเดินหน้าไปต่อได้

ซักว่าหากมีการลดเพดานการแก้ไขมาตรา 112 อาจจะทำได้ให้ได้เสียงสนับสนุนที่เพิ่มขึ้น นายพิธากล่าวว่า จากการอภิปรายวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ทั้งจากทางส.ว. และพรรคก้าวไกล ทำให้เห็นภาพได้มากขึ้น บางคนก็เห็นว่าเป็นเรื่องของความยืดหยุ่นมากกว่า ว่าตกลงใครเป็นคนฟ้องเพื่อให้ถูกเป้าหมายเดียวกัน รวมถึงเพื่อไม่ให้ใครนำมาตราดังกล่าวมารังแกคนอื่นได้ ซึ่งการถกเถียงกันก็ทำให้เราเข้าใกล้กันมากขึ้น ไม่ใช่แค่จะแก้หรือไม่แก้ แต่เป็นเรื่องรายละเอียดแต่ละข้อที่หลายคนกังวลใจ ตนมองว่ามีความคืบหน้ามากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจในสังคมไทย

ส่วนที่มีกระแสข่าวจะเสนอมาตรา 41 กังวลใจหรือไม่ว่าไม่ให้เสนอญัตติซ้ำ จะทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อตนได้อีกรอบนั้น กังวลใจถ้าจะทำเช่นนี้เพื่อสกัดกั้นตนคนเดียว และให้เป็นเรื่องของระบบทั้งหมด หากมัดตนและพรรคก้าวไกล ก็จะมัดพรรคอื่นๆ ด้วย หากเป็นในเชิงรัฐศาสตร์ ต่อไปนี้ไม่ว่าจะเป็นคนที่ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะต้องมีการเสนอชื่อ หากเป็นญัตติหมด ไม่ว่าจะเป็นฝั่งศาล ฝ่ายบริหาร หรือสภา แล้วโดนบังคับเช่นนี้หมด ก็จะเป็นการผูกที่แก้มัดได้ยากมาก และจะเป็นปัญหาต่อผู้ที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองต่อไปในอนาคต

ส่วนที่มีความพยายามสลับขั้วเพื่อ ให้ฝั่งตรงข้ามมาเป็นรัฐบาล ตนไม่สามารถฟันธงได้ แต่จะทำแค่สกัดกั้นตนให้หมดสิทธิ์ในการโหวตนายกรัฐมนตรี เป็นสิ่งที่ไม่น่าทำ

เมื่อถามว่ามีการ ปรับเอ็มโอยูเพื่อดึงพรรคที่ 9 และ 10 เข้ามาร่วมนั้น มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง นายพิธากล่าวว่า ยังไม่ได้มีการพูดคุยกัน ในเรื่องแบบนั้นเท่าที่ทราบก็เป็นไปอย่างที่แถลงเมื่อวาน แต่ในตอนนี้ไม่ได้มีความคืบหน้าอะไร

ซักว่าหากพรรคขั้วรัฐบาลเดิมยอมโหวตให้ จะมีการร่วมงานกันหรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า ต้องพูดคุยกันอีกครั้งนึง

ถามอีกว่าหากพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลพรรคก้าวไกลจะต้องอยู่ในสมการเดียวกันหรือไม่นายพิธา กล่าวว่า นั่นคือสิ่งที่ประชาชนต้องการ ในเมื่อเป็นรัฐบาล ที่จัดตั้งโดย 8 พรรค มีเอ็มโอยูชัดเจน เราทำงานกันมาถึงขนาดนี้ ในฐานะที่ตนเป็นพรรคอันดับหนึ่งไม่สามารถไปต่อได้ ก็จะต้องส่งไม้ต่อให้พรรคอันดับสอง ตนมองว่าเราลงเรือลำเดียวกันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลความหวังของประชาชน

ส่วนจะมีการนำข้อเสนอของพรรคภูมิใจไทยไปพิจารณาหรือไม่ ในกรณีการลดเพดานมาตรา 112 ตนไม่ทราบว่าข้อเสนอนั้นจบไปแล้วหรือไม่ แต่ถ้าจบไปแล้วก็เป็นข้อเสนอที่จบไปแล้ว ก็คง ไม่เป็นข้อเสนอที่เหลืออยู่ของพรรคภูมิใจไทย

ถามว่าย้ำว่าเป็นโค้งสุดท้ายก่อนการโหวตนายกแล้วจะมีการไปคุยกับพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ นายพิธากล่าวว่า คงไม่จำเป็น

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย

เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้

ก้าวไกลแพ้! ศาลยกฟ้อง 'ณฐพร โตประยูร' แจ้งเท็จ-หมิ่น ล้มล้างการปกครอง

ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีดำ อ.308/2564 ที่พรรคก้าวไกล เป็นโจทก์ฟ้องนายณฐพร โตประยูร อดีตที่ปรึกษาประธานผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นจำเลยในความผิดฐานแจ้งความเท็จ,หมิ่นประมาทฯพร้อมเรียกค่าเสียหาย 20,062,475บาท   

รู้ไว้ซะ 'ปิยบุตร' เผย 'ทักษิณ' ได้กลับบ้าน เพราะก้าวไกลชนะเลือกตั้ง!

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า โพสต์เฟซบุ๊กว่า สัปดาห์ที่ผ่านมา มีเรื่องหนึ่งที่ถูกหยิบยกมาถกเถียงกันอีกครั้ง

'พิธา' คุยพรรคประชาชนแข่งเลือกตั้งมีแต่ชนะกับพัฒนา ไม่มีคำว่าแพ้

ที่จ.อุดรธานี แกนนำ สส. และผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก องค์การ​บริหาร​ส่วน​จังหวัด​ (อบจ.)​ อุดรธานี ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 พ.ย. 2567 ซึ่งพรรคประชาชนได้ส่ง คณิศร ขุริรัง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก

'พิธา' เย้ยกลับทักษิณอย่าลืมผลเลือกตั้ง 66 ลั่นอุดรฯคือเมืองหลวงประชาธิปไตย

นายพิธา​ ลิ้ม​เจริญ​รัตน์​ ประธานที่ปรึกษาคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้า​พรรค​ก้าวไกล​ ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง​ นายคณิศร​ ขุริรัง​ ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีจากพรรคประชาชน