ข้ามหล่มการเมือง! ยึดมั่น MOU 8 พรรคร่วม ไม่จัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้ว

แฟ้มภาพ

นักวิชาการ ชี้ทางออกการเมือง ไม่จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย สลับให้ “พรรคเพื่อไทย” เป็นแกนนำ  ใช้กลไกรัฐสภาหาทางออก เลี่ยงการชุมนุมก่อความเสี่ยงวิกฤติการเมือง ชงโละองค์การอิสระจากการแต่งต้้งของ คสช.สกัดนิติสงคราม

16 ก.ค.2566 – รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุถึงสถานการณ์ทางการเมือง ว่า พรรคการเมือง 8 พรรคประชาธิปไตยควรยึดมั่นต่อเจตนารมณ์ของประชาชน โดยเฉพาะ พรรคก้าวไกล และ พรรคเพื่อไทย ต้องรักษาความเป็นเอกภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการพยายามอย่างเต็มที่ในการจัดตั้งรัฐบาลฝ่ายประชาธิปไตยให้ได้ การจัดตั้งรัฐบาลข้ามขั้วจะทำให้ประชาชนเสียงข้างมากผิดหวังและทำให้ ขบวนการประชาธิปไตยทั้งขบวนอ่อนแอลง และพรรคการเมืองต่างๆต้องยืนยันไม่สนับสนุนจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยซึ่งผิดหลักการประชาธิปไตยและไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่

“การแสวงหาทางออกจากข้อจำกัดของรัฐธรรมนูญปี 2560 ต้องพยายามทำผ่านกลไกรัฐสภา หลีกเลี่ยงการชุมนุมทางการเมืองใดๆอันอาจนำไปสู่ความเสี่ยงวิกฤตการณ์ทางการเมืองหรือสร้างเงื่อนไขให้เกิดการรัฐประหารยึดอำนาจของประชาชนด้วยวิธีการต่างๆ หากพรรคก้าวไกลในฐานะแกนนำทำเต็มที่แล้วเพื่อจัดตั้งรัฐบาลและเลือกนายกรัฐมนตรีแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ควรสลับให้พรรคเพื่อไทย  เป็นแกนนำ เพื่อรักษาเจตนารมณ์ของประชาชน”  รศ. ดร. อนุสรณ์  ระบุ

รศ. ดร. อนุสรณ์ ระบุด้วยว่า การลงคะแนนเลือกนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา สมาชิกวุฒิสภาส่วนใหญ่ได้ทำลายเจตจำนงของประชาชน ตามประชาธิปไตยไปอย่างสิ้นเชิง และทำให้ไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลใหม่ได้ สร้างปัญหาต่อเศรษฐกิจและเกิดความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาของประชาชน โดยใช้ข้ออ้างเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 สร้างความแตกแยกในสังคม ประเด็นดังกล่าวถูกนำมาเป็นประเด็นหลักในการสร้างเงื่อนไขทางการเมืองและทำให้ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขเสื่อมเสีย การกล่าวหาว่าจะมีการล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์ก็เป็นการใช้กลเกมทางการเมืองที่เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของชาติและทำให้เกิดความขัดแย้งเผชิญหน้าในสังคมและอันอาจนำมาสู่ความรุนแรงได้

“ ความจริงแล้ว วุฒิสมาชิกที่มีวุฒิภาวะและเห็นแก่ประโยชน์สาธารณะ (โดยเฉพาะ 13 ท่านที่ลงคะแนนตามพรรคการเมืองเสียงข้างมาก) จะไม่ใช้วิธีการแบบนี้ในการต่อสู้ความเห็นต่างในประเด็นมาตรา 112 ความเห็นต่างทางการเมือง “ความเห็นต่างในประเด็นมาตรา 112 สามารถหาทางออกอย่างสร้างสรรค์ได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปสร้างเงื่อนไขความขัดแย้งรุนแรง เพราะเราต่างเป็นเพื่อนร่วมชาติ เป็นคนไทยด้วยกันทั้งสิ้น  ท่านสมาชิกวุฒิสภาต้องตระหนักว่า การกระทำที่ไม่ยอมรับฉันทามติของประชาชนจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆติดตามมาอีกมากมายต่อประเทศและประชาชน ระบบการเมืองอันบิดเบี้ยวภายใต้รัฐธรรมนูญปี 2560 แนวทางเดียวที่วุฒิสมาชิกจะสร้างความชอบธรรมให้เกิดขึ้นกับรัฐบาลใหม่ ก็คือ การลงคะแนนเสียงที่สอดคล้องกับเสียงของสภาผู้แทนราษฎร ไม่ใช่การออกเสียงสวนทาง งดออกเสียงหรือขาดประชุม ” รศ. ดร. อนุสรณ์  ระบุ

รศ. ดร. อนุสรณ์ ระบุว่า นอกจากนี้ เพื่อให้รัฐบาลใหม่สามารถบริหารงานโดยไม่ต้องเผชิญนิติสงครามและการใช้อำนาจอย่างไม่ชอบธรรมผ่านองค์กรภายใต้รัฐธรรมนูญตลอดเวลา จึงเสนอให้รัฐสภาออกคำสั่งทางกฎหมาย ให้การดำรงตำแหน่งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กกต ปปช และกรรมการในองค์กรอิสระ ที่ดำรงตำแหน่งอยู่และมาจากระบบการคัดเลือกของ คสช. พ้นจากตำแหน่ง และให้มีกระบวนการสรรหาและคัดเลือกใหม่ ที่มีที่มาจากระบบการคัดเลือกที่ยึดโยงกับอำนาจของประชาชน การสรรหาใหม่ทั้งหมดเพื่อให้ได้กระบวนการที่เชื่อมโยงกับประชาชนมากขึ้น ป้องกันการใช้นิติสงครามสั่นคลอนเสถียรภาพรัฐบาลใหม่.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'พิธา' ทวงบุญคุณเอ็มโอยูยกเก้าอี้ประธานสภาให้จี้เร่งทำ 3 เรื่อง

'พิธา' ทวงสัญญาพรรคการเมือง-ครม. กลางสภายกเอ็มโอยูตั้ง รบ.ไม่สำเร็จ แต่ขอให้ผลักดัน 3 ข้อ รัฐสภาก้าวหน้า-นิรโทษฯ-ปฏิรูปกองทัพ

นักวิชาการเตือนเปิดเสรีให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี ต้องรอบคอบ อาจส่งผลเสีย

เปิดเสรีให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 99 ปี ถือครองคอนโดได้ 75% ต้องรอบคอบ ประเมินผลกระทบกรณี EEC ให้ต่างชาติเช่า 99 ปีมาศึกษาดู ต้องทำความเข้าใจ การบริหารจัดการนโยบายที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ในบริบททุนข้ามชาติโลกาภิวัตน์ให้ลึกซื้ง

'ภูมิธรรม' ไม่ยี่หระ! ฝ่ายค้านคว่ำงบ 68 ลั่นรัฐบาล 314 เสียงแน่นปึ้ก

'ภูมิธรรม' เมิน​ฝ่ายค้านคว่ำร่างงบ 68 มั่นใจ​รัฐบาล​ 314​ เสียงเหนียวแน่น ​ สยบข่าวขับ พปชร. พ้นพรรคร่วม ยัน​ยังคุยกันดีกับ 'ธรรมนัส'

เอาแล้ว! ยื่นศาลรธน.เลิก 'MOU44' ยุคทักษิณ หวั่นเสียเกาะกูดให้กัมพูชา

ที่ศาลรัฐธรรมนูญ นายไพบูลย์ นิติตะวัน สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ และในฐานะนักกฏหมาย ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เลขรับที่ 251