'ภูมิธรรม' เผย 'พิธา' ขอทดลองโหวตนายกฯ รอบ 2 ชี้ปิดสวิตช์ ส.ว. รู้อยู่แล้วไม่สำเร็จ

“ภูมิธรรม” เผย “พิธา” ขอทดลองโหวตนายกฯรอบสอง หากได้เสียงเท่าเดิม ก็ชัดเจนไปไม่รอด แต่พท.พร้อมหนุนสุดความสามรถ ห่วงฝ่ายเสียงข้างน้อยลงแข่ง บวกส.ว. 250 ชนะแน่ เชื่อ “ทิม” พูดเปิดโอกาส “เพื่อไทย” ต้องการให้ปชช.เห็นว่ายังสู้อยู่

15 ก.ค.2566 - นายภูมิธรรม เวชยชัย รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคและแคนดิเดตนายกฯพรรคก้าวไกล ระบุว่าหากโหวตนายกฯรอบสองไม่ผ่าน จะเปิดทางให้พรรคเพื่อไทย จัดตั้งรัฐบาล ว่า ที่พูดมามีประเด็นเรื่องรัฐธรรมนูญมาตรา 272 ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้มีการพูดคุยกันในการประชุมพรรคเพื่อไทยกับก้าวไกลเมื่อวันที่ 14 ก.ค. ซึ่งสรุปออกมาเหมือนกับว่าเราจะเคลื่อนเรื่องนี้ไปด้วยกันทั้งหมด ยังเป็นความเข้าใจที่อาจจะคลาดเคลื่อนได้ เพราะที่ประชุมเจรจาสองพรรคยังมีความเห็นต่าง สำหรับการที่จะขับเคลื่อนเรื่องการแก้ไขมาตรา 272 ว่าจะเป็นการปิดสวิตซ์ส.ว.ซึ่งการคุยกันเมื่อวาน(14 ก.ค.) ต่างฝ่ายต่างยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน แม้ว่าเป้าหมายสำคัญที่เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงเรื่องนี้จะเหมือนกันก็ตาม เพราะจากการหารือเราบอกว่าต่างกลับไปคิดแล้วค่อยกลับหารือร่วมกับ 8 พรรคในวันที่ 18 ก.ค. แล้วสองพรรคจึงสรุปร่วมกันอีกครั้งก่อนเข้าที่ประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 19 ก.ค. เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่เห็นพร้องต้องกันทั้งหมดว่าจะเดินไปข้างหน้า

นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า ประเด็นเรื่องมาตรา 272 ที่หารือกันนั้น ความเห็นของพรรคเพื่อไทยคือ ยังมองว่าข้อเสนอของพรรคก้าวไกลที่จะทำเรื่องนี้ ไม่มีกรอบเวลาที่ชัดเจนว่าจะทำไปอีกนานเท่าไหร่ เพราะประเด็นนี้เราเห็นชัดเจนอยู่แล้วว่าเสนอไปคำตอบข้างหน้าคืออะไร เพราะการเสนอปิดสวิตซ์ส.ว. ทำได้เพียงแค่เป็นสัญญาลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อให้สังคมรู้ว่า ส.ว.เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งสังคมก็รับรู้เรื่องนี้อยู่แล้ว เพราะเมื่อ 4 ปีที่แล้ว พรรคเพื่อไทยได้เสนอแก้ไขมาตรา 272 ต่อรัฐสภาถึง 2 ครั้ง แล้วก็ไม่สำเร็จ เพราะเงื่อนไขของความสำเร็จคือต้องได้ เสียงจากรัฐสภา และต้องได้เสียง 20 เปอร์เซนต์จากฝ่ายค้าน และต้องได้รับเสียง จากส.ว. 86 เสียง ซึ่งการเลือกนายพิธา เป็นนายกฯคราวนี้ ที่พรรคก้าวไกลยืนยันว่าจะได้เสียงเยอะ แต่เสียงที่ออกมามีส.ว.เพียงแค่ 13 เสียงเท่านั้น ทั้งๆที่ต้องหาถึง 64 เสียงยังหาไม่ได้ เพราะฉะนั้น 86 เสียงยิ่งเป็นเรื่องที่ยากขึ้นไปอีก

“ดังนั้นการที่พรรคก้าวไกลเสนอแก้มาตรา 272 รู้อยู่แล้วว่าอย่างไรก็ไม่ได้ จึงต้องชัดเจนว่าเสนอเพื่อจะให้เกิดประโยชน์อะไร ทั้งๆที่ขณะนี้ ความจำเป็นก่อนอันอื่นคือต้องมาหาทางออกเรื่องว่าตั้งรัฐบาลให้ได้อย่างไร จะหานายกฯคนไหนไปเสนอเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากรัฐสภาทั้งสภา นี่คือประเด็นที่เราเสนอว่าควรจะต้องทำให้สำเร็จก่อนอย่างอื่น”นายภูมิธรรม กล่าว

นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า สิ่งที่สำคัญคือขณะนี้ถามว่าเราจะยังยืนยันนายพิธาเป็นนายกฯอยู่หรือไม่ จริงๆเรายังยืนยันข้อตกลงร่วมของ 8 พรรค ที่จะพยายามผลักดันให้ เกิดรัฐบาลประชาธิปไตยให้ได้ และเราคิดว่าจะสู้ให้นายพิธาให้ถึงที่สุด อย่างสุดความสามารถ แต่พอผลการเลือกตั้งนายกฯเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ออกมา เราก็เสนอว่าเป็นรูปธรรมชัดเจนที่เราต้องเอากลับมาคิดว่ายังจะเป็นอย่างไรต่อไป และปัญหาสำคัญคือได้ยินว่าจะมีการเสนอรัฐบาลเสียงข้างน้อยแข่ง ก็ยังเป็นปัญหาที่ต้องพิจารณา และในวันที่ 19 ก.ค.เท่าที่รับทราบมาซึ่งเราก็ยังไม่รู้ว่าจริงหรือไม่จริง แต่มีการพูดออกอากาศมาจากฝั่ง ส.ว.หรือฝ่ายรัฐบาลเดิม ว่ามีการเสนอให้มีการถกเถียงเรื่องการเสนอชื่อนายพิธา เป็นญัตติหรือไม่ใช่ญัตติ ถ้าเป็นญัตติ ก็แสดงว่านายพิธาต้องตกไป ไม่สามารถจะเสนอนายพิธาเป็นนายกฯในสมัยประชุมนี้ได้ ถ้าไม่เป็นญัตติก็กลับมาเสนอนายพิธาเป็นนายกฯต่อ

“ผมเชื่อว่าประเด็นนี้จะเป็นที่ถกเถียงอย่างมากในการประชุมรัฐสภาวันที่ 19 ก.ค. และไม่แน่ใจว่าจะมีข้อสรุปได้ง่าย เพราะเป็นความเห็นต่าง ซึ่งดูแล้วก็ยากที่จะคล้ายกันได้ เพราะฉะนั้นทางออกมีสองทางคือ ประธานรัฐสภาอาจจะวินิจฉัย หรืออาจจะมีสมาชิกเสนอเป็นญัตติ ขึ้นมาให้โหวต เพื่อที่จะสรุปว่าเป็นอย่างไร หากเป็นอย่างนั้นก็เชื่อว่าเสียงส่วนใหญ่น่าจะไม่ให้ พอไม่ให้ คุณพิธาก็ต้องตกไป ซึ่งเราไม่รู้ เราคงต้องช่วยกันตีความให้สอดคล้องกับประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับเต็มที่ ถ้าคุณพิธาไม่ได้ ก็เป็นอีกโจทก์ที่เราต้องมาคิดว่าวันที่ 19 ก.ค. จะมีการเสนออย่างไร ถ้าคุณพิธายังได้เหมือนเดิม ผมคิดว่าพรรคร่วม 8 พรรคก็คงเสนอคุณพิธา ซึ่งถ้าเป็นคุณพิธาคนเดียวไม่มีปัญหาอะไร เราก็จะให้คุณพิธาได้ทดลองว่า ถ้าอีกรอบ เสียงไม่ได้แตกต่างไปจากเดิม น้อยหรือมากไปกว่าเดิมไม่มาก ก็ชัดเจนแล้วว่าไปไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นก็คงต้องมีการเปลี่ยนแปลง คงไม่มีการเสนอไปเรื่อยๆจนรอไปถึงปีหน้า เพื่อรอส.ว.หมดวาระ เพราะปัญหาประเทศต้องการความชัดเจน และต้องการได้รัฐบาลโดยเร็วเพื่อมาแก้ปัญหาของประชาชน ดังนั้นเราต้องจบให้ได้”นายภูมิธรรม กล่าว

นายภูมิธรรม กล่าวว่า อีกเรื่องคือถ้ายังเสนอนายพิธา แล้วฝ่ายเสียงข้างน้อยเสนอแข่ง อาจจะเป็นพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ หรือใครก็ตาม อย่าลืมว่ากลุ่ม 188 เสียง รวมเสียงส.ว. 250 คน ซึ่งมีแนวโน้มจะเป็นไปได้ เขาสามารถจะผ่านการเป็นนายกฯ ได้ ซึ่งตรงนี้เราต้องคิดว่าถ้าปล่อยให้เป็นอย่างนั้นจะคุ้มค่าหรือไม่กับโอกาสเพียงน้อยนิดที่เราจะได้จัดตั้งรัฐบาล แก้ไขปัญหาตามนโยบายที่เสนอ พร้อมทั้งแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ เพราะเรา เป็นรัฐบาลเราสามารถมีมติ ครม.ให้ไปทำประชามติ เพื่อตั้งส.ส.ร.มาแก้ไขรัฐธรรมูญ ซึ่งสำหรับ พวกเราถ้าทำได้เราสามารถกำหนดได้ว่าภายใน 1ปี ไม่เกิน2 ปีเราสามารถทำได้ ซึ่งเป็การปิดสวิซต์ ส.ว.ที่เป็นรูปธรรมจริงๆ มากกว่าการมาเสนอแก้ไขมาตรา 272 ที่ทำได้เพียงแค่สัญญาลักษณ์ เราสู้เรื่องนี้อยู่ แต่ไม่สามารถหวังผลได้ การที่พรรคก้าวไกลเสนอเรื่องนี้ก็ต้องชี้ให้ชัดว่าสิ่งที่อยากได้คืออะไร คุ้มกับการที่ต้องเสี่ยงกับการที่จะสูญเสียโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่

นายภูมิธรรม กล่าวต่อว่า นี่คือกรอบส่วนใหญ่ที่คุยกันและพรรคเพื่อไทยก็เสนอแบบนี้ ซึ่งทางพรรคก้าวไกลยังบอกว่าอยากได้เวลาในการเสนอชื่อเป็นนายกฯอีกครั้งและยังอยากทำเรื่องแก้มาตรา 272 ควบคู่กันไป ซึ่งเราเห็นว่าต้องคิดให้ดี แต่เราก็เคารพในความเห็น และให้กลับไปทบทวนกันในพรรคแล้วนำไปหารือในเช้าวันที่ 18 ก.ค. ซึ่งสิ่งที่นายพิธาพูดออกมาก็ดูดี และต้องขอบคุณที่จะทดลองอีกครั้ง แล้วเสนอให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำ แต่ตนคิดว่าปัญหาสำคัญที่ต้องคุยให้จบก่อน เพราะต้องไปเผชิญกับวิกฤตการณ์ หรือปัญหาที่จะเกิดขึ้นว่าเราจะแก้ไขอย่างไร ถ้าไม่สรุปให้ชัดเจนและไม่คุยให้ชัดก่อน ก็จะได้สิ่งที่เราพูดแล้วรู้สึกดี แต่โอกาสและการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจะไม่มี ซึ่งน่าเป็นห่วงที่สุด เรายังยืนยันว่ายังอยากจับมือเป็นพันธมิตรกับ 8 พรรค เพื่อเข้าไปทำเจตนารมณ์ประชาชนให้สำเร็จ แก้ปัญหาให้ประชาชนให้ได้ แต่ต้องอยู่กับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นและทำอย่างไรให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เมื่อถามว่า มองอย่างไรที่นายพิธา ออกมาพูดก่อนที่จะมีการตกลงกัน นายภูมิธรรม กล่าวว่า เรื่องนี้ต้องไปถามนายพิธา แต่ตนคิดว่านายพิธาคงมีเจตนาที่ดี ที่จะให้กำลังใจ กับประชาชนว่ากำลังต่อสู้อยู่ ซึ่งตนไม่ได้ขัดข้องตรงนี้ ก็ชื่นชมสิ่งที่นายพิธาทำ แต่ในเกมการ ต่อสู้เพื่อให้ฝ่ายประชาธิปไตยกับฝ่ายประชาชนได้รับชัยชนะ เพื่อสามารถเข้าไปเป็นรัฐบาล แก้ปัญหาได้ อันนี้เรายังเห็นต่างกันอยู่ ก็ต้องคุยกัน ซึ่งเป็นได้แค่ข้อเสนอของพรรคก้าวไกล แต่ความเห็นร่วมต้องผ่านการถกเถียงและพูดคุยกัน ซึ่งยังไม่มีข้อสรุป อย่างไรก็ตามทั้งสองพรรคถ้าคุยภายในกันได้และมีข้อสรุป เราเปิดสายคุยกันได้ตลอดเวลา แต่ถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจากที่เป็นอยู่ก็ไปเสนอในที่ประชุม 8 พรรค วันที่ 18 ก.ค.เวลา 10.00 น.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล

ที่บริเวณ​หน้าศาลรัฐธรรมนูญ​ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ

จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ