11 ก.ค.2566 - ที่รัฐสภา นายสมชาย แสวงการ ส.ว. กล่าวถึงทิศทางการโหวตนายกรัฐมนตรีของส.ว.ว่า เชื่อว่าส.ว.มีดุลยพินิจอยู่แล้วในการลงมติโหวตนายกรัฐมนตรีวันที่ 13 ก.ค.นี้ ส.ส.มีสิทธิเสนอชื่อนายกฯ แต่ส.ว.ก็มีหน้าที่ให้ความเห็นชอบ จึงต้องฟังข้อมูลรอบด้านทั้งการแสดงวิสัยทัศน์จากผู้สมัครที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ข้อมูลการอภิปรายจากสมาชิกรัฐสภา ข้อมูลทางคดีที่จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ เชื่อว่า ส.ว.จะใช้ดุลยพินิจได้อย่างดี แต่ผลโหวตจะออกมาอย่างไร รอดูวันที่ 13 ก.ค. ส่วนข้อเสนอการให้เลื่อนโหวตนายกฯในวันที่ 13 ก.ค.ออกไปก่อน เพื่อรอให้มีความชัดเจนถึงการตีความคุณสมบัติส.ส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เรื่องการถือหุ้นสื่อนั้น ขึ้นอยู่กับที่ประชุมรัฐสภาจะเห็นอย่างไร จะมีความกังวลถึงขั้นให้เลื่อนโหวตนายกฯหรือไม่นั้น จะรอฟังข้อมูลการอภิปรายถึงเวลา 17.00 น. วันที่ 13 ก.ค.แล้วจึงลงมติโหวตนายกฯ
นายสมชาย กล่าวต่อว่า แต่อย่างไรก็ตามขณะนี้ยังไม่มีอะไรมาเปลี่ยนแปลงในสิ่งที่กังวลดังกล่าว ส่วนกระแสข่าวจะมีส.ว.งดออกเสียง 90% ในการโหวตนายกฯนั้น ยังไม่ทราบ เพราะบางฝ่ายก็บอกว่า มีเสียงเพียงพอ การโหวตของส.ว.ต้องคำนึงว่า ถ้าพาประเทศรุ่งเรืองก็เห็นด้วย แต่ถ้าเลือกแล้ว พาประเทศวิกฤติ เปลี่ยนแปลงพลิกฟ้าคว่ำแผ่นดิน ก็ไม่เห็นด้วย เพราะส.ว.250 คน ต้องร่วมรับผิดชอบในการโหวต ส่วนตัวมีความไม่สบายใจในหลยาประเด็น ทั้งการแก้ไขมาตรา 112 แม้สุดท้ายนายพิธายืนยันจะไม่แก้ไข แต่ต้องถามสมาชิกพรรคก้าวไกลที่เหลือ และเครือข่ายว่า คิดแบบเดียวกันหรือไม่
นายสมชาย ยังกล่าวถึงข้อกังวลของส.ว.ไม่ให้นำชื่อนายพิธามาโหวตในรอบสอง หากไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภาในการโหวตครั้งแรก วันที่ 13 ก.ค.ว่า แม้รัฐธรรมนูญจะไม่มีข้อห้ามเรื่องการเสนอชื่อโหวตซ้ำรอบสอง แต่ส.ว.ก็กังวลใจ หากจะให้โหวตไปเรื่อยๆได้ จึงหยิบเรื่องนี้มาหารือกัน แต่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจน แต่มองว่า เป็นเรื่องที่มีประเด็น หากโหวตครั้งแรกไม่ได้ แต่มาได้เสียงเห็นชอบตอนโหวตครั้งที่2 แต่มีคนไปยื่นตีความว่า การเสนอชื่อโหวตซ้ำ 2 รอบ ทำไม่ได้ หากปล่อยให้ทำหน้าที่ไปสัก 3 เดือน แล้วศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า กระทำไม่ได้ จะทำให้การประชุมครม.ที่ผ่านมาเป็นโมฆะหรือไม่ จะยิ่งยุ่งไปกันใหญ่ อย่างไรก็ตามหากในที่สุดชื่อนายพิธาไม่ได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมรัฐสภา แล้วมีการพลิกขั้วรัฐบาลจัดตั้งรัฐบาล ก็เป็นเรื่องที่นักการเมืองต้องไปตกลงกัน จะเสนอชื่อใครเป็นนายกฯ ไม่ว่าจะเป็นนายเศรษฐา ทวีสิน น.ส.แพทองธาร ชินวัตร แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย นายอนุทิน ชาญวีรกูล หัวหน้าพรรคภูมิใจไทย หรือชื่อของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ส.ว.ไม่ยุ่งเกี่ยวด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นายแบกเพื่อไทย' ตบปาก 'นายกฯว่าว' โทษฐาน แนะ 'นายกฯอิ๊งค์' ใช้เวทีสภาฯ ลบคำครหาเรื่องโพย พึ่งพ่อ
นายอิราวัต อารีกิจ หรือ หมออั้ม นักเคลื่อนไหวทางการเมืองผู้สนับสนุนพรรคเพื่อไทย โพสต์ข้อความว่า พิธา แนะนายกฯอิ๊ง ให้ใช้เวทีสภาฯ แส
'ทักษิณ' เกทับ! เลือกตั้งครั้งหน้า กวาด สส.เชียงใหม่ ครบ 10 ที่นั่ง
นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้ช่วยหาเสียงให้ นายพิชัย เลิศพงศ์อดิศร หรือสว.ก๊อง ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) เชียงใหม่
47 เก้าอี้นายกฯอบจ. บ้านใหญ่ ลุ้นเข้าวิน-กินเรียบ!
คิกออฟ นับหนึ่งตั้งแต่จันทร์ที่ 23 ธ.ค.ที่เป็นวันแรกของการรับสมัครบุคคลที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งนายกฯ อบจ. 47 จังหวัดทั่วประเทศ รวมถึงที่ลงสมัครเป็นสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วประเทศ 76 จังหวัด
พรรคส้มดาวกระจาย สู้ศึกอบจ. ‘พิธา’ ชน ‘ทักษิณ’ ตรง ‘ประตูท่าแพ-ตลาดวโรรส’ จันทร์นี้
พรรคประชาชน(ปชน.)เตรียมตัวส่งผู้สมัครนายก อบจ.ตามจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศ ในวันที่ 23 ธ.ค. โดยส่งระดับแกนนำและผู้ช่วยหาเสียงที่เป็นผู้นำจิตวิญญาณลงประกบตามพื้นที่ต่างๆ
นับถอยหลัง 2567 5 ฉากร้อนการเมืองไทย
นับถอยหลังต่อจากนี้ ก็เหลือเวลาอีกแค่ 2 สัปดาห์ ก็เข้าสู่ช่วง “นับถอยหลังอำลา 2567 ต้อนรับปีใหม่ 2568” กันแล้ว
‘สมชาย’ ซัด อดีตผู้เสนอ พรบ.นิรโทษฯสุดซอย กำลังรุกฆาตกองทัพ-สถาบันหลักของชาติ
กฎหมายไม่กี่มาตรานี้ จะทำให้กองทัพอ่อนแอ ทั้งที่พรบ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมพ.ศ.2551 คือฉบับที่ใช้อยู่ปัจจุบัน ดีอยู่แล้ว ใช้เพื่อป้องกันไม่ให้การเมืองเข้าแทรกแซงกองทัพ เหมือนสมัยระบอบทักษิณเรืองอำนาจในอดีต