'วันนอร์' เผย 5 โมงเย็น 13 ก.ค. เริ่มโหวตนายกฯ แบ่งเวลาอภิปราย ส.ส.-ส.ว. รวม 6 ชั่วโมง

‘วันนอร์’ ระบุ เคาะ 13 ก.ค.เริ่มโหวตนายกฯ 5 โมงเย็น แบ่งเวลาอภิปราย ส.ส. 4 ชม. - ส.ว. 2 ชม. ลั่นขอโฟกัสโหวตรอบแรก อย่าเพิ่งคิดไปถึงรอบอื่น ยันสภาฯ มีหน้าที่หานายกฯ ให้ได้ แนะพรรคการเมืองดึงสติมวลชนอย่าวุ่นวาย

11 ก.ค.2566 - เมื่อเวลา 11.00 น. ที่รัฐสภา มีการประชุมวิปสามฝ่ายเพื่อเตรียมความพร้อมในการประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตเลือกนายกฯ ในวันที่ 13 ก.ค.นี้ โดยมีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาฯ ทำหน้าที่ประธาน พร้อมด้วยตัวแทนจากฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายค้านและส.ว.ร่วมประชุม โดยใช้เวลาเกือบ 3 ชั่วโมง

จากนั้นเวลา 12.50 น. นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวภายหลังการประชุมว่า วันนี้เป็นการประชุมระหว่างวิปของ ส.ว.และพรรคการเมือง โดยที่ประชุมหารือประเด็นการโหวตเลือกนายกฯ เพื่อให้เกิดความเรียบร้อย ซึ่งจะมีการอภิปรายและจะมีการโหวตกันได้ในเวลา 17.00 น. โดย ส.ว.ได้เวลา 2 ชั่วโมง และ ส.ส.จากทุกพรรคการเมืองได้เวลา 4 ชั่วโมงส่วนตัวเชื่อว่าการประชุมมีข้อบังคับอยู่ คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาหรือความวุ่นวายเกิดขึ้น

นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวต่อว่า ส่วนมาตรการดูแลความปลอดภัยสมาชิกที่เข้ามาประชุมนั้น ตนจะนัดคุยกับตำรวจสภาฯ ในเวลา 15.00 น. เพื่อหารือถึงเรื่องดังกล่าว โดยจะให้เป็นไปตามประกาศชุมนุมในที่สาธารณะ ขณะที่ประชาชนรวมทั้งกลุ่มผู้สนับสนุนที่จะเดินทางมาให้กำลังใจ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ และพรรคการเมืองก็ควรไปชี้แจงเพราะเชื่อว่าคนที่มาส่วนหนึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง ตนเชื่อในเจตนาดีของประชาชนที่อยากเห็นบ้านเมืองได้นายกฯ และเห็นความเปลี่ยนแปลงของบ้านเมือง หากได้นายกฯ ล่าช้า บ้านเมืองก็จะเกิดความเสียหาย ส่งผลต่อเศรษฐกิจและการลงทุน จึงขอให้คิดให้หนักว่าจะทำอย่างไรให้ได้นายกฯ ด้วยความเรียบร้อย ทั้งนี้ สภาฯ ไม่ได้คำนึงถึงความปลอดภัยสมาชิกเท่านั้น แต่ประชาชนที่มาสังเกตการณ์นั้นเราก็จะจัดสถานที่ให้ด้วย

เมื่อถามว่าหากโหวตนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล ไม่ผ่านในรอบแรก จะสามารถโหวตรอบที่ 2 ได้หรือไม่เนื่องจากมี ส.ว. บางส่วนออกมาท้วงติงว่าสามารถเสนอชื่อได้เพียงครั้งเดียว นายวันมูหะมัดนอร์ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่นายพิธาสามารถแสดงวิสัยทัศน์ก่อนได้ ทั้งนี้ เรายังไม่รู้ว่านายพิธาจะได้รับเสียงโหวตหรือไม่ผ่าน แต่ถ้าไม่ผ่านก็ต้องมาพิจารณา โดยยึดตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับ และมติที่ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยมาแล้วแม้จะไม่เกี่ยวกับกรณีนี้โดยตรง และความเห็นของผู้ตรวจการแผ่นดินและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาพิจารณาว่าจะสามารถทำได้อย่างไร ดังนั้นขอให้การพิจารณารอบแรกเสร็จสิ้นเสียก่อน ถ้าไม่ได้นายกฯ ถึงอย่างไรสภาฯ ก็ต้องดำเนินการให้ได้นายกฯ เพราะเป็นหน้าที่โดยตรง แต่จะเสนออย่างไร กี่ครั้งและคนเดิมได้หรือไม่ ขอให้จบรอบแรกไปก่อน.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'เอ็ดดี้ อัษฎางค์' มีคำตอบให้! 'พิธา' ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูเพื่อไทย

เอ็ดดี้-อัษฎางค์ ยมนาค อินฟลูเอ็นเซอร์การเมือง โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า "พิธา ลิ้มเจริญรัตน์" ไม่เข้าใจทำไมกลายเป็นศัตรูกับเพื่อไทย อัษฎางค์ ยมนาค มีคำตอบให้

'พิธา' คุยพรรคประชาชนแข่งเลือกตั้งมีแต่ชนะกับพัฒนา ไม่มีคำว่าแพ้

ที่จ.อุดรธานี แกนนำ สส. และผู้ช่วยหาเสียงพรรคประชาชน ร่วมเวทีปราศรัยหาเสียงเลือกตั้งนายก องค์การ​บริหาร​ส่วน​จังหวัด​ (อบจ.)​ อุดรธานี ที่จะมีการเลือกตั้งในวันที่ 24 พ.ย. 2567 ซึ่งพรรคประชาชนได้ส่ง คณิศร ขุริรัง เป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก

'พิธา' เย้ยกลับทักษิณอย่าลืมผลเลือกตั้ง 66 ลั่นอุดรฯคือเมืองหลวงประชาธิปไตย

นายพิธา​ ลิ้ม​เจริญ​รัตน์​ ประธานที่ปรึกษาคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้า​พรรค​ก้าวไกล​ ในฐานะผู้ช่วยหาเสียง​ นายคณิศร​ ขุริรัง​ ผู้สมัครนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานีจากพรรคประชาชน

'พิธา' เผยไม่ได้เห็นต่าง 'ทักษิณ' เรื่องเปลี่ยนโครงสร้าง เหน็บอย่ามัวแต่พูด ถึงเวลาต้องทำแล้ว

นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ประธานที่ปรึกษาคณะก้าวหน้าและอดีตหัวหน้าพรรคก้าวไกล กล่าวระหว่างลงพื้นที่เป็นผู้ช่วยหาเสียงนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดอุดรธานี ถึงกรณีที่นายทักษิณ ชินวัตร

ถึงคิว 'พิธา' ยกทัพตรึงอุดรฯ ร่วมงานลอยกระทง ขึ้นปราศรัย 3 เวทีใหญ่

ถึงคิว 'พิธา' ยกทัพตรึงอุดรธานี หลังโดน 'ทักษิณ-พท.' แย่งเรตติ้งสองวันติด ร่วมงานลอยกระทง ก่อนขึ้นเวทีปราศรัยใหญ่สามจุดวันเสาร์   

จับตา “พ่อใหญ่แม้ว” เยือนอุดรฯ เป่ากระหม่อม24พ.ย.สู้ศึกอบจ.

ในวันที่ 24 พ.ย.ที่จะถึงนี้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) อุดรธานี ซึ่งก่อนหน้านี้มี “วิเชียร ขาวขำ” นั่งเป็นนายก อบจ.อุดรฯ แต่เจ้าตัวลาออกอ้างปัญหาสุขภาพ จึงต้องทำให้มีการเลือกตั้งใหม่ภายใน 60 วัน และเป็นที่น่าจับตาว่า พรรคใหญ่ 2 พรรค ส่งคนสู้ศึกในครั้งนี้ใครจะเป็นผู้ชนะ