"ดิเรกฤทธิ์" เล็งหารือขอเลื่อนวาระเลือกนายกฯ13 ก.ค. แต่ถ้าไม่เลื่อน คาดส.ว.ส่วนใหญ่ใช้สิทธิ์งดออกเสียง มองเป็นเรื่องดีส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความก่อนโหวตนายกทำให้กระจ่างชัด ห่วงส.ส.-ส.ว.เลือกไปขัดรัฐธรรมนูญ
10 ก.ค.2566 - นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ส.ว. ย้ำจุดยืนเดิมในการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีภายใต้ 3 เงื่อนไข คือต้องเป็นผู้ถูกเสนอจากเสียงข้างมาก มีคุณสมบัติไม่มีลักษณะต้องห้ามและไม่ทำให้ประเทศเกิดความขัดแย้ง ส่วนกรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) ส่งศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบสถานภาพของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล ว่าสมาชิกรัฐสภามีหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรี ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ แต่ปัญหาคือในกรณีของนายพิธา มีคุณสมบัติ ณ วันที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ซึ่งองค์กรที่จะวินิจฉัยคือศาลรัฐธรรมนูญ โดยที่ผ่านมามีผู้ไปยื่นร้องเรียนต่อกกต. จึงทำหน้าที่เป็นผู้กลั่นกรองเบื้องต้น คล้ายกับพนักงานสอบสวนในคดีอาญา ดังนั้นเมื่อกกต.รับเรื่องไว้แล้วต้องตรวจสอบหลักฐานว่าครบถ้วนหรือไม่ จากนี้ต้องรีบส่งศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตนมองว่า เป็นเรื่องของการให้ความเป็นธรรม นายพิธา จะถูกหรือผิดจะมีคุณสมบัติครบถ้วนไม่มีลักษณะต้องห้ามหรือไม่ ต้องให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ให้ชัดโดยเร็ว เพราะมิเช่นนั้นเมื่อเปิดประชุมรัฐสภาวันที่ 13 ก.ค. คงจะมีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง
“มีการหยิบยกมาตรา272 ซึ่งมีการพูดถึงคุณสมบัติของผู้ที่ถูกเสนอชื่อ ไปโยงกับมาตราอื่นๆ นำไปสู่ข้อสงสัยว่าข้อยุติคืออะไร หากเลือกไปจะขัดกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ เช่นเดียวกับ โครงสร้างทางคดีอาญาตามมาตรา151 ที่ทราบว่าขาดคุณสมบัติแต่ยังลงสมัครเลือกตั้ง ในทำนองเดียวกันหากสมาชิกรัฐสภารู้อยู่แล้วว่านายพิธา ขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามแล้วยังเลือก อาจจะขัดกับรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งก็มีโทษทางอาญาด้วย เรื่องนี้ถือเป็นสิ่งสำคัญ ต่อหลักการ พิจารณาในวันที่ 13 กรกฎาคม สรุปคือเมื่อคุณสมบัติของนายพิธา เป็นหัวใจสำคัญที่สมาชิกรัฐสภาจะต้องพิจารณา ประกอบการลงมติให้ความเห็นชอบหรือไม่ให้ความเห็นชอบ ฉะนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องยื่นศาลรัฐธรรมนูญโดยเร็ว และเมื่อศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องแล้ว จะต้องมีคำสั่งที่เกี่ยวข้องโดยด่วนเช่น หากถูกร้องว่ามีคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามในการดำรงตำแหน่งทางเมืองจะต้องมีคำสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่อย่างไร
เพราะเมื่อดำรงตำแหน่งส.ส.ไม่ได้ จะมีผลย้อนหลังไปจนถึงวันเลือกตั้ง ดังนั้นวิธีการของศาลอาจจะต้องให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อน เพราะในทางปฏิบัติหาก นายพิธาชนะ ก็จะปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ แต่ถ้าแพ้ เป็นรัฐมนตรีตำแหน่งส.ส. รวมถึงหากได้รับเลือกเป็นรัฐมนตรีของนายพิธา ก็จะเป็นโมฆะทั้งหมด ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย ศาลควรสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ไว้ก่อน เหมือนกับกรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ อดีตหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
สำหรับการยื่นวินิจฉัยคุณสมบัติ ของนายพิธาส่งผลต่อการพิจารณาของส.ว. ที่ตั้งใจจะสนับสนุนนายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่นั้น นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวว่าตนเคยได้ประกาศเจตนารมณ์ต่อสาธารณชนไว้ ว่าจะประคับประคองระบอบรัฐสภาไว้ คือส.ส.เสียงข้างมากมีหน้าที่ในการจัดตั้งรัฐบาล ส.ว.ก็ควรสนับสนุน รวมถึงผู้ที่ถูกเสนอจะต้องมีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม แต่เมื่อประมาณ 2 เดือนที่แล้วมีการร้องกล่าวโทษ นายพิธา ตนจึงได้ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัด และให้ไปความเป็นธรรมกับผู้ถูกกล่าวหา เพราะถ้านายพิธาไม่มีคุณสมบัติตนก็เลือกไม่ได้ และถ้าเลือกไปก็สุ่มเสี่ยงจะเกิดปัญหาทำผิดรัฐธรรมนูญ ดังนั้นจึงไม่ต้องพูดถึงเงื่อนไขที่ 3 ว่านายพิธาจะขับเคลื่อนประเทศให้ เกิดความสงบเรียบร้อยได้หรือไม่
"เรื่องการโหวตไม่ใช่ส่งผลแค่การพิจารณาของส.ว.แต่ส่งผลต่อการพิจารณาของทั้งส.ส.และส.ว เพราะมาตรา 272 ห้ามเลือก คนที่ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม หากไปเลือกเขา ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าขาดคุณสมบัติ จะเป็นการทำผิดรัฐธรรมนูญเสียเอง และต้องรับโทษ ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นเรื่องนี้จึงเป็นเรื่องใหญ่ และเรื่องนี้เป็นไปตามกลไกของกฎหมายที่ต้องเคารพ องค์กรที่เกี่ยวข้องต้องทำให้กระจ่าง ไม่มีเงื่อนตายเงื่อนล็อค เพียงแค่ต้องมีความชัดเจน"
ส่วนความจำเป็นต้องเลื่อนการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ นายดิเรกฤทธิ์ กล่าวว่าวาระการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องของรัฐสภา อยู่ที่คน750 คนที่จะมองว่าหากเลือกไปแล้วจะไม่มีปัญหาตามมาก็สามารถดำเนินการได้ แต่หากมีบางคนมองว่าสุ่มเสี่ยงต่อการทำผิด ก็สามารถใช้มติของรัฐสภาในการเลื่อนวาระออกไปได้ ซึ่งจะต้องรอวันที่ 13 กรกฎาคม และส่วนตัวอาจจะยกมือขอหารือในที่ประชุมในประเด็นนี้ด้วย แต่หาก ในวันดังกล่าวศาลรัฐธรรมนูญยังไม่มีคำสั่ง ให้นายพิธาหยุดปฏิบัติหน้าที่ และไม่มีการเลื่อนวาระลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ส.ว.หลายคนอาจใช้วิธีงดออกเสียงเพื่อเป็นทางออกในการเลื่อนวาระดังกล่าว และกลับมาโหวต ในครั้งต่อไปได้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดิเรกฤทธิ์ ชี้ปมชั้น 14 เจ้าหน้าที่รัฐ ต้องถูกลงโทษ ทำผิดกฎหมาย
ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย อดีต ส.ว. โพสต์ข้อความ
อดีต สว. เผยความจริง 4 ข้อเรื่อง MOU 44 ได้พิสูจน์ให้คนไทยเห็นความจริงที่น่าเศร้า
ดร.ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (อดีต สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า MOU 2544 ได้พิสูจน์ให้คนไทยเห็นความจริงที่น่าเศร้า”
ความจริง 'ชั้น 14' ชี้ชะตา 'รัฐบาลอิ๊งค์'
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม ประธานสถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า อายุรัฐบาลขึ้นกับความจริงบนชั้น 14 โรงพยาบาลตำรวจ (รพ.ตร.)
ขยี้ 'จุดตาย' มัดนักโทษเทวดาชั้น 14
อดีต สว.ชี้จุดตาย ชั้น 14 ทักษิณ เวชระเบียนการรักษา ระบุการที่ รพ.ตร.ไม่ยอมเปิดเผย การรักษาต่อปชช.กลายเป็นหลักฐานมัดตัวว่าไม่ได้ป่วยจริง
สื่อถึงใคร? 'ดิเรกฤทธิ์' ซัดถ้ายอมให้มีคนไม่รับโทษตามความผิด กฎหมายจะมีความหมายได้อย่างไร
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม อดีต สว. ที่ปรึกษาด้านการเมืองการปกครองและกฎหมายมหาชน สถาบันสุจริตไทย
ไล่บี้รัฐบาลอิ๊งค์ คืนความยุติธรรมปชช. 'คดีตากใบ-อัลไพน์-นักโทษชั้น14'
นายดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม นักวิชาการอิสระและที่ปรึกษาด้านการเมืองการปกครองและกฎหมายมหาชน สถาบันสุจริตไทย และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (สว.)