'ก้าวไกล' เปิดดีลขอคุมกระทรวงหลัก-ประธานสภาฯ 'เพื่อไทย' ยังนิ่งหวั่นครหาตั้งรัฐบาลช้า

20 พ.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทย ถึงการประสานงานจัดตั้งรัฐบาลว่า ล่าสุดตัวแทนพรรคก้าวไกล (ก.ก.) เริ่มประสานเกี่ยวกับโควตารัฐมนตรีอย่างไม่เป็นทางการมายังแกนนำพรรคเพื่อไทย (พท.) บางส่วนว่าพรรคก้าวไกลขอโควตารัฐมนตรีที่ยึดโยงกับนโยบายพรรคซึ่งจะเป็นกระทรวงหลักแทบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงกลาโหม มหาดไทย คลัง ศึกษาธิการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ทำให้แกนนำพรรคเพื่อไทยถึงกับกลืนไม่เข้าคายไม่ออก เนื่องจากตามหลักการต้องแบ่งกระทรวงตามจำนวน ส.ส. ซึ่งพรรคเพื่อไทยต่างจากพรรคก้าวไกลเพียง 10 เสียง และกระทรวงหลัก กระทรวงรองก็ควรเกลี่ยให้ใกล้เคียงกัน ไม่ใช่พรรคใดพรรคหนึ่งได้กระทรวงหลักไปเกือบทั้งหมด จนขณะนี้แกนนำพรรคเพื่อไทยยังคงสงวนท่าที เพราะไม่อยากให้พรรคก้าวไกลนำเรื่องนี้มาเป็นข้ออ้างว่าพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายต่อรองเก้าอี้ จนทำให้การตั้งรัฐบาลล่าช้าออกไป

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า ทางพรรคก้าวไกลยังแจ้งความประสงค์มาด้วยว่าอยากให้ตำแหน่งประธานสภาฯ เป็นของพรรคก้าวไกล เพราะต้องการคุมเกมในสภาฯ ขณะที่พรรคเพื่อไทยไม่เห็นด้วย เพราะพรรคก้าวไกลได้เป็นประมุขฝ่ายบริหารแล้ว พรรคเพื่อไทยควรได้ตำแหน่งประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ อีกทั้งเป็นพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกัน ทิศทางขับเคลื่อนงานในสภาฯ ก็ต้องไปในทิศทางเดียวกันอยู่แล้ว อย่างไรก็พรรค แกนนำพรรคพท.ที่ได้รับการประสาน จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารพรรคก่อนจะมีมติอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยหลังจากนี้กรรมการบริหารพรรคพท.จะได้มอบหมายให้นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคพท.ทำหน้าที่ประสานในทุกเรื่องกับพรรคก.ก.ต่อ

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่าสำหรับเอ็มโอยูเข้าร่วมรัฐบาลนั้น แกนนำพรรคเพื่อไทยพิจารณาเรียบร้อยแล้ว และได้นำเสนอร่างในส่วนของพรรคเพื่อไทยไปยังพรรคก้าวไกล ให้เป็นผู้รวบรวมประเด็นกับเอ็มโอยูของพรรคอื่นๆแล้ว โดยเนื้อหาที่พรรคเพื่อไทยปรับปรุงนั้น ยืนยันสนับสนุน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลเป็นนายกฯ และให้พรรคก้าวไกลเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล ส่วนเนื้อหาอื่นพรรคเพื่อไทยเขียนในภาพกว้างไม่ลงลึกรายละเอียด เช่น ร่วมกันฟื้นฟูเศรษฐกิจโดยยึดหลักเพิ่มรายได้ประชาชน การแก้ไขปัญหาของพี่น้องเกษตรกร แก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนใต้ แก้ไขรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการตั้งส.ส.ร. ที่มาจากประชาชน ส่วนรายละเอียดอื่นที่อยู่ในร่างของพรรคก้าวไกล เช่นเรื่องความเสมอภาคของสิทธิมนุชน ประเด็นสมรสเท่าเทียมนั้น พรรคเพื่อไทยมองว่าสอดคล้องกับนโยบายของพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ควรอยู่ในเอ็มโอยู รอไว้ใส่ในคำแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภาจะดีกว่า ซึ่งบทสรุปของเอ็มโอยูที่จะเซ็นต์ร่วมกันนั้น ทั้ง 8 พรรคจะหารืออีกครั้งเช้าวันที่ 22 พ.ค. ก่อนแถลงข่าวร่วมกันในช่วงบ่าย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สส.เพื่อไทย ดี๊ด๊า ประเทศไทยมีระบบที่เป็นมาตรฐาน!

นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด สส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวว่าประชาชนที่ติดตามเรื่องนี้คงสบายใจขึ้นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับ

สาวกเพื่อไทย ยื่นศาลรธน.สอบ 'ธนพร' ละเมิดอำนาจศาล

ที่บริเวณ​หน้าศาลรัฐธรรมนูญ​ นายนิยม นพรัตน์ หรือเค สามถุยส์ และนายทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร เดินทางมายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อยื่นหนังสือร้อง นายธนพร ศรียากูล ผู้อำนวยการสถาบันวิเคราะห์

'ชูศักดิ์' เผย 'เพื่อไทย' ได้รับความเป็นธรรม ศาลรธน. ไม่รับคำร้องปมล้มล้างการปกครอง

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงภายหลังที่ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ทนายอิสระ ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีและพรรคเพื่อไทย(พท.) ยุติการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองจะผูกพันไปยังกรณีที่มีการยื่นคำร้องเดียว

'อิ๊งค์' ยิ้มรับ 'พ่อ-เพื่อไทย' รอดล้มล้างปกครอง ชาวเน็ตชี้จากนี้ไป 'ทักษิณ' ใส่เกียร์เหลิง

จากกรณีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย คำร้องที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ

2 ตุลาการศาลรธน.เสียงข้างน้อย รับคำร้อง 'ทักษิณ' สั่งรัฐบาลเอื้อประโยชน์ฮุนเซน น่าจะเกิดผลใช้สิทธิล้มล้างปกครองฯ

จากกรณีนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2567 ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 กล่าวอ้างว่า นายทักษิณ ชินวัตร (ผู้ถูก

'แก้วสรร' แนะ 'ธีรยุทธ' ปรับยุทธวิธี เสริมความแกร่งของสำนวนมุ่งไปที่ กกต.-ปปช.

หลังตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย กรณีที่นายธีรยุทธ สุวรรณเกษร ในฐานะประชาชน ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ