ชักวุ่น! 'เพื่อไทย-ประชาชาติ' โวยเอ็มโอยูก้าวไกลผูกมัด ไม่เห็นด้วย 2 ประเด็นร้อน

“พรรคร่วมรบ.” โวยเอ็มโอยู “ก.ก.” บีบทุกพรรคเดินตาม ค้านนิรโทษโดยเฉพาะ “พท.” หวั่นโยง “ทักษิณ” ฟาก ปช.ค้าน “สมรสเท่าเทียม-สุราเสรี” ขัดหลักศาสนา ย้ำชัดยังไม่คุยแบ่งเก้าอี้ รมต.

19 พ.ค.2566 - ผู้สื่อข่าวรายงานจากพรรคเพื่อไทย (พท.) ว่า สำหรับเอ็มโอยูที่พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ยื่นมาให้พรรคร่วมนั้น เป็นการลงรายละเอียดโดยยึดหลักนโยบายของพรรคก.ก.เป็นหลัก อาทิ คืนความยุติธรรมจากผู้ได้รับผลกระทบจากรัฐประหาร ผลักดันกฎหมายนิรโทษกรรมคดีการเมืองโดยไม่รวมความผิดคดีคอร์รัปชั่น และเป็นอันตรายต่อชีวิตและร่างกาย ซึ่งพรรคร่วมส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะพท.ที่มองว่าหากผลักดันเรื่องดังกล่าว จะถูกโยงว่าทำไปเพื่อนายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ และจะไม่ร่วมเซ็นในเอ็มโอยูหากมีประเด็นนี้ แต่ถ้าพรรคก.ก.จะเสนอในนามพรรคในวาระต่อไปก็ไม่ติดใจ

นอกจากนี้ยังมีประเด็นการยกเลิกการผูกขาดอุตสาหกรรมผลิตสุรา ผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียม ซึ่งประเด็นนี้พรรคประชาชาติ (ปช.) ไม่เห็นด้วย เพราะขัดกับหลักศาสนาอิสลาม ที่เป็นฐานเสียงหลักของพรรคปช. ทั้งนี้ จากประเด็นที่พรรคก.ก.เสนอมาในเอ็มโอยูนั้น ทุกพรรคเห็นว่าเป็นประเด็นที่ผูกมัดบีบให้ทุกพรรคยอมรับในเงื่อนไขของพรรคก.ก.มากเกินไป จึงอยากให้ปรับโดยเขียนเป็นหลักการกว้างๆไว้ก่อน แล้วค่อยนำนโยบายของแต่ละพรรคมาปรับใช้ในภายหลัง อย่างไรก็ตาม เนื้อหาไม่มีการพูดถึงการแก้กฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งประเด็นนี้ทุกพรรคเห็นด้วย เพราะไม่มีใครอยากให้นำประเด็นนี้มาผูกมัดในเอ็มโอยู

ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า ในเอ็มโอยูยังได้ระบุถึงการจัดสรรเก้าอี้รัฐมนตรี ว่าจะคำนึงถึงความเป็นธรรม เหมาะสมและสอดคล้องกับนโยบายพรรค ให้เกียรติ จริงใจ สนับสนุนการทำงานซึ่งกันและกัน หากใครได้ตำแหน่งรัฐมนตรีแล้วประพฤติในทางมิชอบ ต้องยุติการดำรงตำแหน่ง แต่ในเรื่องของการจัดสรรโควตารัฐมนตรีนั้น แกนนำพรรคพท.ยังไม่ได้รับการประสานอย่างเป็นทางการเข้ามาจากแกนนำก.ก. และยังไม่อยากให้คุยไปไกลถึงเรื่องดังกล่าว อยากให้ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับเอ็มโอยูจัดตั้งรัฐบาลเรียบร้อยก่อน และแปลกใจกับข่าวที่ออกมาเช่นนี้ ไม่เข้าใจว่าคนที่ปล่อยมีเจตนาจองเก้าอี้ไว้ก่อนหรือไม่อย่างไร เพราะปกติการแบ่งโควตานั้นต้องรอให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรอง ส.ส.อย่างเป็นทางการแล้วค่อยนำจำนวนส.ส.พรรคร่วมมาเฉลี่ยว่าแต่ละพรรคควรได้กี่เก้าอี้อย่างไร เช่นเดียวกับตำแหน่งประธานรัฐสภาที่ทางพรรคพท.ยังไม่ได้รับการประสานมาแต่อย่างใด

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'สามารถ' ย้อนเกล็ด 'เด็จพี่' ขยันร้องบิ๊กป้อม แต่ไม่ตามตัว สส.เพื่อไทย คดีตากใบ

นายสามารถ เจนชัยจิตรวนิช รองโฆษกพรรคพลังประชารัฐ กล่าวถึงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีต สส.เพื่อไทย ติดตามการขาดประชุมของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ สส.บัญชีรายชื่อ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ

'ไพบูลย์' ปูดข่าวยุบพรรคเพื่อไทย ให้จับตาดูหลัง 10 ต.ค.

นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรค พปชร. เปิดเผยว่า ตนทราบข่าวว่าจะเกิดปัญหากับพรรคการเมือง ที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ เป็นสมาชิกพรรค หรือที่รับใบสั่งกับแกนนำมาร้องเรียนจนมั่วไปหมด ซึ่งตนเองทราบจากแหล่งข่าวที่น่าเชื่อได้

'ไพบูลย์' แจ้งความแล้ว ลุยเอาผิด 'เด็จพี่' ฝ่าฝืนประกาศ คปค. ห้ามดักฟัง

นายไพบูลย์ นิติตะวัน เลขาธิการพรรค พปชร. กล่าวถึงกรณีนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ อดีต ส.ส.พรรคเพื่อไทย ที่ร้องตรวจสอบ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ หัวหน้าพรรค พปชร. รวมถึงขอข้อมูลส่วนตัวว่า ตนเกรงว่านายพร้อมพงศ์ จะไม่มีความรู้ด้านกฎหมาย

'เพื่อไทย' ดิ้นแก้รธน.ทั้งฉบับ เรียกหัวหน้าพรรครัฐบาลหาทางออก ปัดกดดัน สว.บ้านใหญ่

นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงกรณีที่วุฒิสภามีแนวโน้มที่จะแก้ไขร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการออกเสียงประชามติ โดยให้ฟื้นใช้เกณฑ์เสียงข้างมากสองชั้น (double majority)

เจาะแพ็กเกจ แก้รธน. พริษฐ์ พรรคประชาชน กับด่านสำคัญที่รออยู่

การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมร่วมรัฐสภาในเดือนตุลาคม ดูเหมือนจะคลายความร้อนแรงทางการเมืองไปพอสมควร หลัง"พรรคเพื่อไทย"

เกมยื้อแก้ 'รัฐธรรมนูญ' ' อิ๊งค์' หนักคอพาดเขียง

ประเด็นการเมืองร้อนแทรกขึ้นมาท่ามกลางปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และเศรษฐกิจ หลังพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชน ใจตรงกันยื่นแก้รัฐธรรมนูญรายมาตรา โดยมีเป้าหมายคือลดอำนาจการตรวจสอบนักการเมืองผ่านองค์กรอิสระ อาทิ ศาลรัฐธรรมนูญ ป.ป.ช. และ กกต.