กรมอุทยานฯ แจงรั้วกันช้างออกแบบได้มาตรฐาน ยันโปร่งใส

กรมอุทยานฯ ยืนยัน3โครงการรั้วกันช้างออกแบบได้มาตรฐานและเทคนิควิศวกรรม แจงยังไม่แล้วเสร็จ ต้องติดตั้งระบบไฟฟ้าป้องกัน เตรียมส่งวิศวกรไปตรวจสอบสัปดาห์หน้า ผอ.สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่าเผยทดลองหลายรูปแบบ ทั้งคูกันช้าง-เพนียดกั้น แต่ช้างป่าฉลาดออกมาหากินพื้นที่เกษตรชาวบ้านได้

21ก.พ.2565 – นายสมหวัง เรืองนิวัติศัย รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โฆษกกรมอุทยานแห่งชาติฯ แถลงข่าวชี้แจงกรณีรั้วป้องกันสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง) ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

นายสมหวัง  กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาสัตว์ป่านอกเขตป่าอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาสัตว์ป่าออกมาสร้างความเดือดร้อนให้แก่ชาวบ้านรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ได้แก่ พื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี ได้ทำการก่อสร้างรั้วกันช้างกึ่งถาวร จำนวน 13 กม พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ จังหวัดนครสวรรค์ ได้ทำการก่อสร้างรั้วกันช้างกึ่งถาวร จำนวน 10 กม. และพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง (สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง) ได้ทำการก่อสร้างรั้วกันช้างพร้อมระบบเตือนภัยพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 12 กม. รั้วกันช้างออกแบบโดยส่วนมาตรฐานและเทคนิคด้านวิศวกรรมของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งมีโครงสร้างตามหลักวิศวกรรม และจะต้องติดตั้งระบบไฟฟ้าป้องกันช้าง ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ พร้อมทั้งติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติมอีกหลายรายการ

“ จากการดำเนินโครงการทั้ง 3 แห่งพบมีปัญหาอุปสรรคในเรื่องของสถานที่ก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ควบคุมการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2563 ประกอบกับรัฐบาลได้มีมาตรการในการรับมือกับสถานการณ์และการประกาศพื้นที่ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุด ซึ่งพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามเคลื่อนย้ายแรงงาน มีผลให้ขาดแคลนแรงงานในการก่อสร้าง และไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์จากต่างประเทศได้ ประกอบกับในพื้นที่ก่อสร้างบางแห่งมีน้ำท่วมขังเนื่องจากมีฝนตกบ่อยครั้งในระยะนี้  “ นายสมหวัง กล่าว

รองอธิบดีกรมอุทยานฯ กล่าวต่อว่า ปัจจุบันการดำเนินโครงการทั้ง 3 โครงการ ใน 3 พื้นที่ป่าอนุรักษ์ดำเนินการเกือบแล้วเสร็จสมบูรณ์อยู่ระหว่างการก่อสร้าง  แต่ยังไม่ได้ติดระบบไฟฟ้าป้องกันช้าง และยังไม่ได้ส่งมอบงาน ทางคณะกรรมการตรวจการจ้างได้สั่งการให้ผู้รับจ้างทำการแก้ไข พร้อมทั้งเตรียมจะส่งวิศวกรไปตรวจสอบอีกครั้งภายในสัปดาห์หน้า อย่างไรก็ตาม ยืนยันทั้ง 3 โครงการได้มาตรฐานและมีความโปร่งใส

สำหรับโครงการก่อสร้างรั้วกันช้างกึ่งถาวรเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ  13 กม. งบ 19.4 ล้านบาท ยังไม่มีการเบิกจ่าย  โครงการรั้วกันช้างกึ่งถาวร อุทยานแม่วงก์  10 กม. งบ 14.9 ล้าน เบิกจ่าย 2.3 ล้านบาท ที่เหลือคงค้างจ่าย ส่วนโครงการก่อสร้างรั้วกันช้างพร้อมระบบเตือนภัยพลังงานแสงอาทิตย์สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 12 กม. งบ 12 ล้านบาท  คงค้างเบิกจ่ายกว่า 90% ยังไม่มีรับมอบงาน   

ด้าน นายสมปอง ทองสีเข้ม ผู้อำนวยการสำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กล่าวว่า จากประสบการณ์แก้ปัญหาช้างออกนอกพื้นที่อนุรักษ์ตลอด  10 ปี  พบว่า ช้างเป็นสัตว์ฉลาด มีวิวัฒนาการและปรับตัวสูงมาก ที่ผ่านมาจัดทำรั้วกันช้างหลายรูปแบบเพื่อป้องกันช้างออกนอกพื้นที่เขตอนุรักษ์  ค่าใช้จ่ายสร้างรั้วต่อกิโลเมตรก็มีราคาสูง  แต่ระยะทางทำรั้วกันช้างมีมากกว่า 1,000 กิโลเมตร เฉลี่ยค่าใช้จ่าย 1 ล้านบาทต่อกิโลเมตร บางโครงการ 7 ล้านบาทต่อ กม. ซึ่งรั้วกันช้างจะมีประสิทธิภาพต่อเมื่อก่อสร้างได้สมบูรณ์แบบ กรณีมีความเสียหายผู้รับจ้างก็ต้องรับผิดชอบ เพราะต้องมีการทำแผนเผชิญเหตุระหว่างก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม งบประมาณขึ้นกับสภาพพื้นที่ ปัจจัยที่ส่งผลกระทบมาจากนิสัยของช้างแต่ละกลุ่มป่า

นายสมปอง กล่าวต่อว่า สำหรับพื้นที่กลุ่มป่าตะวันออก 5 จังหวัด ที่มีปัญหารุนแรง กรมฯ ป้องกันอย่างไร ช้างออกจากป่าได้หมด ทำคูกันช้าง ช้างเรียนรู้ใช้วิธีเดินทแยงขึ้นและช้างช่วยกันผลักดันให้เดินผ่านคูขึ้นมาได้ ส่วนเพนียดกันช้าง ซึ่งจัดทำเป็นเสาขนาดใหญ่ที่คาดว่าชัวร์ที่สุด ยังหักไปแล้วกว่า 4 ต้น อย่างไรก็ตาม ความเสียหายอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง ผู้รับจ้างต้องรับผิดชอบ ซึ่งเพนียดราคาต่อกิโลเมตรแพงมาก แต่ช้างก็ออกมาได้หมด

นายเนรมิต สงแสง หน.อุทยานแห่งชาติ แม่วงก์ กล่าวว่า โครงการกำหนดแล้วเสร็จ 15 มี.ค. ปัจจุบันมีความคืบหน้า 80% เร่งผู้รับจ้างให้ดำเนินการ เนื่องจากปัญหาโควิด แรงงาน และมรสุม ไม่มีความกังวล มั่นใจแล้วเสร็จตามแผนแน่นอน

 นายตรศักดิ์ นิภานันท์ หน.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง  กล่าวว่า งานก่อสร้างทางผู้รับจ้างกำหนดเสร็จสิ้นวันที่  5 มี.ค. แต่ช่วงที่ผ่านมา มีฝนตกหนัก เป็นอุปสรรคก่อสร้าง  ทางผู้รับจ้างเร่งดำเนินการ

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เวียนเทียนด้วยต้นไม้ วันวิสาขูชา ลดฝุ่น PM2.5

วันวิสาขบูชาถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันทำบุญ เจริญภาวนา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ และประธานมูลนิธิปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะ เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชานี้ มูลนิธิปลูกต้นไม้ฯ

'ผึ้งหลวงหิมาลัย'ดอยผ้าห่มปก ดัชนีความหลากหลายชีวภาพ

การค้นพบผึ้งหลวงหิมาลัยครั้งแรกในประเทศไทยในพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก จ.เชียงใหม่  สร้างความฮือฮาให้กับวงการชีววิทยาของไทยและสากล  นายทรงเกียรติ ตาตะยานนท์ รองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช (อช.)

เปิดยุทธศาสตร์'กุยบุรี' ลดขัดแย้งคน-ช้าง

เนื่องในวันช้างไทย ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มีนาคมของทุกปี มีการรณรงค์สื่อสารให้คนไทยตระหนักถึงสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงของช้างไทยจากปัญหาผืนป่าที่ถูกทำลายและลดลง ทั้งด้วยปัจจัยทางธรรมชาติและกิจกรรมจากน้ำมือมนุษย์รบกวนถิ่นที่อยู่อาศัยของช้างสัตว์ประจำชาติ

ยุติค้าสัตว์ป่า ภัยเงียบทำลายระบบนิเวศ

23 ธ.ค.2566 - พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) เป็นประธานในพิธีเปิดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2566 ณ ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่ 3 (ประทับช้าง) จ.ราชบุรี ที่

ตามรอย’เสือโคร่ง’ คุ้มครองถิ่นที่อยู่ 4 กลุ่มป่า

สถานการณ์ประชากรเสือโคร่งในป่าไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาไม่มีรายงานลักลอบล่าเสือโคร่ง สัปดาห์ที่แล้ว มีข่าวดีคนไทยจากรายงานสำรวจพบเสือลายเมฆ สัตว์ป่าที่พบยากและมีสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จ.อุบลราชธานี ซึ่งปัจจุบัน

'พลายศักดิ์สุรินทร์' ถึงไทย 14.00 น. กรมอุทยานฯเผยการเคลื่อนย้ายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย

กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช โพสต์บรรยากาศการเคลื่อนย้าย “ช้างไทย" พลายศักดิ์สุรินทร์ ทูตสันถวไมตรี กลับมาสู่อ้อมกอดประเทศไทย