'หมอชูชัย' ชงยุทธศาสตร์แก้ PM2.5 หนุน HIA สร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น ภาคธุรกิจร่วมรับผิดชอบ

'หมอชูชัย' ชี้ปัญหาหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญ เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เสนอยุทธศาสตร์สนับสนุน HIA สร้างความเข้มแข็งอบจ.และชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ เรียกร้องภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบพัฒนาอย่างยั่งยืน

15ส.ค.2567 - เมื่อเวลา 9.00 น ที่โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว มีการประชุมวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA FORUM) ประจำปี 2567 "เมืองสุขภาพดี ชีวีมีสุข ด้วย HIA" โดยนายแพทย์ชูชัย  ศุภวงศ์ ประธานกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA) เจ้าของรางวัลผู้นำด้านสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ ได้ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ "ทิศทางการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อสุขภาวะไทยที่ยั่งยืน" และกล่าวเปิดการประชุม ว่า ประเด็นที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพสำคัญของประชาชนทั้งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ คือ ปัญหาหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญ และเกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี จำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญและร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาในหลายระดับ ทั้งหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง สถาบันวิชาการและเครือข่ายนักวิชาการ ตลอดจนองค์กรภาคเอกชน ไปจนถึงภาคประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น

นพ.ชูชัย ได้ฉายภาพให้เห็นแนวโน้มทั่วโลก ได้อ้างคำพูดของนายปรีดา เตียสุวรรณ์ นักธุรกิจเพื่อสังคมท่านหนึ่ง เคยกล่าวกว่าหนึ่งทศวรรษแล้ว ไว้ว่า “… องค์กรธุรกิจ ในฐานะผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจและใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากที่สุด จึงมีหน้าที่และความรับผิดชอบดูแลความยั่งยืน ความสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติของโลก …”

นักธุรกิจเพื่อสังคมท่านนี้เป็นธุรกิจไทยคนแรกที่เข้าร่วมเป็นภาคีใน UN Global Impact ต่อมา องค์การสหประชาชาติ ได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างเป็นทางการเมื่อ 1 มกราคม 2559 และเมื่อเร็วๆนี้ ทาง UN ประกาศเตือนว่า ยุคโลกร้อนได้สิ้นสุดลงแล้ว แต่เริ่มต้นเข้าสู่ยุคโลกเดือด หรือ Global boiling สะท้อนให้เห็นถึง โลกทั้งใบมีการพัฒนาที่ขาดดุลยภาพ ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม จิตใจ รวมทั้ง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

"กล่าวโดยสรุป แนวโน้มของโลก มีสามเรื่องที่สำคัญคือ 1. ธุรกิจกับความรับผิดชอบต่อสังคม ตลอดจน การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน หมายถึง การที่บริษัทประกอบธุรกิจ โดยคำนึงถึงการเติบโตของผลกำไร ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม สิ่งแวดล้อม และธรรมาภิบาล 2.การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นและชุมชนเป็นทิศทางของโลกวันนี้เราจะมายืนยันความสำคัญ บทบาทของอบจ.เทศบาล อบต 3.การสร้างพลังการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จะต้องร่วมกันรักษาดุลยภาพของการพัฒนาให้เป็นไปอย่างยั่งยืน"

นพ.ชูชัย กล่าวอีกว่า สำหรับบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่เรียกได้ว่าอยู่ใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด มีบทบาทสำคัญในการพัฒนานโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่ ทั้งตามบทบาทภารกิจที่กฎหมายกำหนด และเป็นอำนาจหน้าที่ ๆ ท้องถิ่นพึงกระทำเพื่อการทำให้ประชาชนในพื้นที่มีคุณภาพชีวิตและมีสุขภาวะที่ดี ซึ่ง HIA เป็นเครื่องมือที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชน และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนในการใช้ข้อมูลและหลักฐานเชิงประจักษ์ ในการกำหนดทิศทางและแนวทางการพัฒนา ที่ท้องถิ่นสามารถนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อการมีสุขภาวะที่ดีของประชาชนในพื้นที่ได้

นอกจากนี้ ในระยะที่ผ่านมาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ต้องเผชิญกับการจัดการปัญหาที่เป็นผลพวงการพัฒนาหรือได้รับการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอกเช่นนโยบาย แผนงาน โครงการต่าง ๆ ที่ลงมาดำเนินการในพื้นที่และอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยกำหนดสุขภาพของคน ทั้งมิติทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ซึ่งท้องถิ่นสามารถใช้ HIA ในการประเมินผลกระทบทั้งเชิงรุก ป้องกัน ฟื้นฟู เฝ้าระวังติดตามผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยการหนุนเสริมศักยภาพจากหน่วยงานภาคีและเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง

ปัจจุบันมีเครือข่ายความร่วมมือในการหนุนเสริมการทำ HIA ระดับท้องถิ่น ซึ่งมีทางกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่มีภารกิจในการสนับสนุนการทำ HIA ตามบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่กำหนดตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535  และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) ซึ่งมีการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่สำคัญในระดับภูมิภาค เพื่อพัฒนาศูนย์วิชาการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งตั้งขึ้นภายใต้คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยต่างๆ ในระดับภาค จำนวน 6 แห่ง และจะมีการทำความร่วมมือกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ในการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ HIA เป็นเครื่องมือในการพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับต่างๆ โดยมีกลไกความร่วมมือในการดำเนินการร่วมกันผ่านบทบาทของคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ หรือที่เราเรียกว่า HIA Commission ซึ่งเป็นกลไกภายใต้คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) มีองค์ประกอบจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทุกภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการและผู้ทรงคุณวุฒิภาคประชาสังคมที่เกี่ยวข้อง เป็นกลไกประสานติดตามและขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกัน

ในช่วง  2 - 3 ปี ที่ผ่านมา คณะกรรมการ HIA Commission ได้สนับสนุนให้มีการถอดบทเรียนการดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้าร่วมกระบวนการพัฒนาศักยภาพด้านการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ และขับเคลื่อนการดำเนินงานร่วมกับกรมอนามัย ในช่วงปี พ.ศ.2564 – 2565 เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการพัฒนาหลักเกณฑ์ HIA ฉบับที่ 3 ซึ่งก็พบว่า การพัฒนาระบบการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในระดับท้องถิ่นของประเทศไทย ยังมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะประเด็นที่สำคัญที่สุดได้แก่การขาดบุคลากรที่มีความรู้ ทักษะและมีความสามารถในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ที่ถูกต้องตามหลักวิธีวิทยาการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ

นอกจากนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ยังขาดความพร้อมทางด้านเครื่องมือการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพในมิติต่างๆ รวมถึงขาดกลไกสนับสนุนและให้คำปรึกษาการดำเนินงาน จึงทำให้การทำ HIA ในระดับท้องถิ่นยังไม่สามารถผลักดันให้เกิดรูปธรรมได้มากนักในระยะที่ผ่านมา

"ดังนั้นในช่วงปี พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา คณะกรรมการฯ มียุทธศาสตร์มุ่งสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นยุทธศาสตร์สนับสนุน HIA สร้างความเข้มแข็งอบจ.และชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ จึงสนับสนุนให้ สช. และเครือข่ายวิชาการ HIA ลงไปพัฒนาการทำงานร่วมกับ อปท. ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ครอบคลุม อปท. ระดับเทศบาลตำบล เทศบาลเมือง เทศบาลนคร ไปจนถึงองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินการในการใช้ HIA เป็นเครื่องมือการพัฒนานโยบายสาธารณะของ อปท. ซึ่งก็พบว่าประเด็นที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเลือกดำเนินการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ค่อนข้างมีความหลากหลาย แตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละพื้นที่ ซึ่งมีทั้งประเด็นด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัย ประเด็นด้านสังคมและคุณภาพชีวิต รวมถึงประเด็นด้านการจัดระบบบริการสุขภาพ"

ประธานกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ(HIA) กล่าวว่า การประชุม HIA Forum นี้ กำหนดจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยมีเครือข่ายสถาบันวิชาการ HIA ร่วมกันเป็นเจ้าภาพ ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ และเคลื่อนไปจัดงานตามภูมิภาคต่างๆ ในแต่ละปี ซึ่งในครั้งนี้ทางเครือข่ายวิชาการ HIA ภาคเหนือตอนบน รับเป็นเจ้าภาพหลัก นอกจากจะนำเสนอให้เห็นแนวทางการขับเคลื่อนให้เกิดเมืองสุขภาพดี หรือ Healthy city โดยใช้ HIA เป็นเครื่องมือการดำเนินงานของภาคชุมชนและท้องถิ่น

สำหรับในพื้นที่ภาคใต้ ที่ได้จัดการประชุมวิชาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) พ.ศ. 2566 ในปีที่แล้ว นั้น หัวข้อ “การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน: โอกาส และความท้าทาย” ได้กล่าวปาฐกถาในตอนท้ายว่า

“…มีความสำคัญสูงมากต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่งดงาม อุดมสมบูรณ์ เต็มไปด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีชายหาดที่ได้รับการประเมินว่า สวยที่สุดในโลก เป็นพื้นที่ที่หาได้ยากยิ่งบนโลกใบนี้ ทว่าโครงการพัฒนาที่เข้ามาในพื้นที่กลับมุ่งไปสู่อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ซึ่งกลายเป็นความเสี่ยง …“

แต่ด้วยกระบวนการ HIA จากความร่วมมือที่เข้มแข็งระหว่างภาควิชาการ และภาคประชาชน ก็ช่วยให้สามารถสร้างดุลยภาพของการพัฒนาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี

"ประเด็นที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพสำคัญของประชาชนทั้งในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอื่นๆ ทั่วประเทศ คือ ปัญหาหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญ และเกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี จำเป็นที่ทุกภาคส่วนจะต้องให้ความสำคัญและร่วมกันขับเคลื่อนเพื่อแก้ไขปัญหาในหลายระดับ ทั้งหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง สถาบันวิชาการและเครือข่ายนักวิชาการ ตลอดจนองค์กรภาคเอกชน ไปจนถึงภาคประชาชน ชุมชน และท้องถิ่น ซึ่งจะมีการเปิดโอกาสให้ภาคส่วนต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ได้ร่วมกันให้ข้อเสนอแนะและข้อเรียกร้องต่อภาคส่วนต่างๆ ในการจัดการมลพิษทางอากาศ ทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะกลางและระยะยาว เพื่อเสนอต่อรัฐบาลและกลไกที่เกี่ยวข้อง ในการร่วมกันผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหา และขับเคลื่อนให้เกิดชุมชนและเมืองสุขภาพดีต่อไป” นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ กล่าวสรุป ปิดท้ายปาฐกถา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' แฉ โรงงานสีเทาผิดกฎหมายจำนวนมาก ตั้งอยู่ในพื้นที่ของท้องถิ่น

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บ่มเพาะสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ปี 2564-2565 เป็นปีที่ท้าทายสำหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพราะต้องเผชิญกับวิกฤติ 3 ด้าน สถานการณ์โรคระบาดโควิด-19 ความเหลื่อมล้ำและการพัฒนาสังคมกับการเมือง

8 ปัจจัยที่เอื้อต่อผลสำเร็จ ในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชน ของระบบสุขภาพไทย

นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ ประธานกรรมการมูลนิธิแพทย์ชนบท เจ้าของรางวัลผู้นำสาธารณสุข มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เผยแพร่บทความเรื่อง 8 ปัจจัยที่เอื้อต่อความสำเร็จในการปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิและชุมชนของระบบสุขภาพไทย มีเนื้อหาดังนี้

กีฬานักเรียนอปท.ครั้ง38 'ท่าโขลงเกมส์' สร้างมาตรฐานการแข่งขัน ผลิตนักกีฬาอาชีพ

เทศบาลเมืองท่าโขลง ประกาศความพร้อมจัดศึกกีฬานักเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ 38 รอบคัดเลือก ระดับภาคกลาง “ท่าโขลงเกมส์ 2024” อย่างยิ่งใหญ่ ชิงชัย 11 ชนิดกีฬา ระดมสนามแข่งกว่า 100 สนาม พร้อมรองรับทัพนักกีฬาจากทั่วภาคกลางที่จะมาร่วมชิงชัยระหว่าง 14-23 พฤษภาคมนี้ หวังสร้างมาตรฐานการแข่งขันทัดเทียมระดับประเทศ เป็นบันไดในการผลิตนักกีฬาอาชีพสู่ระดับสากลในอนาคต

กรุงเทพโปรดิ๊วส นำระบบตรวจสอบย้อนกลับข้าวโพด หนุนปฏิบัติการ 9 มาตรการของรัฐบาล สู้วิกฤตฝุ่น PM 2.5 บูรณาการพลังคู่ค้าพันธมิตร และคนไทยหยุดเผาแปลง

การจัดการปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งเป็นวาระเร่งด่วนระดับประเทศ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนตามที่นายกรัฐมนตรีเศรษฐา ทวีสิน

'ผู้ว่าฯ เชียงใหม่' นั่งไม่ติด! นำทีมแจงมาตรการปราบฝุ่น PM2.5

นิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในการปฏิบัติการทางการแพทย์และบริการสาธารณสุข