'ผู้เชี่ยวชาญ' เปรียบความแตกต่าง 'ปลาหมอคางดำ' กับ 'ปลานิล'

19 ก.ค.2567 - นายนิธิพัฒน์ พันธุ์ธุมจินดา นักธุรกิจ ฟาร์มปลาสวยงาม โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวถึงความแตกต่างของ ปลาหมอคางดำ กับ ปลานิล ว่า

มีเพื่อนหลายท่านอาจจะคิดว่าปลาหมอคางดำเป็นสัตว์ต่างถิ่นชนิดรุกรานร้ายแรง เพราะเป็นปลาชนิดที่กินปลากินกุ้ง

แต่จริงๆแล้ว อาหารหลักของปลาหมอคางดำก็ไม่ได้ต่างจากปลานิลมากนัก โดยปลานิลวัยเด็กนั้นก็จะกินทั้งพืชและสัตว์ชนิดเล็กๆ ก่อนจะปรับรสนิยมมากินพืชเป็นหลักในวัยโต

ส่วนปลาหมอคางดำจะกินพืชและสัตว์ตลอดชีวิต แต่สัตว์ที่เลือกกินส่วนใหญ่ก็เป็นสัตว์ชนิดเล็กเข่นลูกกุ้งลูกปลาและสัตว์เซลเล็กๆในธรรมชาติ

ธรรมชาติของปลานิลจะกินอาหารในเวลากลางวันคล้ายๆกับปลาทั่วๆไป ในขณะที่ปลาหมอคางดำจะมีพฤติกรรมประหลาดคือกลางวันกินบ้างแต่กลางคืนกินหนัก

ปัญหาการรุกรานหนักและรุนแรงของปลาหมอคางดำจริงๆจึงไม่ใช่การไล่กินปลากันอย่างที่เข้าใจ แต่เป็นปลาที่มีอัตราการขยายสายพันธุ์รวดเร็ว พ่อและแม่ต่างช่วยกันอมไข่ลูกจึงมีอัตรารอดสูง เพิ่มจำนวนมหาศาลได้ในเวลาอันรวดเร็ว

และรุกรานระบบนิเวศด้วยการแย่งอาหารและถิ่นอาศัยของปลาและสัตว์น้ำชนิดอื่นๆได้ภายในเวลาที่รวดเร็ว

ที่ฟาร์มกุ้งฟาร์มปลาวินาศกันเป็นแถบๆก็เพราะอีคางดำไปที่ไหนก็เพิ่มจำนวนรวดเร็วแย่งเขากินไปทุกที่ ยิ่งกุ้งที่เป็นสัตว์กินอาหารช้า ก็จะโดนแย่งกินอาหารหมด จนถ้ากุ้งไม่อดตายก็ต้องกินกันเอง

และที่น่าสะพรึงที่สุดก็คือ ปลาหมอคางดำชอบอาศัยอยู่ในน้ำกร่อย แต่ก็ไมใช่ว่าจะอาศัยในน้ำจืด หรือชายฝั่งทะเลไม่ได้ การแพร่ระบาดรุกรานของปลาชนิดนี้จึงสามารถกระจายได้ในหลายพื้นที่และหลายแหล่งน้ำกว่าปลาชนิดอื่นๆ

คำถามที่ได้ยินบ่อยๆว่าทำไมปลานิลไม่รุกรานรุนแรงเหมือนปลาหมอคางดำ เพราะเห็นได้ชัดว่าสังคมเราอยู่ร่วมกับปลานิลมาร่วมห้าสิบปีไม่ได้มีปัญหาอะไรร้ายแรงเหมือนอยู่กับอีคางดำนี้มาแค่ไม่กี่ปี

ปัจจัยหลักๆเลยก็คือ ปลานิลที่หลุดรอดจากการทำฟาร์มเลี้ยงหรือมีคนใจบุญนำมาปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติกันนั้น

เป็นปลาเพื่อการบริโภคที่พัฒนาและควบคุมให้เจริญเติบโตเร็ว เนื้อเยอะ

ซึ่งก็จะเป็นปลาที่ผ่านกระบวนการสำคัญตั้งแต่เด็กที่ทำให้

เป็นปลาตัวผู้เกือบจะร้อยเปอร์เซนต์ น้อยตัวมากๆที่จะหลุดมาเป็นตัวเมีย

ที่เขาทำอย่างนั้น ก็เพราะปลานิลตัวผู้นั้นตัวใหญ่โตเร็วเนื้อเยอะกว่าปลาตัวเมียมากครับ

หวังว่าบทความนี้จะทำให้เพื่อนๆรู้จักปลาสองชนิดนี้มากขึ้นนะครับ.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รัฐบาลงัดเทคโนโลยีทำหมันปลา จัดการ 'หมอคางดำ'

เปิดมาตรการเชิงรุกขจัดปัญหา “ปลาหมอคางดำ” ระยะเร่งด่วน ตั้งเป้า 3 ล้าน กก. หนุนแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ ดึงงานวิจัยและนวัตกรรม “ชุดโครโมโซม 4N” ทำหมันปลา

'เฉลิมชัย' เข้มสั่ง ทส. จัดการ 'ปลาหมอคางดำ' ต่อเนื่อง

“เฉลิมชัย” สั่งกำชับ ทส.แก้ปัญหา “ปลาหมอคางดำ”เข้มข้น ย้ำทำมาต่อเนื่อง ให้ประสานประมง-ท้องถิ่น เร่งแผนควบคุม-กำจัด พร้อมติดตามประเมินผลใกล้ชิด

ประมงนครฯ และสุราษฎร์ฯ ยันปลาหมอคางดำเบาบางลง หลังมาตรการได้ผล เดินหน้าต่อ จับมือ CPF ปล่อยปลาผู้ล่าลดปริมาณปลาในระยาว

ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช และประมงจังหวัดสุราษฎร์ธานี โชว์มาตรการปราบปลาหมอคางดำได้ผลดีทั้งสองจังหวัด หลังสำรวจพบปลาหมอคางดำเบาบางลง พร้อมเดินหน้ามาตรการต่อเนื่องทันที ด้านบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ หนุนอีก 3