26 มิ.ย.2567 - นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง การแบ่งปันคาร์บอนจากป่า กลุ่มทุนได้คาร์บอนด์เสริม รัฐได้เพิ่มป่า ชาวประชาได้อะไร?... มีเนื้อหาดังนี้
1.ประเทศไทยได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีความตกลงปารีส ซึ่งมีเป้าหมายร่วมกันเพื่อควบคุมการเพิ่มของอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกให้ต่ำกว่า 2 องศาเซลเซียส และมุ่งพยายามควบคุมการเพิ่มขึ้นของอุณห ภูมิไม่ให้เกิน 1.5 องศาเซลเซียส โดยมีเป้าหมายที่จะลดก๊าซเรือนกระจกลงให้ได้ถึง ร้อยละ 20 - 25 ภายในปี พ.ศ. 2573
2.ในปี2564 กระทรวงทรัพย์ฯ ได้ออกระเบียบเกี่ยวกับการแบ่งปันคาร์บอนเครดิต เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนสนับสนุนการปลูกป่าในพื้นที่ป่าของรัฐ มีการพัฒนาผ่านโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Progra m) เรียกย่อว่า T-VER
3 ข้อมูลของกรมป่าไม้พบว่าในช่วงปี 2565 -2566 ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มีภาคเอก ชนเข้าร่วมโครงการปลูกฟื้นฟูป่าเพื่อชด เชยคาร์บอนถึง 12 บริษัท และปลูกป่าไปแล้วเกือบ 3 แสนไร่. และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้กำหนดเป้าหมายการดำเนินงานโครงการปลูกป่าชายเลนเพื่อคาร์บอนเครดิตในระยะ10 ปี จำนวน 300,000 ไร่ (พ.ศ. 2565-2574)
4.ในการประชาพิจารณ์ให้ความเห็นต่อร่างพรบ.เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ได้มีความเห็นและข้อมูลในพื้นที่จริงจากพี่น้องประชาชนที่น่าสนใจ ได้แก่..
4 1.ในสัญญาการแบ่งปันผลประโยชน์ในคาร์บอนเครดิตระหว่างชุมชนกับบริษัทในหลายพื้นที่ พบว่าการแบ่งผลประโยชน์จากการขายคาร์บอนเครดิตของป่าชายเลน บริษัทจะได้ถึง 70% ชุมชนได้ 20% หน่วยงานรัฐได้ 10% ซึ่งเป็นระบบจัดสรรผลประโยชน์ที่ไม่เป็นธรรม กลุ่มทุนเหล่านั้นไม่ได้ปลูกป่าเอง ชุมชนดูแลรักษาป่าชายเลนกันมาหลายสิบปี จนเป็นป่าที่สมบูรณ์ ต้นไม้โตแล้วสามารถนำไปขายคาร์บอนเครดิตได้เลย อยู่ๆ สิทธิในการรักษาป่า การใช้ประโยชน์จากป่า หรือแม้กระทั่งประโยชน์การขายคาร์บอนเครดิต รัฐกลับมอบให้อยู่กับกลุ่มทุน แบบนี้เป็นการชุบมือเปิบหรือไม่ มีคำถามว่าทำไมชาวบ้านที่รวมตัวกันเป็นคณะกรรมการป่าชุมชนไม่สามารถขายคาร์บอนเครดิตได้โดยตรง นี่เป็นวิธีการแย่งยึดฐานทรัพยากรของชุม ชนให้กับกล่มทุนโดยภาครัฐอย่างเห็นได้ชัด
4.2 ภาคประชาชนให้ความเห็นว่า การซื้อขายคาร์บอนเครดิตเป็นการฟอกเขียวโดยการแย่งยึดทรัพยากรของพี่น้องด้วยการที่ภาครัฐยกไปให้กลุ่มทุน ระบบซื้อขายคาร์บอนเครดิตไม่ได้แก้ปัญหาโลกร้อนแต่เป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับกลุ่มทุนที่ก็ยังคงได้สิทธิในการปล่อยมลพิษและก๊าซเรือนกระจกออกสู่สิ่งแวดล้อมโดยตรง ด้วยการสร้างกลไกการตลาดเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทางธุรกิจเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘นักวิชาการ’ ชี้โลกร้อนขึ้น ฤดูหนาวหนาวปากสั่น ฤดูร้อนร้อนเหงื่อตก!
ไม่แน่ฤดูว่าร้อนปี2025..ลานีญาอ่อนกำลังลงเข้าสู่ภาวะเป็นกลางระหว่างลานีญาและเอลนีโญ..ประเทศไทยอาจร้อนสุดขีดก็ได้
นักวิชาการ มีคำอธิบาย 'ทำไม?ประเทศไทยปีนี้จึงหนาวเย็นมากกว่าปกติ'
ความกดอากาศสูงที่กดทับประเทศไทยดังกล่าวทำให้เกิดอากาศปิดหรือมีลักษณะคล้ายฝาชีครอบ แหล่งกำเนิดมลพิษต่างๆที่ปล่อยฝุ่นPM2.5 มาถูกอากาศเย็นหรือมวลความกดอากาศสูงครอบไว้
'นักวิชาการ' จี้ผู้ว่าฯกทม. ฝุ่นPM2.5สูงมาก ควรใช้กฎหมายประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมได้แล้ว
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ฝุ่นPM2.5สูงมาก กทม.ควรใช้กฎหมายในการประกาศเป็น"พื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ" ได้แล้ว..เพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่น
อันตรายที่ต้องระวัง! ‘ดร.สนธิ’ อธิบายทำไมช่วงนี้อากาศเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส แต่แดดแรง
มวลอากาศเย็นหรือความกดอากาศสูงได้แผ่ขยายจากแผ่นดินใหญ่ประเทศจีนลงสู่ประเทศไทยทำให้ประเทศไทยมีอา กาศหนาวเย็นขึ้น
นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..
'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ชี้สัญญาณเตือนโลกกำลังจะเปลี่ยนไป จากอุณหภูมิสูงขึ้น หายนะจะตามมา
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า