19 มิ.ย.2567 - ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ โลกร้อนทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น มีเนื้อหาดังนี้
1.สายการบินแอร์นิวซีแลนด์ เที่ยวบินNZ 607 บินจากเวลลิงตันไปยังควีนทาวน์บินลงทางใต้ของประเทศตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มิถุนายนที่ระยะความสูง 34,000 ฟิตหรือ10,363 เมตร ทำให้มีผู้โดบาดเจ็บ 2 รายโดยรายที่ ถูกน้ำร้อนจากถ้วยกาแฟหกราดลงบนตัวผู้โดย สารผู้หญิงและอีกรายเกิดจากการที่ลูกเรือกระแทกกับผนังของเครื่องบินอย่างรุนแรง
2.สาเหตุมาจากที่เครื่องบินแอร์นิวซีแลนด์ ประสบกับ full on turbulance หรือตก หลุมอากาศ อย่างกะทันหันโดยไม่มีสัญ ญาณบอกเหตุมาก่อนทั้งท้องฟ้าแจ่ม ใส (Clean Air Turbulane)
3. นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมของประ เทศสหรัฐอเมริกาพบว่าเครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงบ่อยขึ้นซึ่งมีความสัม พันธ์โดยตรงจากการที่โลกร้อนขึ้นจึงแนะ นำให้ผู้โดยสารรัดเข็มขัดตลอดเวลาขณะที่นั่งอยู่บนเครื่องเครื่องบินเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ จากการตกหลุมอากาศอย่างกะ ทันหันโดยที่ไม่มีสัญญาณบอกเหตุ
4. ก่อนหน้านั้นสายการบินสิงคโปร์แอร์ไลน์ก็ตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 มีผู้โดยสารเสียชีวิต 1 คนและผู้โดยสาร 79 คนและลูกเรือ 6 คนได้รับบาดเจ็บ จากกรณีที่เครื่องบินตกหลุมอากาศโดยไม่คาดฝันมาก่อนทั้งๆที่ท้องฟ้าแจ่มใส ขณะที่เมื่อวันที่ 26 พค. 2567 สายการบินการ์ต้าแอร์เวย์เที่ยวบิน QR 017 เดินทางจากกรุงโดฮาไปยังไอซ์แลนด์ ตกหลุมอากาศอย่างรุนแรงโดยที่ไม่คาดฝัน ทั้งๆที่ท้องฟ้าแจ่มใสเช่นกัน มีผู้โดยสารบาดเจ็บ 6 คนและลูกเรือบาดเจ็บ 6 คน
5. การที่โลกมีอุณหภูมิสูงขึ้นทำให้กระแสลมในระดับสูงที่เครื่องบินใช้เป็นเส้นทางบินมีความเร็วลดลงในบางขณะบางช่วงทั้งที่ท้องฟ้าแจ่มใส เหมือนกับการที่ขับรถมา บนทางที่ราบเรียบแล้วมาเจอทางขรุขระจึงเกิดการสะเทือนของรถยนต์ เช่นกันเมื่อเครื่องบินบินผ่านกระแสลมที่พัดมาด้วยความเร็วสม่ำเสมอและมาเจอช่วงที่อากาศร้อนขึ้นจึงทำให้ความเร็วของลมลดลงซึ่งมีผลทำให้ความหนาแน่นของมวลอากาศบริเวณดังกล่าวลดลงหรือบางลงด้วยเช่นกันซึ่งก็คือการเกิดอากาศแปรปรวนนั่นเองก็จะทำให้เครื่องบินที่บินผ่านเกิดการสั่นสะเทือน เมื่อมวลอากาศบางลงจะทำให้แรงโน้มถ่วงของโลกหรือค่าgจะฉุดเครื่องบินให้ตกลงมาซึ่งก็คือการตกหลุมอากาศ นักบินจึงต้องขับเครื่องบินขึ้นให้พ้นแรงดึงดูดของโลกและให้พ้นอากาศที่แปรปรวนต่อไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'นักวิชาการ' จี้ผู้ว่าฯกทม. ฝุ่นPM2.5สูงมาก ควรใช้กฎหมายประกาศเป็นพื้นที่ควบคุมได้แล้ว
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า ฝุ่นPM2.5สูงมาก กทม.ควรใช้กฎหมายในการประกาศเป็น"พื้นที่ควบคุมเหตุรำคาญ" ได้แล้ว..เพื่อควบคุมแหล่งกำเนิดฝุ่น
อันตรายที่ต้องระวัง! ‘ดร.สนธิ’ อธิบายทำไมช่วงนี้อากาศเย็น ท้องฟ้าแจ่มใส แต่แดดแรง
มวลอากาศเย็นหรือความกดอากาศสูงได้แผ่ขยายจากแผ่นดินใหญ่ประเทศจีนลงสู่ประเทศไทยทำให้ประเทศไทยมีอา กาศหนาวเย็นขึ้น
นักวิชาการ เตือนคนกรุงฝุ่น PM 2.5 สูงมาก อากาศข้างนอกเย็นสบาย แต่ออกไปอาจป่วยตายได้
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้โพสต์เฟซบุ๊กระบุว่า กรุงเทพฯช่วงนี้ อากาศข้างนอกเย็นสบายแต่ออกไปอาจป่วยตายได้..
อย่าประมาท! ดร.ปลอดฯ แนะโลกร้อน อุทกภัยมีแต่รุนแรงขึ้น ไทยต้องคิดแบบมีองค์ความรู้
เราอยู่ในยุคโลกร้อน และก็อาจจะอยู่ไปเป็นเวลาร้อยๆปีก็ได้ สิ่งที่จะ เกิดกับประเทศไทยและคนไทยจะมีแต่มากยิ่งขึ้น รุนแรงขึ้น
'ดร.ธรณ์' ชี้อากาศแปรปรวนหนัก ภาคใต้ไม่มีพายุ แต่ปริมาณน้ำฝนเทียบเท่า 'ไต้ฝุ่น'
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โ
'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ชี้สัญญาณเตือนโลกกำลังจะเปลี่ยนไป จากอุณหภูมิสูงขึ้น หายนะจะตามมา
ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก ว่า