'นักวิชาการ' แฉต้นเหตุกากอุตสาหกรรมไทยกระจายทั่วชุมชน ไร้หน่วยงานรับผิดชอบ

14 มิ.ย.2567 - ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความ เรื่อง กากอุตสาหกรรมไทย..กระจายทั่วชุมชนเพราะอะไร.. มีเนื้อหาดังนี้

... ตั้งแต่ปี1980ประเทศจีนกลายเป็นถังขยะของโลกหรือ“foreign trash”เพราะยินยอมรับขยะอันตรายจากทั่วโลกเข้ามารีไซเคิลโดยพบว่าในปี 2012 มีขยะพลาส ติกที่ส่งออกจากประเทศตะวันตกเข้าสู่ประเทศจีนถึงร้อยละ56จากการส่งออกทั่วโลก

1.ขยะพิษเหล่านี้เป็นดาบ2 คมคือสามารถทำรายได้ให้แก่ประชากรในประเทศสูงมากเฉลี่ยเดือนละ20000-30000บาทต่อครอบครัว แต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสขภาพของประชาชน เช่น ในแม่น้ำ,ลำคลองได้รับการปนเปื้อนด้วยโลหะหนักและเศษพลาสติขนาดเล็กที่ต้องใช้เวลาในการย่อยสลายมากกว่า400ปี ,
ไอพิษจากโลหะหนักที่เกิดจากการหลอมพลาสติกชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น

2.เมืองกุ้ยหยูในมณฑลกวางตุ้งตอนใต้ของประเทศจีนได้ชื่อว่าศูนย์กลางในการรีไซเคิล electronics waste จากต่างประ เทศ ตั้งแต่ปี2003เป็นต้นมา มีประชาชนมากกว่า6,000ครอบครัวเป็นเจ้าของธุรกิจรีไซเคิลในครัวเรือนซึ่งจากการสอบสวนโรคพบว่าร้อยละ 80ของเด็กเล็กที่อาศัยในเมืองนี้มีระดับตะกั่วในเลือดเกินค่ามาตร ฐานจนถึงเป็นอันตรายต่อชีวิต

3.รัฐบาลกรุงปักกิ่งได้ประกาศ BANขยะพิษ 24ชนิดห้ามนำเข้าประเทศจีนโดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เริ่มต้นปีใหม่ของปี2018 โดยขยะพิษดังกล่าวจะรวมถึง ซากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์, ชิ้นพลาสติก, เศษผ้าหรือกระดาษที่ปนเปื้อน และ polyethylene terephthalate (PET) เกรดต่ำที่ใช้ทำขวดน้ำพลาสติก เป็นต้นรวมทั้งสั่งให้กำหนดมาตรฐานสินค้าที่จะนำเข้ามารีไซเคิลใหม่ทั้งหมด

4. รัฐบาลจีนได้แจ้งไปยังองค์การค้าโลก (World Trade Organization,WTO)ว่าประ เทศจีนต้องการปกป้องสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในประเทศจาก"highly polluted" materialถึงแม้ขยะสกปรกและขยะอันตรายที่ผสมอยู่ในมูลฝอยเหล่านี้จะสามารถนำไปใช้เป็นวัตถุดิบได้ แต่มีอัน ตรายต่อสิ่งแวดล้อมมากเกินไปที่ประเทศจีนจะรับได้ จึงขอระงับการนำเข้าทั้งหมดภายในสิ้นปี 2017

5.ประเทศที่เดือดร้อนที่สุดคือ ประเทศที่ส่งออกขยะพิษไปประเทศจีนคือ สหรัฐอ เมริกา แคนาดา ออสเตรเลียและกลุ่มสห ภาพยุโรปได้ร้องเรียนไป WTO แต่ประ เทศจีนยืนกรานห้ามนำขยะพิษดังกล่าวเข้าประเทศเด็ดขาด ดังนั้นขยะพิษที่เกิดขึ้นจากประเทศเหล่านี้จึงมุ่งหน้ามายังประ เทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้ต่อไป

6.สาเหตุที่มีขยะพิษทะลักเข้าประเทศไทยได้ง่าย อาจมาจากจุดอ่อนของประเทศ ไทยเอง กล่าวคือ

6.1.ประเทศไทยยินยอมให้นำอุปกรณ์ไฟ้าและชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิคส์และขยะพลาสติกเข้ามาเพื่อการคัดแยกหรือแปรสภาพได้ แต่ต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาบาเซล เช่น ประเทศต้นทางที่ส่งออกส่วนใหญ่ซึ่งเป็นพ่อค้าชาวจีนและฮ่องกงต้องแจ้งรายละเอียดและขอความยินยอมจากกรมโรงงานฯก่อน ถ้ายินยอมจึงจะสามารถนำเข้าได้ทั้งนี้การนำเข้าดังกล่าวไม่ต้องเสียภาษีนำเข้าอีกด้วย

6.2.ด่านศุลกากรที่ท่าเรือแหลมฉบังและกรุงเทพไม่ได้ตรวจตู้คอนเทนเนอร์ทุกตู้ เพียงแต่ทำการสุ่มตรวจบางตู้เท่านั้น ทำ ให้มีขยะพิษปะปนมากับสินค้านำเข้าที่ไม่ต้องขออนุญาตจากกรมโรงงานฯ

6.3.เมื่อปล่อยตู้คอนเทนเนอร์ออกจากด่านแล้วไม่มีการตามไปดูว่าสินค้าดังกล่าวไปโรงงานหรือที่ใด

6.4.โรงงานคัดแยกของเสียอุตสาหกรรมหรือประเภท105และโรงงานรับรีไซเคิลหรือประเภท106 สามารถตั้งได้ง่ายมากโรงงานที่รับรีไซเคิลขยะพิษเหล่านี้ไม่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA)เพราะไม่อยู่ในประกาศของสผ. รวมทั้งยังสามารถตั้งที่ไหนก็ได้โดยไม่มีผังเมืองบังคับ เนื่องจากมีคำสั่งคสช. ฉบับที่ 4/2559เรื่อง การยกเว้นการใช้บัง คับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมสำ หรับการประกอบกิจการบางประเภทให้รวมถึงโรงงานประเภท 105และ106ด้วยโดยมีผลใช้บังคับทันทีตั้งแต่วันที่ 20 มก ราคม 2559 เป็นต้นไป จะเห็นได้ว่ามีโรง งานดังกล่าวจำนวนมากตั้งในพื้นที่สีเขียวและติดกับชุมชนจนกว่าจะได้มีการเปลี่ยนสีผังเมือง..มีการอนุญาตโรงงานหรือสถานประกอบการขนาดเล็ก ประสิทธิภาพต่ำตั้งได้กระจายทั่วไทย..

6.5.ความหย่อนยานของเจ้าหน้าที่รัฐในการติดตามตรวจสอบโรงงานที่รับรีไซเคิลขยะพิษดังกล่าว ทำให้ง่ายต่อการทำงานของผู้ประกอบกิจการฯที่ผิดกฏหมาย สุดท้ายกากของเสียที่เหลือจากการรีไซ เคิลก็ไปอยู่ในกองขยะเทศบาลหรือฝังอยู่ใต้ดินปนเปื้อนทั้งสารเคมีและสารโละหนักในดิน ในน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินต่อไป

6.6.เมื่อมีปัญหาขยะพิษถูกนำเข้ามาอยู่ในประเทศจำนวนมากประกอบการจัดกากอุตสาหกรรมในประเทศมีช่องโหว่รวมทั้งการอนุญาตให้สถานประกอบการสีเทาที่รับรีไซเคิลกากอุตสาหกรรมเกิดขึ้นได้ง่ายจนเกิดการทิ้งกากในที่สาธารณะ,การเผาทำลายกากผิดกฎหมาย,การนำกากฝังกลบในพื้นที่โรงงานหรือบ่อดินชุมชนเป็นข่าว..ก็จะมีการตรวจสอบเป็นกรณีๆไป

..ไม่มีหน่วยงานไหนแสดงความรับผิดชอบในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่จะอ้างกฎหมายระเบียบไม่อำนวย การขาดกำลังคน เป็นต้น..วนเวียนไป

 

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'นักวิชาการ' ย้อนถาม การแบ่งปันคาร์บอนจากป่า กลุ่มทุนได้คาร์บอนด์เสริม ชาวประชาได้อะไร

นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง การแบ่งปันคาร์บอนจากป่า กลุ่มทุนได้คาร์บอนด์เสริม รัฐได้เพิ่มป่า ชาวประชาได้อะไร?... มีเนื้อหาดังนี้

คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ คนไทยกำลังจะต้องเสียภาษีคาร์บอนเพิ่มขึ้นอีกรายการ...เพื่อช่วยกันลดโลกร้อน มีเนื้อหาดังนี้

'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ตอกย้ำ โลกร้อนทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก หัวข้อ โลกร้อนทำให้เครื่องบินตกหลุมอากาศบ่อยขึ้น มีเนื้อหาดังนี้

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมไขปริศนา โลกร้อนขึ้น โอกาสเครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กว่า โลกร้อนขึ้น โอกาสที่เครื่องบินจะตกหลุมอากาศมากขึ้น..เพราะอะไ?

'นักวิชาการสิ่งแวดล้อม' ตั้งข้อสังเกต 5 ข้อ ไฟไหม้ถังสารเคมี แนะทบทวนแผนป้องกันอุบัติภัย

ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊กถึงเหตุไฟไหม้ถังสารเคมีที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ว่า