เวียนเทียนด้วยต้นไม้ วันวิสาขูชา ลดฝุ่น PM2.5

วันวิสาขบูชาถือเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล ชาวพุทธทั่วโลกร่วมกันทำบุญ เจริญภาวนา และเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ พระไพศาล วิสาโล เจ้าอาวาสวัดป่าสุคะโต อ.แก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ และประธานมูลนิธิปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะ เนื่องในโอกาสวันวิสาขบูชานี้ มูลนิธิปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะ ร่วมกับ สสส. กรุงเทพมหานคร กรมป่าไม้ และกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรม “เวียนเทียนด้วยต้นไม้ ลดฝุ่น” เชิญพุทธศาสนิกชนร่วมเวียนเทียนด้วยต้นไม้แทนการจุดธูปเทียน ลดมลพิษฝุ่น PM 2.5 เพิ่มพื้นที่สีเขียว สืบสานประเพณีที่ดีงาม ในวันที่ 22 พ.ค. 2567 ที่วัดใกล้บ้านกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ

“ การปลูกต้นไม้ ในทางพุทธเรียกว่า สร้างถิ่นรมณีย์ พื้นที่สีเขียวที่ให้ความร่มรื่นที่มีผลดีต่อสุขภาพกายและใจ กิจกรรมเวียนเทียนด้วยต้นไม้ประยุกต์ให้เหมาะสมกับยุคสมัยและเกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นการแสดงความเคารพต่อพระพุทธเจ้า และระลึกถึงคุณของต้นไม้ไปพร้อมกัน หลังเวียนเทียนสามารถนำต้นไม้ไปปลูกที่บ้าน วัด หรือสวนสาธารณะใกล้บ้าน เพื่อเป็นการบูชาคุณพระพุทธเจ้า และเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง หากทุกคนมาร่วมเวียนเทียนด้วยต้นไม้จะเป็นการทำบุญวิถีใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อโลกที่กำลังเผชิญภาวะวิกฤตติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์www.treefordhamma.org และเฟซบุ๊กแฟนเพจ ปลูกต้นไม้ปลูกธรรมะ” พระไพศาล กล่าว

นายพงษ์ศักดิ์ ธงรัตนะ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส. เห็นความสำคัญเรื่องการดูแลสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ การร่วมมือเปลี่ยนแปลงเพื่อทำให้วัดเป็นสัปปายะสถานที่รื่นรมย์ด้วยต้นไม้และอากาศบริสุทธ์ถือเป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ที่ผ่านมา สสส. ดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่าย คณะพระสงฆ์ ฝ่ายสาธารณูปการของมหาเถรสมาคม พัฒนาโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข การรณรงค์เวียนเทียนด้วยต้นไม้ นอกจากเป็นการลดปริมาณขยะและมลพิษจากควันธูปเทียนซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพของพระสงฆ์และผู้เวียนเทียนเอง ยังส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในวัดหรือสถานธรรมสาขาของวัดอีกด้วย

ดร.ชาติวุฒิ วังวล ผอ.สำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า ไทยกำลังเผชิญปัญหาวิกฤตฝุ่น PM2.5 ในระดับที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อสุขภาพ ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากการเผาไหม้ในที่โล่ง รวมถึงการจุดธูปและเทียน จากข้อมูลควันธูปกับมะเร็ง โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปี 2566 พบว่า หากจุดธูป 1 ดอก จะทำให้ฝุ่น PM2.5 เพิ่มขึ้น 2-10 เท่าของฝุ่นที่มีอยู่แล้วในอากาศซึ่งขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมของสถานที่ ทำให้ผู้ที่จุดธูปได้รับผลกระทบต่อสุขภาพโดยตรง กระตุ้นให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) การเวียนเทียนด้วยต้นไม้ ลดฝุ่น ถือเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างค่านิยมทำบุญวิถีใหม่ลดการจุดธูปและเทียนภายในศาสนาสถาน มุ่งเป้าขยายผลความร่วมมือเพื่อให้วัดทั่วประเทศจัดกิจกรรมเวียนเทียนด้วยต้นไม้ทุกวันสำคัญทางศาสนา สำหรับศาลเจ้าจัดกิจกรรมลดการใช้ธูปลง ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปลูกต้นไม้ เพิ่มพื้นที่สีเขียว ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศและเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

นายเผด็จ พวงจำปา ผอ.ส่วนจัดการทรัพยากรต้นน้ำ สำนักอนุรักษ์และจัดการต้นน้ำ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กล่าวว่า กรมอุทยานแห่งชาติฯ มุ่งสร้างความตระหนัก สร้างจิตสำนึก ให้ชุมชนมีจิตอาสาร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การเวียนเทียนด้วยต้นไม้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการปลุกจิตสำนึกให้ชุมชนมีความรู้สึกรักษา หวงแหน และเกิดการมีส่วนร่วมรักษาสมดุลของระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมวันวิสาขบูชาเป็นวันต้นไม้ประจำปีของชาติ กรมอุทยานแห่งชาติฯ ร่วมกับวัด 28 แห่ง กระจายอยู่ 19 จังหวัดทั่วประเทศ ขอเชิญชวนประชาชนช่วยกันปลูกต้นไม้ 1 ต้น โดยนำต้นไม้ที่เวียนเทียนนำไปปลูกต่อเพื่อให้เรามีสิ่งแวดล้อมที่ดีส่งต่อให้กับรุ่นต่อไป

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

"สิทธิในอาหาร..เพื่อชีวิตที่ดี" ทุกภาคส่วนต้องร่วมผลักดัน

องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) กำหนดให้วันที่ 16 ต.ค.ของทุกปี เป็นวันอาหารโลก (World Food Day) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงสิทธิในอาหาร

สสส. ทำถึง กวาด 14 รางวัลสื่อสาร จากแอด พีเพิล อวอร์ส 2567 ผ่าน 5 ผลงาน สื่อสารการตลาดเพื่อสังคม “Walk Stadium” “หมวกกันน็อกคืนชีพ” “แอร์ล้างได้ปอดล้างไม่ได้” “พวงเครื่องปรุงจิ๋ว” “การเดินทางของบุหรี่”

น.ส.สุพัฒนุช สอนดำริห์ ผู้อำนวยการสำนักอาวุโส สำนักสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ผลงานโฆษณาและการสื่อสารการตลาดเพื่อสังคม สสส. ได้รับรางวัลแอด พีเพิล อวอร์ส 2567

ต่อยอด! ติดอาวุธสมองป้องกัน ความเสี่ยงภัยบนโลกไซเบอร์

ผลสำรวจปี 2567 คนไทยใช้อินเทอร์เน็ตมากถึง 88% ของประชากรทั้งหมด และส่วนใหญ่ใช้งานนานเกือบ 8 ชั่วโมงต่อวัน แสดงให้เห็นว่าเราใช้เวลาเกือบ 1 ใน 3 ท่องโลกอินเทอร์เน็ต

โชว์ต้นแบบรถยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ลดฝุ่นอากาศสะอาดทุกลมหายใจ

"อากาศบริสุทธิ์ใน กทม.เป็นจริงได้ ด้วยจุดเปลี่ยนร่วมมือร่วมใจ ให้เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้" ด้วยแนวคิดข้างต้น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ทำความรู้จัก “เชื้อดื้อยา” จากผลงานประกวดภาพวาดการ์ตูนคอมมิค

การสื่อสารในประเด็น “เชื้อดื้อยา”เพื่อให้คนส่วนใหญ่ รับรู้ เข้าใจ ถึงผลกระทบ และร่วมกันป้องกัน เป็นเรื่องที่องค์กรที่ทำงานด้านนี้ได้พยายามทำมาอย่างต่อเนื่อง