8 พ.ค.2567- ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
ฝนตกลงมาแล้ว จะช่วยปะการังได้แค่ไหน ? จึงมาอธิบายปัจจัยปะการังฟอกขาวที่สัมพันธ์กับฝน
ลองสังเกตภาพ จะเห็น 4 ปัจจัยหลัก ตัวอักษรไม่เท่ากันตามความสำคัญ
น้ำร้อน - นั่นคือสาเหตุหลัก น้ำร้อนเกิน 30.5-31 องศาต่อเนื่องกัน 3-4 สัปดาห์ ปะการังเริ่มแสดงอาการฟอกขาว
ฝนตกช่วยได้ไหม ? คำตอบคือได้นิดหน่อย แต่น้ำร้อนอาจเกี่ยวข้องกับความแปรปรวนของโลกร้อน เช่น marine heatwave ฯลฯ
ฝนช่วยได้บ้าง แต่น้ำฝนน้อยมากเมื่อเทียบกับปริมาณน้ำทะเล ในที่ลึกแทบไม่มีผล ยกเว้นในบริเวณชายฝั่งน้ำตื้น ฝนอาจช่วยได้มากขึ้น
แสงแดด - ปะการังที่อ่อนแอและใกล้ฟอกขาวจะเกลียดแดดแรง ฝนช่วยตรงนี้ได้ หรือแม้กระทั่งฝนไม่ตก เมฆเต็มฟ้าก็ช่วยบังแดดได้เยอะ
เรามีแนวคิดช่วยสร้างที่บังแดด shading ให้ปะการัง เมฆเต็มฟ้าคือ shading ธรรมชาติ แต่ต้องต่อเนื่องนานๆ ไม่ใช่มาวันเว้นไปหลายวัน
น้ำนิ่ง - หากน้ำร้อนแช่นาน ปะการังยิ่งแย่ ช่วงนี้เราต้องการน้ำไหลไปมา
คิดง่ายๆ ก็เหมือนพวกเรา อากาศร้อนอ้าว ลมนิ่ง มีพัดลมหรืออยู่ในที่อากาศถ่ายเทย่อมดีกว่า (ปะการังไม่มีแอร์ )
ลมที่มาพร้อมกับฝนช่วยให้เกิดคลื่น น้ำกระเพื่อม เรื่องนี้มีส่วนช่วยได้ แต่ถ้าแรงมากเป็นพายุฤดูร้อน อย่างนั้นก็อาจทำปะการังหักพัง
น้ำลงต่ำ - น้ำยิ่งลงต่ำยิ่งร้อนจัด หากลงต่ำจนแห้ง ปะการังตากแดดแรง อันนี้คือฟางเส้นสุดท้ายบนหลังลา
ในกรณีนี้ฝนให้ได้ข้อดีและข้อเสีย ถ้าน้ำลงแต่ไม่ต่ำเกินไป ฝนช่วยบังแดดลดอุณหภูมิน้ำ
แต่ถ้าตกช่วงน้ำแห้งปะการังโผล่ น้ำฝนคือน้ำจืด อาจทำให้ความเค็มเปลี่ยนฉับพลัน ปะการังแย่เหมือนกันฮะ
อื่นๆ - ฝนอาจพาตะกอนจากชายฝั่งลงทะเล ซ้ำเติมปะการังมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะตะกอนจากการเปิดหน้าดิน ฯลฯ
ปัญหานี้มักเกิดตามเกาะที่ฝนตกน้ำไหลลงแนวปะการังโดยตรง
ทั้งหมดนั้นคือเรื่องฝนกับปะการังฟอกขาว สรุปง่ายๆ คือมีฝนย่อมดีกว่า แต่ถ้ามาเป็นวูบก็อาจช่วยอะไรไม่ได้มาก ต้องมาต่อเนื่องแทบทุกวัน
นอกจากนี้ โลกร้อนทำให้อุณหภูมิน้ำทะเลโดยรวมสูงขึ้นจนทำลายสถิติ ฝนอาจช่วยในกรณีนี้ไม่ได้
พวกเราช่วยได้มากกว่า มาช่วยกันลดโลกร้อนและดูแลแนวปะการังยามอ่อนแอ อย่าให้อาหารปลา อย่ากินปลานกแก้ว/ฉลาม ลดขยะให้มากสุด
หวังว่าเพื่อนธรณ์คงเพลิดเพลินกับเลคเชอร์เรื่องฝนและปะการังฟอกขาวนะฮะ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดร.ธรณ์ ชี้โลกร้อนฆ่าพะยูน ตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว แนะไทยควรพูดใน COP29
ในอดีตพะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 1 ตัว ปัจจุบัน (2566-67) พะยูนตายเฉลี่ยเดือนละ 3.75 ตัว
โลกร้อนส่งผล ยอดฟูจิ ไม่มีหิมะ ดร.ธรณ์ ชี้เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านนิเวศทางทะเล โพสต์ว่า มาถึงวันนี้ ฟูจิซังก็ยังไม่มีหิมะ ไม่ใช่แค่ครั้งแรกในรอบ 130 ปี ถือเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำ
ดร.ธรณ์ แจ้งพายุ ‘จ่ามี’ อีสานล่างโดนแล้ว ‘อุบลฯ’ มาแต่เช้า เคลื่อนเข้า ‘โคราช-ขอนแก่น’
ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม
'โลกร้อน-โลกเดือด'! กระทบ 'พะยูน' เข้าใกล้จุดสูญพันธุ์
เป็นที่รับรู้กันมานานแล้วว่า พะยูนเป็นสัตว์ทะเลหายาก มีความเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ แต่สถานการณ์ปัจจุบันยิ่งทำให้พะยูน ก้าวข้าม
'ดร.ธรณ์' ดึงสติ ไม่ต้องตื่นตระหนกพายุลูกใหญ่ถล่ม หากมาจริงจะแจ้งล่วงหน้า
ผศ.ดร.ธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นักวิชาการด้านทะเลและสิ่งแวดล้อม อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า