การใช้พลังงานจากฟอสซิล ถูกจัดให้เป็นตัวการหลักของการทำให้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภาวะโลกร้อน ทำให้เทรนด์ของโลกจึงมุ่งเป้าไปที่การใช้”พลังงานสะอาด” ที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศจนเกิดก๊าซเรือนกระจก โดยการประชุมครั้งล่าสุด “COP26” นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ย้ำความสำคัญสูงสุดที่ไทย ต้องแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประกาศยกระดับการดำเนินการของไทย โดยประกาศเป้าหมายที่ไทยจะบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2050
ล่าสุดประเทศไทย กำลังมีการเคลื่อนไหวครั้งสำคัญ ที่มุ่งไปสู่การใช้พลังงานสะอาด ซึ่งอาจเป็น”จุดเปลี่ยน”การใช้พลังงานของประเทศไทยในอนาคต โดยไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และหน่วยงานชั้นนำอีก 3 แห่งทั้งของไทยและสหรัฐอเมริกาได้แก่ Bloom Energy, ATE และ เอ็กโก กรุ๊ป ได้มีการจับมือพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานไฮโดรเจน เปิดทางสู่พลังงานทางเลือกใหม่ ที่จะสนับสนุนการลดคาร์บอนของไทย เพื่อไปสู่เป้าหมาย Carbon Neutrality”
โดยเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา Mr.John D. Breidenstine อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายพาณิชย์ Mr.Edwin C. Sagurton ที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การใช้พลังงานที่ไม่ทำให้เกิดคาร์บอนไดออกไซด์ (Decarbonization) และพัฒนาพลังงานไฮโดรเจน ด้วยเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงชนิดออกไซด์แบบแข็ง (Solid Oxide Fuel Cell: SOFC) และเทคโนโลยีแยกน้ำด้วยไฟฟ้า (Solid Oxide Electrolyzer Cell: SOEC) เพื่อสนับสนุนการดำเนินการลดคาร์บอนไดออกไซด์ของประเทศไทยและการเปลี่ยนผ่านไปสู่การใช้ไฮโดรเจน ระหว่าง Mr.Tim Schweikert กรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท Bloom Energy Corporation นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ประธานกรรมการบริษัท เอ ที อี จำกัด นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. และนายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) หรือ เอ็กโก กรุ๊ป ณ ห้องประชุม ชั้น 19 อาคาร 50 ปี กฟผ. สำนักงานใหญ่ กฟผ.
สาระสำคัญของการมุ่งสู่พลังงานสะอาด นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน ประกาศว่า จากเป้าหมายของประเทศไทยว่าจะมุ่งสู่ Carbon Neutrality ภายในปี 2050 กระทรวงพลังงานจึงได้ออกแผนพลังงานชาติ มุ่งเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน และพลังงานสะอาดของโรงไฟฟ้าใหม่ ให้มีสัดส่วนไม่น้อยกว่า 50% พร้อมสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า พัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยีระบบไฟฟ้า เพื่อสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ในระบบไมโครกริด ด้านก๊าซธรรมชาติ เน้นการเปิดเสรีและการซื้อขายเพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับระบบพลังงานของประเทศ พร้อมทั้งวางแผนสร้างสมดุลระหว่างการผลิตภายในประเทศและการนำเข้า LNG เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางตลาดซื้อขาย LNG และด้านน้ำมัน ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านการเปลี่ยนผ่าน เพื่อสร้างสมดุลระหว่างผู้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพและผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า
ด้านกฟผ.ที่จะเป็นหัวรถจักรการขับเคลื่อนแผนพลังงานสะอาด นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ กฟผ. กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าว และด้วยเทคโนโลยีใหม่ SOFC และSOECจะเป็นการพัฒนาและนำไปสู่เทคโนโลยีพลังงานทางเลือกใหม่ที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าในประเทศไทย เพื่อให้เกิดการดำเนินการที่สนับสนุนไปสู่เป้าหมายลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ และขยายไปถึงประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในอนาคต
ผู้ว่ากฟผ.กล่าวอีกว่า โดยนโยบายโดยจัดหาเทคโนโลยีผลิตไฟฟ้าใหม่ ซึ่งปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์และนำเทคโนโลยีดังกล่าวมาพัฒนาในไทย และเอ็กโก กรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทพลังงานของไทย ที่กฟผ. เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รวมถึง บริษัท เอ ที อี จำกัด ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำด้านพลังงาน รวมถึงให้บริการติดตั้งในด้านพลังงานหมุนเวียน และมีการผลิตพลังงานในรูปแบบ Green Hydrogen และในส่วนของสหรัฐ ฯ โดยบริษัท Bloom Energy Corporation ในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงไฮโดรเจน ด้วยเทคโนโลยี SOFC และ SOEC ซึ่งจะมาช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านการปรับปรุงระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้สะอาดและมีประสิทธิภาพ
มาทำความรู้จักกับเชลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell) คือ อุปกรณ์ชนิดหนึ่งที่สามารถเปลี่ยนพลังงานเคมีในเชื้อเพลิงให้กลายเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเชื้อเพลิงดังกล่าวคือ ไฮโดรเจน(H2) เชลล์เชื้อเพลิงประกอบไปด้วยอิเล็กโทรด 2 ขั้ว คือขั้วแคโทต (Cathode) หรือขั้วบวก กับขั้วแอโนด (Anode) หรือขั้วลบ และอิเล็ก-โทรไลต์ (Electrolyte) อิเล็กทรไลต์แยกก๊าซออกจากกัน โดยฮโดรเจนจ่ายไปยังด้านแอโนดถูกแยกเป็นไอออนและอิเล็กตรอน เนื่องจากตัวเร่งปฏิกิริยา ดังสมการ 2 H2 / 4 H’ + 4e อิเล็กตรอนถูกส่งไปยังแคโทดผ่านวงจรภายนอก เกิดกระแสไฟฟ้า ทำให้ออกซิเจนกลายเป็นไอออน ดังสมการ 02+4 e- – 2 02 โดยท้ายสุด อนุมูลอิสระของออกซิเจนและไฮโดรเจนรวมกันได้น้ำและความร้อนออกมาดังสมการ 4 H* + 202 -> 2 HO
เซลล์เชื้อเพลิงจำแนกตามประเภทของอิเล็กโทรไลต์เป็นหลัก ได้แก่ เซลล์เชื้อเพลิงจำแนกตามประเภทของอิเล็กโทรไลต์เป็นหลัก ได้แก่ Alkaline Fuel Cell (AFC),Polymer Electrolyte Fuel Cell , Polymer ,Electrolyte Membrane Fuel Cells (PEMFC)/ Phosphoric Acid Fuel Cells (PAFC) ,Molten Carbonate Fuel Cells (MOFC) และ Solid Oxide Fuel Cells (SOFC)
ผลพลอยได้จากการผลิตไฟฟ้าด้วยไฮโตรเจน คือน้ำเท่านั้น แตกต่างจากการผลิตไฟฟ้าแบบดั้งเดิมที่ใช้การสันดาปภายในผลพลอยได้ที่ออกมาคือ คาร์บอนไดออกไซด์ออกไซด์ของไนโตรเจน ออกไชด์ของซัลเฟอร์ และฝุ่นละอองต่างๆ ดังนั้น การผลิตไฟฟ้าจากไฮโดรเจนจะไม่มีการปลดปล่อยมลพิษออกสู่บรรยากาศ โดยเฉพาะก๊าซเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซต์ซึ่งเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน
นพพล พันธ์เงิน ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์ผลิตไฟฟ้า กฟผ. กล่าวว่า การผลิตไฟฟ้าที่ผ่านมา โดยใช้พลังงานจากเชื้อเพลิงธรรมชาติ มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม แม้จะพยายามลดผลกระทบให้มากที่สุดแล้ว ก็ยังมีการปล่อยมลพิษทางอากาศ ทางกฟผ.จึงพยายามหาเทคโนโลยีที่ผลิตไฟได้และกระทบกับสิ่งแวดล้อมน้อยลง จึงเป็นที่มาของโรงไฟฟ้าสิรินทร ที่เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ลอยน้ำไฮบริด และยังมีแผนที่จะปรับปรุงระบบโครงข่ายไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดอื่นๆ แต่พลังงานสะอาดที่มาจากแสงอาทิตย์และพลังงานลมจากกังหัน มีปัญหาเรื่องความเสถียรจากพลังงานที่ได้ วันไหนไม่มีแดด หรือไม่มีลม ก็จะได้ไฟฟ้าน้อยลง ดังนั้น Fuel Cell ที่ใช้เทคโนโลยีของประเภทคือ SOFC และSOEC จึงเป็นทางเลือกที่ดีตัวหนึ่งของพลังงานสะอาด เพราะไฮโดรเจนจะไม่ปล่อยคาร์บอนด์ฯ 100 % อย่างแน่นอน
” เทคโนโลยีนี้ มีจุดเริ่มต้นจากการใช้ในโครงการอวกาศ ซึ่งสามารถช่วยลดจุดด้อยของพลังงานหมุนเวียน ที่ไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอได้ แต่ไฮโดรเจนสามารถตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าได้ตลอด 24 ชั่วโมง 7 วันต่อสัปดาห์ และยังมีจุดเด่นที่ใช้พื้นที่น้อย แต่เก็บพลังงานได้มาก ในพื้นที่เท่ากัน แต่ไฮโดรเจนสามารถเก็บพลังงานไฟฟ้าได้มากกว่าแบตเตอร์รี่หลายเท่า โดยเฉพาะการเก็บในรูปของไฮโตรเจนเหลว “นพพลกล่าว
ผอ.ฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์ฯ กล่าวอีกว่า กฟผ. มองเรื่องการผลิตไฟฟ้า จากไฮโดรเจนในเทคโนโลยีใหม่มานานแล้ว ซึ่งเป็นที่มาของการลงทุนร่วมทำบริษัทพลังงานไทยร่วมกับเอ็กโก ฯ โดยทั้งกฟผ,และเอ็กโก จะใช้เทคโนโลยีของบริษัท Boom Energy ศึกษาวิจัยอย่างจริงจัง ในช่วง 1-2ปี นี้ โดยการศึกษาจะดูเรื่องประสิทธิภาพว่าผลิตไฟได้มากน้อยแค่ไหน ดูเรื่องผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เรื่องเสียง และการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เพราะต้องยอมรับว่าเทคโนโลยีนี้ เป็นเรื่องใหม่สำหรับเรา ที่ยังไม่มีความเข้าใจลึกซึ้ง ซึ่งหากเราต้องการให้เกิดความมั่นคงของระบบ ก็ต้องมีการศึกษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ โดยในส่วนของกฟผ. จะทำโครงการศึกษานำร่อง ตั้งเครื่องดังกล่าวในพื้นที่ของกฟผ.ก่อน ส่วนทางด้านเอ๊กโกฯ ก็จะมีการศึกษาวิจัยของเขาเองด้วยเช่นกัน
“ขณะนี้ ในอเมริกา และยุโรป มีการผลิตไฟฟ้าจาก Fuel Cell อย่างในอเมริกา เหมือนว่าทางBoom จะเข้าไปติดตั้งระบบที่หน้าสำนักงาน Google ซึ่งเขาก็มุ่งสู่Green Energy เหมือนกัน ตัวเครื่องที่ไปตั้งก็ไม่ใหญ่ ใช้พื้นที่ไม่เยอะ เหมือนตู้เย็นตู้หนึ่ง ซึ่งเรามองว่า เทคโนโลยีนี้เหมาะกับพื้นที่ห่างไกลที่ไฟฟ้าไปไม่ถึง แม่ฮ่องสอน เป็นต้น “นพพลกล่าว
ไทยจะเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ผลิตไฟฟ้าโดยเทคโนโลยัใหม่ และกฟผ.เอง ยังวางบทบาทว่าจะเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในเรื่องของ Fuel Cell โดยเทคโนโลยีชนิดนี้ อีกด้วย โดย นพพล กล่าวว่า กฟผ.ได้มีการคุยกับทางBoom Energy ไว้แล้ว ว่าไทยจะขอสิทธิ์เป็นผู้ดูแลเทคโนโลยีนี้ในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจาก ในภูมิภาคนี้ ยังไม่มีประเทศไหนริเริ่มใช้ และทางบูมเองก็ยังมีภาระต้องดูแลที่ประเทศเกาหลีใต้ อาจไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึง
เมื่อถามว่าพลังไฟฟ้าจากไฮโดรเจน จะเข้ามาแทนที่การใช้เชื้อเพลิงอื่นๆ เลยหรือไม่ ผอ,ฝ่ายบริหารจัดการสินทรัพย์ ฯ กล่าวว่า เป็นนโยบายของกฟผ.ที่จะใช้เชื้อเพลิงที่สมดุล ขณะนี้ เรามีการใช้ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และพวกพลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด ซึ่งจะมีไฮโดรเจนเพิ่มเข้ามาอีกตัว แต่ทั้งหมดยังต้องขึ้นกับนโยบายของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) ที่จะกำหนดเรื่องนี้
“ถ้าถามว่า พอใช้ Fuel Cell ผลิตไฟ ราคาค่าไฟจะถูกลงหรือไม่ ยังไม่ถูกครับ เทคโนโลยีนี้ยังมีราคาสูงมาก เพราะยังไม่ได้ใช้กันแพร่หลายมาก แต่แน่นอนว่า สิ่งที่ได้คือข้อดีกับสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนด์ ฯ ช่วยลดโดกร้อน จึงเป็นพลังงานแห่งอนาคตที่ กฟผ.สนใจมาก ” นพพลกล่าว
——————-.ใต้ภาพ (ของเรื่องหลัก)
1.ผังแสดงเทคโนโลยี SOEC และ SOFC ที่จะผลิตพลังงานไฟฟ้าจากไฮโดรเจน2.ตู้สร้างกระแสไฟฟ้่าจากเทคโนโลยีของ Boomฯ ที่ทำให้การจัดเก็บพลังงานใช้พื้นที่น้อย 3.ภาพเมืองสว่างไสวจากพลังงานไฟฟ้าไฮโดรเจน เป็นการนำเสนอวิสัยทัศน์ของ Boom Energy ฯ 4.นพพล พันธ์เงิน5.การเซ็นเอ็มโอยู 4 หน้วยงาน เพื่อสร้างสรรค์พลังงานสะอาด ลดโลกร้อน
3 องค์กรที่จับมือกับกฟผ.
Bloom Energy, ATE และ เอ็กโก กรุ๊ป เป็น 3หน่วยงาน ที่ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ไฮโดรเจน ด้วยเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิงชนิดออกไซด์แบบแข็งและเทคโนโลยีแยกน้ำด้วยไฟฟ้า
ในการเซ็นเอ็มโอยู ร่วมกัน เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอ็กโก กรุ๊ป กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้นับเป็นโอกาสอันดียิ่งของเอ็กโก กรุ๊ปที่จะได้ร่วมแสวงหาโอกาสการลงทุนในเทคโนโลยี SOFC และ SOEC เพื่อเป็นทางออกในการผลิตพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบใหม่ในประเทศไทยและอาเซียน ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีความน่าสนใจ มีประสิทธิภาพสูง มีความน่าเชื่อถือ มีราคาที่แข่งขันได้ และคาดว่าจะสามารถนำมาใช้แทนระบบผลิตไฟฟ้าทั่วไปแบบพลังงานความร้อนร่วมในอนาคต นอกจากนี้ ความร่วมมือครั้งนี้ยังสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของเอ็กโก กรุ๊ป “Cleaner, Smarter and Stronger to Drive Sustainable Growth” เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับประชาคมโลกที่มุ่งหน้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
Mr.Tim Schweikert กรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ บริษัท Bloom Energy Corporation กล่าวว่า ความร่วมมือนี้เป็นไปเพื่อแสวงหาแนวทางในการเร่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของประเทศไทยสู่พลังงานสะอาด มีการสนับสนุนเทคโนโลยี SOFC และ SOEC สำหรับการบูรณาการพลังงานสะอาดและไฮโดรเจนทั่วประเทศ ด้วยความจำเป็นอย่างเร่งด่วนในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ทั่วโลก Bloom Energy ขอชื่นชม กฟผ. ATE และ เอ็กโก กรุ๊ป ที่มุ่งมั่นสู่พลังงานสะอาดเพื่ออนาคต และพร้อมที่จะนำเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและเชื่อถือได้มาสู่ประเทศไทย
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ ประธานกรรมการ บริษัท เอ ที อี จำกัด กล่าวว่า เป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ ATE ได้ร่วมลงนามใน MOU นี้ และนําเทคโนโลยี SOFC และ SOEC ของ Bloom Energy มาสู่ประเทศไทย เราหวังว่าจะนําเทคโนโลยี SOFC และ SOEC ล่าสุดมาสู่ประเทศไทย เพื่ออํานวยความสะดวกในการผลิตไฟฟ้าให้สอดคล้องกับความต้องการด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนในปัจจุบันโดยร่วมมือกับ กฟผ. ซึ่งเป็นผู้นําในการผลิตไฟฟ้าในประเทศไทย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กฟผ.เปิดสนามแข่งจักรยาน มาตรฐานUCI ณ เขื่อนวชิราลงกรณ
กฟผ. จับมือสมาคมกีฬาจักรยานฯ เปิดประเดิมสนามแข่งจักรยานมาตรฐานนานาชาติ (UCI) รับ 3 รายการใหญ่ การแข่งขันบีเอ็มเอ็กซ์ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ การแข่งขันบีเอ็มเอ็กซ์นานาชาติ และการแข่งขัน หนูน้อยขาไถ ชิงแชมป์ประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ ระหว่างวันที่ 8-10 พฤศจิกายน 2567 ณ สนามจักรยาน เขื่อนวชิราลงกรณ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี
เทพรัตน์ เทพพิทักษ์ คว้ารางวัลสุดยอด CEO รัฐวิสาหกิจดีเด่นสาขา Environment ตอกย้ำการขับเคลื่อนภารกิจองค์กรด้วยความตระหนักและใส่ใจสิ่งแวดล้อม
นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับรางวัลสุดยอดซีอีโอรัฐวิสาหกิจ สาขา Environment จากนางสาวแพทองธาร ชินวัตร
จาก ‘ฉลากเบอร์5’ สู่ห้องเรียนสีเขียวเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องใช้และสังคม
ที่ผ่านมา กลุ่มผู้บริโภคหลายคนคงเริ่มเห็นหน้าตาของฉลากเบอร์ 5 โฉมใหม่ตามเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ กันบ้างแล้ว โดย การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ส.ยกน้ำหนักฯ–จ.พะเยา-กฟผ. จัดEGATยกน้ำหนักยุวฯเยาวชน 15–25ต.ค.นี้
เมื่อวันที่ 27ก.ย.ที่ผ่านมา นายปรัชญา กีรตินันท์ นายกสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย นายนำพล โพธิวงศ์ ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์ความยั่งยืน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.),นายบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา และพลอากาศโท วัฒนชัย เจริญรัตน์ กรรมการและประธานฝ่ายเทคนิคสมาคมกีฬายกน้ำหนักสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ร่วมแถลงข่าวการแข่งขัน EGAT ยกน้ำหนักเยาวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ประจำปี 2567 ชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ EGAT ยุวชนชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย อายุ 13 - 15 ปี ประจำปี 2567 ณ การกีฬาแห่งประเทศไทย กรุงเทพฯ
ไฮโดรเจนความหวังใหม่ของวงการพลังงานสะอาด
แม้อาจมองไม่เห็นได้ด้วยตา แต่มีอยู่จริงรอบตัวเรา และนี่คือความหวังใหม่ของพลังงานสะอาดในอนาคต ‘ไฮโดรเจน’ ธาตุที่มีอยู่มากที่สุดในจักรวาล และมีอย่างไม่จำกัด