เปิดศูนย์วิชาการป้องกันมลพิษอากาศ หนุนแก้ฝุ่นPM2.5ตรงจุด

สสส.ผนึกนักวิชาการตั้งศูนย์ขับเคลื่อนป้องกันมลพิษอากาศรับวันสิ่งแวดล้อมไทย เร่งพัฒนาองค์ความรู้หนุนมาตรการแก้ฝุ่น PM2.5 ให้ตรงจุด

3 ธ.ค.2564 – ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวในพิธีเปิด “ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ” และเสวนาเรียนรู้ “วิถีสุขภาวะกับสิ่งแวดล้อม” เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมไทย 2564 ว่า สสส. ตระหนักถึงปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชากรไทย มุ่งยกระดับความสำคัญของการดำเนินงานลดผลกระทบสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อมให้เป็น 1 ใน 7 เรื่อง ที่กำหนดไว้ในทิศทางและเป้าหมายเชิงยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2565-2574) ผ่านการขับเคลื่อนทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ไปจนถึงระดับนโยบายเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน โดย สสส. ได้จัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) โดยได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน ภาควิชาการ เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนางานวิชาการที่ตอบโจทย์บริบทของสังคม เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้ไปปรับใช้เป็นแนวทางการทำงานเชิงพื้นที่ โดยมีแนวทางการทำงานที่สำคัญ 4 ด้าน ดังนี้ 1.สร้างความรู้ ความเข้าใจในการปกป้องสุขภาวะ และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตและพฤติกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม 2.พัฒนาศักยภาพและขับเคลื่อนชุมชน องค์กร และเครือข่าย เพื่อการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม 3.พัฒนาระบบบริการและสนับสนุนเครื่องมือป้องกันสุขภาพจากมลพิษสิ่งแวดล้อม และ 4.พัฒนามาตรการ นโยบายสาธารณะ และกฎหมายการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อม

นายชาติวุฒิ วังวล ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สสส. กล่าวว่า สสส. เน้นขยายผลจากระดับปัจเจกหรือระดับพื้นที่ นำไปสู่การผลักดันนโยบายเพื่อการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่ผ่านมา สสส. ร่วมกับภาคีเครือข่ายสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการห้องเรียนสู้ฝุ่นในโรงเรียนภาคเหนือ 30 แห่ง มุ่งสร้างความตระหนักและป้องกันปัญหา PM 2.5 ในกลุ่มเด็กและเยาวชน เชื่อมโยงไปสู่ครอบครัว และคนในชุมชน รวมถึงสนับสนุนให้เกิดสภาลมหายใจ 8 จังหวัดภาคเหนือ ขับเคลื่อนงานแก้ปัญหาวิกฤตฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่านิยมในระดับภูมิภาค เช่น ลดการเผาภาคเกษตร จัดทำแนวกันไฟชุมชน การจัดตั้งศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) ครั้งนี้ ถือเป็นการรวมนักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาองค์ความรู้ พร้อมสื่อสารชี้นำสังคม และสนับสนุนมาตรการ นโยบาย เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างตรงจุด

รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) สนับสนุนโดย สสส. กล่าวว่า ศวอ. อยู่ระหว่างการพัฒนา “โปรแกรมการประเมินผลกระทบต่อสุขภาพและเศรษฐกิจ” ที่ถือเป็นนวัตกรรมเครื่องมือการบริหารจัดการที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลการสูญเสียด้านสุขภาพ ประเมินการสูญเสียด้านเศรษฐกิจ จัดลำดับความสำคัญแหล่งกำเนิดมลพิษอากาศ นำไปสู่มาตรการจัดการมลพิษอากาศเชิงพื้นที่ อาทิ การควบคุมมลพิษจากการจราจรขนส่ง ผลักดันมาตรการกำหนดพื้นที่มลพิษต่ำ โดยส่งเสริมการใช้รถมลพิษต่ำ รถไฟฟ้า รวมถึงการดัดแปลงรถเก่าเป็นรถไฟฟ้า การควบคุมมลพิษจากการเผาในที่โล่ง ผลักดันมาตรการลดการเผาป่าและเผาในที่โล่ง โดยส่งเสริมการใช้รถตัดอ้อย และวิธีไถกลบ

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจข้อมูลจากศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ (ศวอ.) สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.ccas.or.th/ และเฟซบุ๊กแฟนเพจ “รู้ทันฝุ่น” www.facebook.com/CCAS.EEAT

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ความเครียด..ภัยเงียบของสังคมไทย! ห้ามไม่ได้..แต่รู้เท่าทันอยู่ให้เป็นได้

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวทีการประชุม Forum สุขภาพคนไทย 2567 เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

ครั้งแรก!! สสส.สานพลังภาคีเครือข่าย สร้าง“สังคมปลอดคุกคามทางเพศ”

ปัญหาสังคมในสถานที่ทำงาน อย่างการคุกคามทางเพศ ไปจนถึงการบูลลี่ด้วยสายตาและวาจา เป็นเรื่องจริงที่หลายคนเลือกที่จะนิ่งเฉย และมองข้าม

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาฯ ร่วมกับสสส. ระดมสมองกว่า 20 ภาคี ร่วมจัดทำแผนจัดการความปลอดภัยทางถนนปี 2568

เครือข่ายเป็นหูเป็นตาเพื่อสังคม เดินหน้าขับเคลื่อนสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ปอด..คนไทยไม่ปลอดภัย "PM2.5-บุหรี่ไฟฟ้า"ตัวร้าย!!

อันตรายที่มองไม่เห็นอย่างฝุ่น PM2.5 กำลังคร่าชีวิตและบ่อนทำลายสุขภาพของคนในสังคมไทยอย่างเงียบเชียบ ด้วยตัวเลขที่มีการยืนยันว่า คนไทยกำลังเผชิญปัญหาฝุ่น PM2.5

ต้อนรับเทศกาลPride Month รู้ให้จริง..กม.รับรองเพศสภาพ

องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศถอนภาวะการมีเพศสภาพไม่สอดคล้องกับเพศกำเนิด ออกจากหมวดความผิดปกติทางจิตและพฤติกรรมในบัญชีจำแนกโรคสากลฉบับที่ 10 (ICD-10)

โพลชี้เกือบ 1 ใน 4 เคยพบ/เห็นการคุกคามทางเพศในที่ทำงานอีก 126 คน เจอกับตัว กอด-จูบ-ลูบ-คลำ มีครบ ม

เมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2567 ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สานพลัง ภาคีเครือข่าย ประกาศเจตนารมณ์การป้องกันการคุกคามทางเพศ โ