สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้พระราชทานพระราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา โดยศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ ร่วมกับบริษัท อีสต์ เวสท์ ซีด จำกัด ซึ่งมีผลิตภัณฑ์เป็นที่รู้จัก ในนาม “เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง” ร่วมดำเนินงานในการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช และขยายเมล็ดพันธุ์ เพื่อจำหน่ายให้กับเกษตรกรและประชาชนทั่วไป ซึ่งจะทำให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป สามารถเข้าถึงเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวได้ในราคาที่ย่อมเยา เหมาะสม อย่างทั่วถึงและเพียงพอ สนองต่อเป้าหมายที่สำคัญของมูลนิธิชัยพัฒนา ที่มุ่งสงเคราะห์ช่วยเหลือประชาชนให้มีความร่มเย็นเป็นสุขและอยู่ดีกินดี อันจะนำไปสู่ความมั่นคงของประเทศ
เมล็ดพันธุ์ที่จะดำเนินการผลิตนี้ เป็นเมล็ดพันธุ์ที่กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงพระราชทานนาม ให้ และให้มูลนิธิชัยพัฒนาดำเนินการขึ้นทะเบียนพันธุ์พืช โดยเมล็ดพันธุ์ดังกล่าว เกิดจากการพัฒนาของมหาวิทยาลัยแม่โจ้และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ร่วมกับศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์เพ็ญศิริ มูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อพระราชทานแก่เกษตรกร แต่ด้วยความต้องการเมล็ดพันธุ์ที่มากขึ้น ทำให้ไม่สามารถกระจายเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวสู่เกษตรกรอย่างทั่วถึง ทำให้เกิดที่มาของการร่วมมือ “โครงการความร่วมมือในการผลิตและจำหน่ายเมล็ดพันธุ์” ระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และ บริษัท อีสต์ เวสท์ ซีด จำกัด
โดยเมล็ดพันธุ์พระราชทานที่จะดำเนินการผลิตและจำหน่ายตามข้อตกลงนี้ มีจำนวน 16 ชนิด ซึ่งเป็นการปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จำนวน 10 ชนิด ประกอบด้วย ถั่วฝักยาวสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1 /ถั่วแขกสีม่วงสิรินธร เบอร์ 1 /ถั่วแขกสีเหลืองเทพรัตน์ เบอร์ 1 /ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ เบอร์ 1 /มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์ /พริกขี้หนูปู่เมธ เบอร์ 1 /พริกขี้หนูพัฒนฉันท์ /ผักกาดหอมห่อสีม่วง ช่อผกาพัฒนาเอง /ผักกาดหอม สลัดสวยงาม และแตงไทยหอมละมุน
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระทับเรื่องของเมล็ดพันธุ์ ด้วยทรงตระหนักว่าเมล็ดพันธุ์นั้น มีความสำคัญเป็นจุดเริ่มต้นของการเกษตร และความมั่นคงทางอาหาร ทั้งปัจจุบันและอนาคต จึงทรงให้จัดตั้งศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์ เพ็ญศิริขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์พืช ให้เกษตรกรได้มีพืชสายพันธุ์ที่ดีทนทานต่อโรคและแมลง มีผลผลิตที่ดี และยังเป็นการรักษาพันธุ์พืชผักพื้นบ้านอีกด้วย เพื่อให้เกษตรกรปลูก สำหรับบริโภคในครัวเรือน ถ้าเหลือก็จำหน่าย จึงทรงให้เก็บเมล็ดพันธุ์ พระราชทานราษฎร โดยเฉพาะผู้ประสบภัยพิบัติ แต่ด้วยความต้องการเมล็ดพันธุ์ที่มากขึ้น ทำให้ไม่สามารถที่จะกระจายได้ทั่วถึง จึงทรงพระราชทานราชานุมัติให้สำนักงานมูลนิธิชัยพัฒนา และศูนย์พันธุ์พืชจักรพันธุ์ ร่วมกับ บริษัท ซรแดง ร่วมจำหน่ยเมล็ดพันธุ์พืช เพื่อผลิตและขยายพันะุ์พืชไปจำหน่ายให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ให้เข้าถึงเมล็ดพันธุ์ดังกล่าวได้ในราคาย่อมเยา เหมาะสม ทั่วถึงเพียงพอ ซึ่งนับว่าสนองต่อเป้าหมายมูลนิธิชัยพัฒนาที่มุ่งช่วยเหลือประชาชนให้อยู่ดีกินดีมีความสุข อันจะนำมาสู่ความมั่นคงของประเทศ หรือชัยชนะแห่งการพัฒนานั่นเอง และความร่วมมือครั้งนี้ นอกจากเพื่อสนองพระราชดำริ นับว่าเป็นการช่วยเหลือเข้าถึงประชาชนได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ช่วยให้ ผลิจปัจจัยที่มีคุณภาพและพอเพียงต่อความจำเป็นพื้นฐาน และความต้องการคุณภาพชีวิตทีดี เน้นหลักความสมดุล ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจของไทยในอนาคต
“ทรงมี รับสั่ง ที่วังสระประทุมเมื่อวันที่ 7 ก.ค.2552 ว่าชัยพัฒนาของเรานี้ มีจุดมุ่งหมายในเรื่องการทำให้คุณภาพชีวิต ของประชาชนดีขึ้น ทั้งในด้านความเป็นอยู่ การอาชีพและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ ส่วนที่สำคัญของเราคือการเกษตร ปัจจัยสำคัญของการเกษตร นอกจาก จะเป็นเรื่องน้ำและดินแล้ว การมีพันธุ์พืชที่ดี ให้เกษตรกรปลูกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก อีกอย่างหนึ่งก็คือการที่ทำเองจัดเอง ทำให้เราได้ศึกษาวิธีการว่าพันธุ์ต่างๆนอกจาก จะทำให้มีปริมาณมากขึ้นแล้ว คุณภาพที่จะ เหมาะสมในแต่ละแห่งจะทำอย่างไร เพราะถ้าเราทำเองจะทราบว่าตรงไหน ต้องทำอย่างไร เป็นความรู้ของพวกเราทุกคนด้วย” “ดร.สุเมธกล่าว
ผศ. ฉันทนา วิชรัตน์ อาจารย์สาขาพืชผัก คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ กล่าวว่า การสร้างเมล็ดพันธุ์พืช เบื้องต้นต้องมีรวบรวมพันธุกรรมพืช และศึกษาลักษณะทางพันธุกรรม หลังจากนั้นจะเอาความหลากหลายมาสร้างเป็นพันธุ์ใหม่ โดยการผสมช้ามสายพันธุ์ และทำการคัดเลือกพันธุ์ หลักประเมินต้องดูว่า เป็นพันธุ์ใหม่ที่มีคุณค่าต่อประชาชน หรือไม่ และสุดท้ายคือขอการรับรองพันธุ์ ซึ่งความหลากหลายของพันธุ์พืชมีความสำคัญมาก เพราะจะทำให้เกิดโอกาสการผสมพันธุ์และเกิดพันธุ์ใหม่ได้มากขึน พันธุ์พืชแต่ละชนิดต่างมีคุณค่าของตัวเอง พันธุ์พืชบางอย่างแม้รสชาติอร่อย แต่ไม่ดก ถ้าทำออกมาแล้วเกษตรกรไม่สนใจที่จะนำไปปลูก โดยการผลิตสร้างสายพันธุ์ใหม่ ต้องพิถีพิถันคำนึงถึงเรื่องนี้
ุถั่วฝักยาวสิรินธร เบอร์ 1 อ.ฉันทนา เล่าว่า ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธ์ฯ ได้พัฒนาพันธุ์ถั่วฝักยาวพันธุ์ใหม่ขึ้น เนื่องจาก ถั่วฝักยาวเป็นผักที่คนไทยนิยมกินมาก แต่ที่เราเห็นทั่วไปส่วนใหญ่จะมีแต่ถั่วฝักยาวสีเขียว ซึ่งในมุมของนักปรับปรุงพันธุ์ ต้องสร้างพันธุ์ใหมให้ดีขึ้นกว่าเดิม ถั่วฝักยาวสีเขียวมีคุณค่าอาหารในแง่มีโคลโรฟิลด์มาก แต่จริงๆแล้วถั่วฝักยาวสีม่วง จะทรงพลังและมีคุณค่าทางอาหารและดีต่อสุขภาพมากกว่า เลยทำให้คิดทำถั่วฟักยาวสายพันธุ์สีม่วง ที่อร่อย ดก มีคุณค่าทางอาหารสูง จึงนำถั่วฝักยาวฝักสีแดงเข้ม เนื้อบาง และให้ผลผลิตต่ำ มาผสมกับถั่วฝักยาวพันธุ์เนื้อ ฝักสีเขียว ให้ผลผลิตสูง หลังการคัดเลือกจนได้พันธุ์แท้ ที่มีลักษณะฝักสีม่วงอมแดง ฝักยาวประมาณ 60 เซนติเมตร ปลายฝักมีสีเขียวเล็กน้อย เป็นถั่วฝักยาวกึ่งเนื้อ กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานชื่อว่า ุถั่วฝักยาวสิรินธร เบอร์ 1
ถั่วฝักยาวลายเสือจักรพันธ์ ที่เป็นนามพระราชทานด้วยเช่นกัน อ.ฉันทนา เล่าที่มาอีกว่า ถั่วฝักยาวลายเสือ เป็นอีกพันธฺุ์ผสมม่วงกับเขียว โดยตัวพ่อมาจากชนเผ่าอาข่า พอผสมข้ามพันธุ์ออกมา เป็นลายเสือ กรมสมเด็จพระเทพฯทรงได้ทำการคัดเลือก และได้พระราชทานชื่อ เมื่อวันที่ 11ก.พ.2557 พันธ์ุลายเสือจักรพันธ์
มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์ ก็มีที่มาด้วยเช่นกัน โดยอ.ฉันทนา เล่าประวัติความเป็นมาว่า ที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้พัฒนามะเขือเปราะสายพันธุ์หนึ่งเมื่อ 20 ปี เป็นมะเขือมีลูกดกมาก เพราะปกติมะเขือจะออกลูกเป็นลูกๆ แต่พันธุ์มีกลับออกลูกเป็นช่อๆ ปลูกแล้วได้ผลผลิตสูง ทำให้เกษตกรตอบรับดีพอสมควร สามารถเห็นได้จากการวางขายในตลาดทั่วๆไป แต่มีคนมาพูดว่าทำไม ไม่ทำมะเขือเปราะพันธุ์ที่เป็นสีเขียว แล้วออกลูกดกเป็นช่อๆ เหมือนพันธุ์นี้ จึงให้นักศึกษาที่ทำงานด้วย ออกไปตระเวณหามะเขือพันธุ์สีเขียว ที่จะเป็นตัวพ่อ มาจับแต่งงานกับมะเขือพันธุ์เดิม ปรากฎว่านึกศึกษา ไปเจอมะเขือสีเขียวมาต้นหนึ่ง เป็นมะเขือที่เกิดข้า่งถนน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่น่าจะมีชีวิตรอดและเติบโตได้จนมีลูกออกมา
“ซึ่งแสดงว่ามะเขือต้นนี้มีความอึด จึงนำพันธุ์มาผสมกับพันธุ์ของแม่โจ้ ทำให้ได้มะเขือเปราะพวงหยกจักรพันธ์ขึ้น พอมาพัฒนาผสมข้ามพันธุ์ ทำให้มะเขือเปราะที่ออกลูกเป็นพวง แต่มีสีเขียว และต้นสูงกว่าพันธุุ์เดิมของแม่โจ้ ทำให้เก็บง่าย ไม่ต้องปวดหลัง ซ่ึ่งกรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานชื่อ มะเขือพวงหยกจักรพันธ์”
อีกตัวอย่าง พริกปู่เมธ เบอร์ 1 อ.ฉันทนา เล่าที่มาว่าเมื่อปี 2554 ทางศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธุ์ ได้พัฒนาพริกหลายพันธุ์ แต่ตนเองได้ไปต้องตาต้องใจพริกพันธุ์หนึ่ง ซึ่งออกป็๋นช่อดีมาก เมื่อได้ชิมรสชาติเผ็ดใช้ได้ ถ้านำมาปลูกเหมาะกับครัวเรือนมาก จุึงไปขอพันธุ์นี้จาก ผอ.ศูนย์พัฒนาพันธุ์พืชจักรพันธุ์ ต่อมาทราบภายหลังว่าพริกพันธุ์นี้ ดร.สุเมธ เป็นคนนำมาให้ศูนย์จักรพันธุ์ปลูก กรมสมเด็จพระเทพฯ เมื่อเสด็จมาที่มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้ทรงคัดเลือกต้นพันธุ์พริกนี้ด้วยพระองค์เอง แต่ทรงตั้งชื่อว่า พริกขี้หนู่ปู่เมธ เบอร์ 1 ตอนนี้พริกพันธุ์นี้มีความเหมาะสมกับยุคปัจจุบันมาก ๆ เพราะให้ลูกดก หรือปลูกในกระถางก็สวยงาม
ผักกาดหอมห่อสีม่วง ช่อผกาพัฒนาเอง
ผักกาดหอมห่อสีม่วง ช่อผกาพัฒนาเอง ผักกาดหอมห่อพันธุ์ดังกล่าวได้จากการผสมข้ามระหว่างผักกาดหอมห่อพันธุ์สีเขียว กับผักกาดหอมในกลุ่มเรดโครอลที่มีสีแดง คัดเลือกจนได้พันธุ์แท้ ที่มีลักษณะเป็นผักกาดหอมห่อที่มีใบสีม่วง การเข้าปลีแน่น ทรงกลม น้ำหนักต่อต้นประมาณ 250-350 กรัม ได้รับพระราชทานนามว่า ผักกาดหอมห่อสีม่วง ช่อผกาพัฒนาเอง เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
“ทั้งหมดนี้ เมื่อปรับปรุงพันธุ์ แล้วจะขึ้นทะเบียนพันธุ์ที่กรมวิชาการเกษตร ทางศูนย์จักรพันธุ์ฯ และเครือข่าย จะขยายปริมาณเมล็ดพันธุ์ ปรับปรุง ดูเรื่องความชิื้น และแม้กระทั่งใส่ซองพระราชทาน ก่อนเผยแพร่ให้ประชาชนคนไทยครอบคลุมทั่วประเทศ เพราะเมล็ดพันะุ์ สำคัญมาก เพราะถ้่กเกษตกรได้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ ก็เหมือนเขามาได้ครึ่งหนึ่งของการประสบความสำเร็จแล้ว ที่สำคัญเมล็ดพันธุุ์พระราชทานเกษตรกรสามารถเก็บ นำไปปลูกต่่อได้”ผศ.ฉันทนากล่าว
ส่วนทางด้านมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ทำการปรับปรุงพันธุ์จำนวน 6 ชนิด ประกอบด้วย มะเขือเทศจักรพันธ์ 1 /มะเขือเทศจักรพันธ์ 2 /ถั่วฝักยาวล้านนาชวนอร่อย /ฟักทองประกายดาวล้านนา /กวางตุ้งเหลืองล้านนา และมะเขือเปราะเพชรล้านนา โดยแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะเด่นที่แตกต่างกัน
วิชัย เหล่าเจริญพรกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อิสท์ เวสท์ ซีด จำกัด ผู้จำหน่ายเมล็ดพืชตราศรแดง กล่าวว่า ทางบริษัท สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของกรมสมเด็จพระเทพ ฯ ที่ทรงเลือกให้มาเป็นผูัจำหน่ายเมล็ดพันธุ์พระราชทาน ทรงเล็งเห็นว่า บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด มีความเชี่ยวชาญในด้านนวัตกรรมเมล็ดพันธุ์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ การคัดคุณภาพเมล็ดพันธุ์ ไปจนถึงบรรจุภัณฑ์ และมีความเชี่ยวชาญในเรื่องของตลาดเมล็ดพันธุ์เป็นอย่างดี ทุกขั้นตอนเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด อีกทั้งยังเป็นบริษัทเอกชนรายแรกที่มีห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ที่ได้รับรองมาตรฐาน ISTA และ ISO9001:2015 จึงพระราชทานเมล็ดพันธุ์ตั้งต้นให้แก่บริษัท อีสท์ เวสท์ ซีด จำกัด เพื่อผลิต ขยายพันธุ์ และจำหน่าย โดยรักษาคุณภาพ มาตรฐานเมล็ดพันธุ์ และต้องไม่ปรับเปลี่ยนพันธุกรรมของสายพันธุ์
โดยเมล็ดพันธุ์ทั้ง 16 ชนิดนี้ จะถูกบรรจุอยู่ในซองที่ใช้ชื่อว่า “ซองฉลาดจันกะผัก” ที่มีระบบป้องกัน 2 ชั้น คือปกป้องความชื้นและปกป้องแสงแดด เพื่อให้เมล็ดพันธุ์คงไว้ซึ่งคุณภาพจนถึงมือเกษตรกร หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการปลูก พร้อมด้วยคู่มือรายละเอียดทุกอย่าง ตั้งแต่วิธีการปลูก การเก็บเกี่ยว การปรับปรุงดิน การใส่ปุ๋ย ราคาจำหน่ายซองละ 25-30 บาท สามารถหาซื้อได้จากร้านค้าเมล็ดพันธุ์ที่เป็นตัวแทนจำหน่ายของบริษัทในทุกจังหวัด รวมทั้งโมเดิร์นเทรด และช่องทางออนไลน์ของบริษัท จากความร่วมมือครั้งนี้จะส่งผลใหเ้กษตรกรไทยได้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีคุณภาพไปปลูก สามารถเพิ่มผลผลิตและรายได้มากขึ้น และผู้บริโภคได้พืชผักที่ปลอดภัยมาบริโภค
สำหรับในปี 2565 ซึ่งเป็นปีนักษัตรขาล บริษัทฯ ได้จัดชุดปลูกผัก “จันกะผัก ส่งรักปีเสือ 2565 ” จำหน่ายเป็นของขวัญ ส่งความรักความปรารถนาดีในช่วงขึ้นปีใหม่ โดยในชุดจะประกอบด้วยเมล็ดพันธุ์ผักพร้อมกระถางและอุปกรณ์การปลูก ที่ผู้รับสามารถนำไปปลูกได้ทันที จุดประสงค์คือต้องการให้ทุกคนสามารถปลูกผักได้เองด้วยวิธีง่ายๆ มีผักสดใหม่ปลอดภัยจากสารพิษไว้บริโภคภายในครัวเรือน กลุ่มเป้าหมายคือคนทั่วไปที่สนใจปลูกผัก จำหน่ายในราคาชุดละ 499 บาท โดยชุดปลูกผัก “จันกะผัก ส่งรักปีเสือ 2565” นี้ สามารถหาซื้อได้ที่ 1) ร้านภัทรพัฒน์ทุกสาขา 2) ร้านภูฟ้า 3) Lazada : Sorndaengseed Flagship store หรือ คลิก https://uqr.to/ewslzd1 4) Facebook : เมล็ดพันธุ์ตราศรแดง หรือ ติดต่อสอบถาม 02-831-7718 ทั้งนี้รายได้หลังหักค่าใช้จ่ายจะมอบสมทบมูลนิธิชัยพัฒนา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ชัยพัฒนาแฟร์ สัญจร นครนายก น้อมรำลึก ร.9
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นายกกิตติมศักดิ์และประธานกรรมการมูลนิธิชัยพัฒนา พระราชทานพระราชานุญาตให้มูลนิธิชัยพัฒนาจัดงาน “ชัยพัฒนาแฟร์” ขึ้น เพื่อแสดงแนวคิดด้านการพัฒนา
สคส.กรมสมเด็จพระเทพฯ
กรมสมเด็จพระเทพฯ พระราชทานพรปีใหม่ 2568 ปีมะเส็งงูเล็กแก่พสกนิกรไทย เพื่อความเป็นสิริมงคล ชีวิตก้าวหน้า
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดงาน'สานสายใยเพื่อผลิตภัณฑ์สายใจไทย'
29 ต.ค.2567 - เวลา 09.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิสายใจไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เสด็จฯ ไปทรงเป็นประธานเปิดงาน“สานสายใยเพื่อผลิตภัณฑ์สายใจไทย ครั้งที่ 26 ” ณ ลิฟวิ่ง ฮอลล์ ชั้น 3 สยามพารากอน
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดเทศกาลน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ภัทรพัฒน์ ณ เอ็มสเฟียร์
18 ต.ค.2567 - เวลา 14.30 น.สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดงาน “เทศกาลน้ำมันเมล็ดคามีเลีย ภัทรพัฒน์” โดยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิชัยพัฒนา และบริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป จำกัด ณ เอ็ม กลาส
กรมสมเด็จพระเทพฯ ทรงเปิดเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ 'บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่'
1 ต.ค.2567 - เวลา 9.04 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดงาน เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ Bangkok Art Biennale 2024 (BAB 2024) ภายใต้แนวคิด "รักษา กายา