บริษัท ปอร์เช่ เอเชีย แปซิฟิก (Porsche Asia Pacific) และ เชลล์ (Shell) ประกาศเปิดตัว Shell High Performance Charging (HPC) สถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าสมรรถนะสูงแห่งแรก ณ สถานีบริการน้ำมันรูปแบบใหม่ ‘Site of the Future’ ต้นแบบสถานีบริการน้ำมันมาตรฐานระดับโลกแห่งแรกในไทยย่านนนทบุรี สำหรับการมาถึงของสถานี HPC เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงการเริ่มต้นโครงการ ก่อสร้างสถานีชาร์จพลังงาน 180 กิโลวัตต์ และ 360 กิโลวัตต์ direct-current (DC) ของ Shell รวมทั้งสิ้นอีก 11 แห่งทั่วประเทศไทย ถือเป็นการขับเคลื่อนการเดินทางสำหรับอนาคตในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เกิดเส้นทางสัญจรที่ปราศจากมลภาวะมุ่งสู่การเดินทางที่ยั่งยืน
เมื่อโครงสร้างเครือข่ายเริ่มดำเนินการในช่วงครึ่งแรกของปี 2023 สถานี HPC ในประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางที่เชื่อมต่อเพื่อขยายเครือข่ายสถานี HPC ของ Shell ตลอดทั่วทั้งภูมิภาค โดยจะดำเนินงานร่วมกับสถานีอีก 6 แห่งในประเทศมาเลเซีย และ 3 แห่งในสิงคโปร์ เป้าหมายเพื่อความยั่งยืนที่ตรงกัน พร้อมเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่การเดินทางด้วยระบบขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า จุดเริ่มต้นของการกำเนิดเส้นทางปราศจากมลภาวะ ระยะทางมากกว่า 2,200 กิโลเมตร ระหว่างเขตแดน 3 ประเทศในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 800,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นผสานความร่วมมือพันมิตรกันระหว่าง 2 บริษัทระดับโลกอย่างปอร์เช่ เอเชียแปซิฟิก (Porsche Asia Pacific) และ เชลล์ (Shell) มุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการเดินทางสำหรับอนาคตให้เป็นเส้นทางปลอดมลภาวะที่มีระยะทางไกลที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ขับขี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้าสามารถเดินทางสัญจรได้โดยไร้ข้อจำกัด
Dr. Henrik Dreier (ดร. เฮนริค ไดรเยอร์) ผู้อำนวยการ New Business Fields ของ Porsche Asia Pacific กล่าวว่า ปอร์เช่ เรายังคงรักษาคำสัญญาในด้านการขับเคลื่อนอนาคตของการคมนาคมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เฉกเช่นเดียวกับการยืนยันเจตนารมณ์อย่างต่อเนื่องเรื่องการลดสารประกอบคาร์บอนให้เป็นศูนย์ภายในปี 2030 ตามความมุ่งมั่นของเรา และความไว้วางใจที่เรามีต่อ Shell ในฐานะพันธมิตรทางธุรกิจนั้น กำลังนำพาเราไปสู่จุดหมายปลายทางใหม่ ด้วยการเปิดตัวสถานีชาร์จสำหรับรถพลังงานไฟฟ้าสมรรถนะสูง Shell High Performance Charging ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งมาพร้อมสิทธิพิเศษมากมายสำหรับเจ้าของรถยนต์ปอร์เช่ ไทคานน์ (Taycan) รวมทั้งเครือข่ายการบริการที่มีระยะทางมากกว่า 2,200 กิโลเมตร เราคาดหวังถึงผลประโยชน์สูงสุดที่ผู้ใช้เส้นทางจะได้รับจากการสัญจรทางไกล ตลอดจนการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเป็นอีกแรงสนับสนุนส่งเสริมให้ผู้ใช้รถยนต์หันมาเลือกใช้ยานพาหนะพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น
Amr Adel (อาเมอร์ อเดล) รองประธานกรรมการอาวุโสของ Shell Mobility Asia กล่าวเสริมว่า ผู้ใช้รถ EV ต่างคาดหวังถึงประสบการณ์ด้านการชาร์จพลังงานที่รวดเร็ว และสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงวิธีในการลดมลภาวะที่เกิดจากการขับขี่ยานพาหนะของพวกเขา เมื่อพรมแดนของประเทศต่าง ๆ ในโลกเปิดกว้าง ผู้ใช้รถยนต์จึงเฝ้าค้นหาสถานีชาร์จพลังงานที่สามารถเชื่อถือได้ โดยเฉพาะการเดินทางสัญจรระยะยาวข้ามประเทศ ด้วยเครือข่ายสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้าสมรรถนะสูง HPC สถานีแห่งแรกของเราในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ Shell (เชลล์) คือผู้ให้บริการเครือข่ายการบริการสถานีชาร์จพลังงานไฟฟ้ารูปแบบระหว่างประเทศที่แรกในภูมิภาค นี่คือบริการของ Shell Recharge EV network การเปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันนี้ เป็นการประกาศผนึกกำลังและความสำเร็จระหว่างปอร์เช่ และเชลล์ เพื่อขยายการพัฒนาสถานีชาร์จไฟฟ้าสมรรถนะสูง ระหว่างสิงคโปร์ มาเลเซียและเข้าสู่ประเทศไทย เพื่อตอบรับความต้องการและความสะดวกสบายแก่ผู้ขับขี่รถพลังงานไฟฟ้า ทางเชลล์มีความตั้งใจเป็นอย่างสูงในการรับบทบาทสำคัญสำหรับช่วงเปลี่ยนผ่านเพื่อพลังงานขับเคลื่อนแบบไร้คาร์บอน โดยการร่วมมือกับเหล่าพันธมิตรและกลุ่มลูกค้า
ความร่วมมือดังกล่าว ทำให้สถานีบริการ Shell จำนวน 11 แห่งในประเทศไทย จะได้รับการติดตั้งจุดชาร์จพลังงานไฟฟ้า DC chargers ขนาด 180 กิโลวัตต์ และ 360 กิโลวัตต์ สำหรับรองรับระบบการชาร์จประสิทธิภาพสูงในประเทศไทย ให้ผู้ขับขี่สามารถเดินทาง ที่ไร้ซึ่งมลพิษจากจังหวัดสงขลาในเขตภาคใต้ จนถึงจังหวัดเชียงใหม่ในเขตภาคเหนือ เมื่อใช้งานระบบชาร์จขนาด 180 กิโลวัตต์
รถปอร์เช่ ไทคานน์ (Taycan) สามารถชาร์จพลังงานจาก 0% State of Charge (SoC) ถึงระดับ 80% ภายในเวลาประมาณ 30 นาที เดินทางได้สูงสุดถึง 390 กิโลเมตร (ทดสอบตามมาตรฐาน WLTP) ในส่วนของการใช้งานระบบชาร์จขนาด 270 กิโลวัตต์ อันเป็นกำลังสูงสุดที่ปอร์เช่ ไทคานน์ (Taycan) สามารถรองรับได้นั้น จะใช้เวลาลดลงเหลือเพียง 22 นาทีเท่านั้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สนพ.วางเป้าไทยมีสถานีชาร์จEV 567 แห่ง ภายในปี 2030
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เผยผลการวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งและจำนวนเครื่องอัดประจุที่เหมาะสมสำหรับแผนพัฒนาสถานีอัดประจุสาธารณะ วางเป้าหมายในปี 2030 ไทยควรมีสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า 567 แห่ง และเครื่องอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าแบบ Fast Charge 13,251 เครื่อง ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วไทย เน้นเข้าถึงง่าย ต้นทุนเหมาะสม
บริษัทคลังน้ำมันออสซี่ออยล์ เดินหน้ารุกธุรกิจพลังงานเพื่อการเกษตรครบวงจร
บริษัทคลังน้ำมันออสซี่ออยล์ เดินหน้ารุกธุรกิจพลังงานเพื่อการเกษตรครบวงจร ครอบคลุมธุรกิจน้ำมันเพื่อการเกษตรและโรงไฟฟ้าชุมชน