TCP กรุ๊ปปลุกกระแส 'แชร์ความรู้ช่วยโลก' ก่อนถึงพรุ่งนี้

สภาพอากาศโลกที่แปรปรวน ฝนตกหนักบางที่ และแห้งแล้งสุดๆในบางพื้นที่ บ่งบอกถึงภัยภาวะโลกร้อน ที่กำลังคุกคามโลกและมนุษย์ ทำให้หลายปีมานี้ มีการพูดถึงการกระทำในแง่มุมต่างๆที่อยู่บนพื้นฐานความยั่งยืน คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม หลายธุรกิจตื่นตัวที่จะขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ลักษณะของความยั่งยืน โดยไม่ต้องการทิ้งภาระไว้เบื้องหลังหรือถูกประนาม ว่าทำธุรกิจที่เป็นผลเสียต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับกลุ่มธุรกิจ TCP ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเครื่องดื่มภายใต้แบรนด์กระทิงแดง (เรดบูล) เรดดี้ โสมพลัส สปอนเซอร์ แมนซั่ม แมนซั่ม วิตามิน วอเตอร์ ไฮ่! เพียวริคุ ซันสแนค และวอริเออร์ ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มยักษ์ใหญ่  ก็มีความตื่นตัวในเรื่องการขับเคลื่อนเชิงยั่งยืนอย่างเต็มที่ และเมื่อเร็วๆนี้ ได้จัดงานเสวนา ในหัวข้อ “ปลุกพลังความร่วมมือสู่เป้าหมายความยั่งยืน” เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้ และหารือถึงแนวทางใหม่ๆ ในการขับเคลื่อนงานด้านความยั่งยืน ระหว่างพันธมิตรธุรกิจทุกภาคส่วน  โดยเฉพาะเป้าหมายด้านเศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ เศรษฐกิจหมุนเวียน และการจัดการทรัพยากรน้ำ

ในงานนี้ได้เชิญ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) กล่าวเปิดงาน ในหัวข้อ “ปรับมุมมองอนาคตประเทศไทยใหม่ ด้วยเศรษฐกิจสีเขียว”  โดยนายวราวุธกล่าวว่า  ในช่วง 20ปีประเทศไทยเติบโตก้าวกระโดด GDPโตกว่าเดิม 3เท่า จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือเทียบกับทั่วโลกไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจก เท่ากับ0.8% แม้ไม่ได้มาก แต่เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ไทยกลับเป็น 1 ใน 10ประเทศที่ได้รับกระทบจากปัญหา Climate change อย่างมาก โดยปัญหานี้ได้ส่งผลกระทบไปทั่วโลก ถือว่าหนักหนาสาหัส อย่างเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกาหลีใต้ภายในวันเดียวหลังจากที่มีฝนตกหนัก หรือที่อิตาลีธารน้ำแข็งยุบตัวหายไป

อย่างไรก็ตาม ทั้งโลกกำลังตื่นตัวลดภาวะโลกร้อน ไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้นไปอีก 1.5 องศาเซลเซียส และมีมาตรการที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในรายงานของ World Economic Forum หรือ WEF เปิดรายงาน 20ประเทศในกลุ่มอียู ได้ออกมาตรการทางการคลังกับสินค้าจากประเทศที่สาม เพื่อบรรลุเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจก และการแข่งขันที่เป็น ธรรม หรือที่เรียกว่า Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM)  เป็นเป้าหมายที่กดดันให้ทุกธุรกิจ ตื่นตัวลดโลกร้อน  ซึ่งตอนนี้มีสินค้า 5 ตัวที่อยู่ในมาตรการ ได้แก่ เหล็ก-อลูมิเนียม ซีเมนต์ แก้ว  ปุ๋ย และถ่านหิน และมีแนวโน้มจะขยายไปที่ตัวที่ 6 คือสินค้าเกี่ยวกับยานยนต์ หรือขยายอียูอาจขยายกลุ่มสินค้าไปมากกว่านี้ ไปถึงพวกกลุ่มเครื่องดื่มหรือสินค้าเกษตร ก็จะเป็นตัวผลักดันให้ ภาคอุตสาหกรรมทั่วโลกรวมทั้งไทย ต้องตื่นตัวทำอย่างไรถึงจะให้คาร์บอน ฟุตพริ้นของตัวเองเล็กลง และนอกจากCBAM ของอียูแล้ว หลายประเทศทั้งแคนาดา สหรัฐ เกาหลีใต้ก็กำลังพิจารณาการนำเอามาตรการทางภาษีมาใช้ควบคุมคาร์บอน ฟุตพริ้น ในสินค้าแต่ละอย่างด้วยเช่นกัน ดังนั้น  ประเทศไทยเองทั้งภาครัฐและเอกชน จึงต้องมาร่วมมือกันทำอย่างไร เราถึงจะเติบโตได้อย่างยั่งยืน สามารถทำธุรกิจกับนานาประเทศได้สอดคล้องกับความยั่งยืน หรือ SDG ตามทางรัฐบาล ได้ไปทำข้อตกลงในที่ประชุมCOP26 ที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศอังกฤษ ซึ่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศที่จะให้ไทยมีความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี ค.ศ. 2050 และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ได้ในปี ค.ศ. 2065   

วราวุุธ ศิลปอาชา รมว.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บรรยายปัญหาClimate change กดดันให้ทุกคนต้องช่วยลดก๊าซเรือนกระจก


“พูดไปแล้วหลายคนอาจตั้งคำถามว่าไทยจะทำได้หรือไม่ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิให้เป็น 0 ไม่ใช่เรื่องง่าย ผมต้องเรียนว่าไทม์ไลน์เดิมของประเทศไทยไม่ใช่ 2050 หรือ 2065  แต่ไทม์ไลน์ที่เราวาไว้เดิมาคือ  ค.ศ.2065 กับ2090 แต่ก่อนเดินทางไปประชุมCOP26 ประมาณ 2-3อาทิตย์ ได้มีท่านฑูตของอียู 20 ประเทศให้เกียรติมาเยี่ยมผมที่กระทรวง และมีการพูดคุยว่าทำอย่างไรที่ประเทศไทยจะทำให้ไทม์ไลน์การทำคาร์บอนเป็นกลาง และ Net Zero ของก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ สั้นลง ซึ่งมีการเจรจากันว่า หากไทยปรับลดไทม์ไลน์ลงมาเร็วขึ้น จะต้องมีการช่วยเหลือเรา 3อย่างคือ 1.การได้เงินทุนสนับสนุน 2.การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับไทย 3.การสอนถ่ายทอดความรู้ให้กับไทย ” 

นายวราวุธกล่าวอีกว่า หลังจากปรับไทม์ไลน์ ทางทส. ระหว่างทางก่อนถึงปีเป้าหมายคาร์บอนเป็นกลางใน ปี2050และก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2065  ในปี2030 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า ไทยก็ตั้งเป้าที่ต้องลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้ 40% จากเดิมที่มีเป้าหมายลด 30% ซึ่งการลดอีก 10% ที่เป็นการลดเพิ่มนี้ะต้องมาจากการช่วยเหลือนานาประเทศ ทั้งเงิน เทคโนโลยีและความรู้ และเราเริ่มจากเรื่องพลังงานทดแทน ที่เราจะต้องใช้มากขึ้น ทั้งพลังงานลม แสงแดด การส่งเสริมใช้รถอีวี  หรือการใช้ปูนซิเมนต์ ที่ไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือปอร์ตแลนด์ซิเมนต์ จากเดิมที่การผลิตปูนซิเมนต์ 1 ตันก็จะปล่อยก๊าซเรือนกระจก 1ตันเท่ากัน การปรับปรุงการทำนา ที่ปล่อยก๊าซมีเทน หรือเป็นหนึ่งในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด ยังไม่รวมภาคปศุสัตว์จากมูลสัตว์ ที่เป็นหนึ่งภาค มาลดก๊าซ การปรับปรุงขยะจากภาคอุตสาหกรรม 


“หากทุกประเทศลดการปล่อยคาร์บอนได้ ก็จะนำไปสู่เป้าหมายการลดอุณหภูมิโลกไม่ให้เกินกว่า 1.5 องศาเซลเซียส และเคยมีคนถามว่าแค่ 1.5 องศาเซลเซียส มันจะอะไรกันนักกันหนา ต้องเรียนว่าโลกใบนี้เปรียบเสมือนมนุษย์คนหนึ่งมีความเปราะบาง มีความอ่อนไหวมาก อุณหภูมิร่างกายมนุษย์อยู่ที่ 37.5องศาเซลเซียส ถ้าเพิ่มอีก 1.5 ก็จะเท่ากับ 39 หรือเพิ่มไป 2.5 เท่ากับ 40 คงต้องเข้าโรงพยาบาลเลย ดังนั้น วันนี้ถ้าเราไม่ทำอะไรเลยโลกของเราก็จะป่วยขึ้นๆ และมนุษย์ก็จะป่วยตาม ดังนั้น เป็นสาเหตุที่ประเทศไทยต้องเข้าร่วมกับนานาประเทศเพื่อลดโลกร้อน   และหลังโควิด 19 ถือว่าเป็นสัญญาณเตือนจากธรรมชาติ ที่เราปู้ยี้ปู้ยำโลกใบนี้มาต้องหยุด ช่วงโควิดธรรมชาติกลับมาอุทยานแห่งชาติเราฟื้นตัว ดังนั้นการที่จะสร้างเศรษฐกิจมั่นคง ไม่สร้างปัญหาลูกหลาน โมเดลเศรษฐกิจใหม่ใหม่จึงต้องคิด เศรษฐกิจสีเขียวหรือบีซีจี “


ด้านความตื่นตัวเกี่ยวกับการลดก๊าซเรือนกกระจก นายวราวุธกล่าวว่าเรื่องการซื้อขายคาร์บอน หรือที่เรียกว่าคาร์บอนเครดิต  องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก(มหาชน) จะมีการออกข้อกำหนดการซื้อขายหน่วยคาร์บอนเครดิตในวันที่ 21 กันยายน ที่จะถึงนี้  ซึ่งขณะนี้ ต้นทุนกักเก็บจับก๊าซเรือนกระจก 1 ตันอยู่ที่ 100 เหรียญ  ซึ่งในอนาคต เราจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ เพื่อดักจับคาร์บอน  โดยภาคอุตสาหกรรมที่จะใช้เทคโนโลยีมาช่วยมากที่สุดคือ ภาคพลังงาน ซึ่งการผลิตก๊าซธรรมชาติแต่ละครั้งจะมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาประมาณ 30%  ซึ่งเทคโนโลยีดักจับคาร์บอน จะทำให้คาร์บอนกลายเป็นของเหลว หลังจากนั้นจะมีการวอัดกลับลงไปใต้ดินใหม่  หรือที่เรียกว่า CCS  

“รัฐบาลได้มุ่งเน้นขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ Bio-Circular-Green Economy: BCG Model  สร้าง new S-Curve ทางเศรษฐกิจให้กับประเทศในระยะยาว และยังให้ความสำคัญกับการมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มข้น ซึ่งไม่อาจบรรลุได้ด้วยการดำเนินงานของภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว แต่ภาคีการพัฒนาทุกภาคส่วน ทั้งภาคเอกชน สถาบันการศึกษา ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม รวมถึงภาคประชาชน จะต้องเข้ามาร่วมกันคิด ร่วมกันทำ ร่วมกันรับผิดชอบ “นายวราวุธกล่าว

สราวุฒิ อยู่วิทยา  ซีอีโอ กลุ่ม TCP ยักษ์ใหญ่ธุรกิจเครื่องดื่มที่ลุกขึ้นมาปลุกให้ทุกภาคส่วนตื่นตัวสร้่างความยั่งยืน โดยแบ่งปันความรู้ให้กันและกัน

เจ้าภาพของงานรวมตัวปลุกพลังความยั่งยืน นายสราวุฒิ อยู่วิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มธุรกิจ TCP  กล่าวในหัวข้อ “ก้าวข้ามความท้าทาย สู่การเปลี่ยนผ่านธุรกิจที่ยั่งยืน” ว่า การเกิดขึ้นของเวทีเสวนาในวันนี้เป็นความตั้งใจที่จะปลุกพลังความร่วมมือกับพันธมิตรในทุกภาคส่วนเพื่อก้าวข้ามความท้าทายและขับเคลื่อนความยั่งยืนในประเด็นสำคัญเรื่อง 


“เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจคาร์บอนต่ำ และการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน” ผ่านความร่วมมือกันอย่างจริงจัง  พร้อมแบ่งปันทรัพยากรและองค์ความรู้ และต้องมีการปรับตัวและตั้งเป้าหมายที่เป็นจริงได้ เปลี่ยนความ “เป็นไปไม่ได้” ให้ “เป็นไปได้” ซึ่งการเปลี่ยนผ่านครั้งนี้เป็นแนวคิดสอดคล้องกับเป้าหมายของกลุ่มธุรกิจ TCP ที่ต้องการ “ปลุกพลัง เพื่อวันที่ดีกว่า” สำหรับสังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม
 ซีอีโอ TCP กรุ๊ป เล่าถึงที่มาของแนวคิดที่จะเปลี่ยนผ่านธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนอย่างจริงจังว่า ช่วงที่เกิดโควิด 19  ปีที่แล้วซึ่งหนักมากๆ ได้มานั่งคิดกับผู้บริหาร TCP ว่าโลกเปลี่ยนได้เร็วขนาดนี้แล้วเราจะทำยังไง แน่นอนว่าโควิด19 เป็นตัวกระตุกความคิดพวกเราทุกคน ว่าในวันนี้โลกเกิดความไม่ยั่งยืน ไม่มั่นคงได้ เช่น หลังเกิดโควิดทำให้ตกงานทันที  ทำให้เห็นว่าแม้โควิดที่ตัวเล็กนิดเดียว มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น แต่สามารถสร้างความปั่นป่วนให้กับโลกทั้งใบได้  แต่มองอีกมุมหนึ่ง อยากให้มองในมุมที่โยงโควิด กับ Climate change  ซึ่งข้อดีของโควิดคือ สอนให้เรารู้ว่าทุกอย่างในชีวิตเราสามารถปรับได้  ในช่วง 2ปีที่ผ่านมา ธุรกิจของเรายังเติบโตเดินได้  เพราะการทำงานมีการปรับตัว ทำงานทางออนไลน์ ดิจิทัลแพลตฟอร์มเกิดความนิยม ทั้งที่แต่ก่อนไม่เคิยคิดทำมีการทำงานรูปแบบนี้ ซึ่งสะท้อนว่าถ้าเกิดวิกฤติจริงๆ มนุษย์เราปรับตัวได้ ขอให้มีความพยายามที่จะทำได้

ขณะเดียวกัน ปัญหาขยะล้นโลก เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่เป็นHot Topic และโยงมาถึง ธุรกิจเครื่องดื่ม  โดยเฉพาะขยะพลาสติกที่ถือว่าเป็นผู้ร้ายที่สุด แม้ทีซีพี จะใช้พวกกระป๋องมากกว่าพลาสติก แต่ขยะพลาสติกในทะเลยังเป็นปัญหาใหญ่ของประเทศไทย ตัวเลขปีที่แล้วของทางการบอกว่า เรามีปริมาณพลาสติกไหลเข้าสู่มหาสมุทร 17 ล้านตัน แน่นอนว่าทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องตั้งแต่ผู้ผลิตยันคนที่ทิ้งลงน้ำ อันนี้เป็นปัญหาสำคัญมาก ๆ ปัจจุบันทีซีพี ได้ทำงานร่วมกับ UICN หรือ องค์การระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ มาดูเรื่องพวกนี้ว่าเราจะบริหารจัดการอย่างไร เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน 


สราวุฒิ กล่าวอีกว่า ในการชับเคลื่อนเรื่องของความยั่งยืน และเศรษฐกิจหมุนเวียน ทีซีพีตั้งเป้าไว้ว่าภายในปี 2567 เราจะทำให้ 100% ของผลิตภัณฑ์ทั้งกลุ่มทีซีพี ต้องเป็นผลิตภัณฑ์ที่รีไซเคิลได้ ส่วนเรื่องความเป็นกลางทางคาร์บอน ตั้งเป้าว่าทุกการผลิตบริษัทในเครือจะทำให้เกิดขึ้นได้ภายในปี 2593 และสุดท้ายเป็นเรื่องทรัพยากรน้ำ ตั้งเป้าว่าจะคืนน้ำกลับสู่ธรรมชาติให้มากกว่าน้ำที่เราใช้ในการผลิต ภายในปี 2573 เราเรียกว่า Net Water Positive

“เป้าหมายที่กล่าว หลายคนอาจสงสัยว่าเป็นจริงได้หรือเปล่า มันยาก หรือง่ายขนาดไหน ไม่ต้องคิดครับ เป้าพวกนี้มันยาก และเป็นสิ่งท้าทาย ทำให้เราต้องมาช่วยกันคิดว่า จะเปลี่ยนความเป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปได้อย่างไร ต้องบอกว่าเราทำเรื่องนี้มานาน เพราะมีต้นแบบคุณพ่อผมคุณ เฉลิม อยู่วิทยา ทำเรื่องตอบแทนสังคม ตั้งแต่ธุรกิจยังเล็กๆ  ทำเรื่องอีสานเขียว คุณพ่อเคยตามเสด็จในหลวงร.9 ทำเรื่องน้ำในโครงการต่างๆ แต่ในวันนี้โจทย์เปลี่ยนไป ความยากคือโจทย์เราไม่ได้พูดถึงแค่ประเทศไทยอีกต่อไป แต่พูดถึงโลกใบนี้ทั้งโลก วิธีการคิด วิธีการทำ ทำอย่างไรจะไปด้วยกันได้ “


สราวุฒิ กล่าวอีกว่า บทเรียนที่ได้จากนี้ไป  เราจะเดินต่อไปสู่เป้าหมาย ความยั่งยืน  แต่การจะสู่เป้าหมายนี้ได้ ต้องมี 1. ความร่วมมือเพราะสำคัญมาก เพราะในวันนี้องค์ความรู้ที่เราจะไปสู่จุดยั่งยืนที่ต้องการได้ เราเดินคนเดียวไม่ได้ ซึ่งความร่วมมือจะมี 3 มิติ คือ ระดับภาครัฐ ที่จะช่วยส่งเสริมให้เกิดขึ้นจริง โดยเฉพาะการปลดล็อกในแง่กฎหมายที่เป็นอุปสรรค การเจรจากับต่างประเทศ การส่งเสริมให้เกิดการวิจัยมากขึ้นในประเทศ  2.การแบ่งปันทรัพยากรความรู้ เรื่องอื่นๆ เป็นความลับในองค์กรได้ แต่เรื่องความยั่งยืน เห็นว่า ไม่ควรเป็นความลับ ใครทำอะไรได้ดี ควรมาแชร์มาสอนกัน เพราะวันนี้พวกเราทุกคนกำลังแข่งกับเวลา เพื่อไม่ให้ทำให้โลกร้อนขึ้นอีก 1.5 องศาญ  ที่ทั่วโลกกำลังพูดถึง ซึ่งมันมีเดดไลน์ก็จริง แต่เดดไลน์ไม่ได้อยู่นิ่งๆ ยิ่งเราทำร้ายโลกเท่าไหร่ 1.5องศา ก็จะยิ่งใกล้เรามากขึ้น  ดังนั้น วันนี้พวกเราทุกคนกำลังแข่งกับเวลาในการแก้ปัญหา ใครทำอะไรได้ดีเราต้องมาแชร์กัน 


เรื่องที่สอง ความร่วมมือจากผู้บริโภคที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าส่วนอื่น วันนี้เราเห็นภาพน้ำท่วม เยอะแยะไปหมด วิธีแก้น้ำท่วมบ้านเราคือไปเอาขยะออกจากคลอง ก็ต้องถามว่าขยะไปอยู่ในคลองได้ยังไง  ซึ่งต้องนึกไปถึงว่าเราจะปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างไร และความเข้าใจเรื่องสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคมีมากน้อยแค่ไหน หรือแม้แต่การเลือกซื้อสินค้า เลือกซื้อสินค้าแบบไหน ซึ่งมีการวิจัยของต่างประเทศ เพื่อดูว่าผู้บริโภค 100คน มีสักกี่คนที่เลือกสินค้าที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน ซึ่งเขาพบว่ามีแค่ 20% เท่านั้น ของผู้บริโภคที่บอกว่าจะซื้อสินค้าที่เป็นกรีน  ซึ่งความเปลี่ยนแปลงในสังคมจะเกิดขึ้นได้ ตรงนี้ถือว่าเป็นเรื่องความร่วมมือที่ผู้บริโภคต้องมี

สราวุฒิ กล่าวอีกว่า เรื่องสุดท้าย เรื่องปรับตัว อย่างเรื่องบรรจุภัณฑ์ ถ้าทำแล้วราคาขึ้นไป 2เท่าตัว มันจะยั่งยืนหรือไม่ นี่คือว่าท้าทาย โจทย์เรื่องความยั่งยืน  พีซีที เราคุยกับทีม ซัพพลายเออร์ของเรา ไม่ใช่บอกว่าคุณต้องเปลี่ยนเครื่องจักรทั้งหมด เพื่อตอบโจทย์ความยั่งยืน โดยไม่สนใจ ไม่แคร์ กับต้นทุนที่มากเกินไป ซึ่งความยั่งยืนคงไม่ใช่อย่างนั้น ดังนั้น สิ่งที่คิด จึงต้องเป็นความร่วมมือทุกภาคส่วน ทั้งเอกชน ภาคสังคม และวิชาการ เราจะมาแชร์ความรู้และเวทีวันนี้ เป็นจุดเริ่มเป้าหมายที่จะทำให้เกิดความยั่งยืน และจะชวนพันธมิตรหลายๆท่าน มาทำเรื่องนี้ด้วยกันไปสู่ความยั่งยืนด้วยกัน” 


“ใครที่เก่งเรื่องไหน ยินดีที่จะสอน ทีซีพียินดีที่จะทำงานร่วมกัน และเรื่องCarbon capture เป็นเรื่องน่าสนใจมาก และเป็นเรื่องที่เราน่าจะแชร์ความรู้ให้กันและกัน  “ซีอีโอ ทีซีพี ย้ำการแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับการทำให้กิดความยั่งยีน

ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ตัวแทนคนรุ่นใหม่ ที่ชี้ให้เห็นว่าทิศทางการเติบโตของธุรกิจควรมุ่งสู่ความยั่งยืน

ภายในงานยังมีดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ กรรมการผู้จัดการสถาบันอนาคตไทยศึกษา กล่าวในห้วข้อ “ความยั่งยืน : กุญแจสำคัญในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจไทยและการสร้างคุณค่ารูปแบบใหม่” ซึ่งเน้นย้ำว่าวิกฤตโควิด 19 ส่งผลกระทบซ้ำเติมความเปราะบางของระบบเศรษฐกิจไทยที่มีปัญหาเรื้อรังมายาวนาน อีกทั้งเทรนด์โลกกำลังมุ่งหน้าสู่การสร้างมาตรฐานสากลของความยั่งยืน ส่วนตัวจึงมองว่าการพัฒนาไปสู่เศรษฐกิจสมัยใหม่ที่ยั่งยืน จะต้องมีการดึงเทคโนโลยีหรือนวัตกรรม เข้ามา ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม และการตรวจสอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมสำคัญที่สุด ภาครัฐจำเป็นต้องมีบทบาทที่ชัดเจนยิ่งขึ้นในมิติกฎกติกา

 



ขณะที่ ดร.รอยล จิตรดอน กรรมการและเลขาธิการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ และประธานกรรมการบริหารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)  กล่าวในหัวข้อ“นวัตกรรมเทคโนโลยีในการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน” ว่า ขณะที่ประเทศไทยยังคงเผชิญวิกฤตน้ำในทุกๆ ปี ทั้งปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง น้ำหลาก การวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมในการบริหารจัดการน้ำให้ชุมชนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดทั้งปีจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงเป็นการแก้ปัญหาน้ำให้เป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ด้วยการทำงานร่วมกับเครือข่ายความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ท้องถิ่น และชุมชน ที่มีศักยภาพ ที่จะบูรณาการองค์ความรู้และขยายผลนวัตกรรมการจัดการน้ำชุมชน (Rural Engineering) ร่วมกับพันธมิตรในทุกภาคส่วน เพื่อการแก้ปัญหาน้ำของประเทศได้อย่างยั่งยืน

นายยาช โลเฮีย จากอินโดรามา ยกตัวอย่างการขับเคลื่อนให้องค์กรดำเนินธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน

ด้าน นายยาช โลเฮีย ประธานคณะกรรมการด้านการดำเนินงานที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคมและการกำกับดูแล อินโดรามา เวนเจอร์ส กล่าวในหัวข้อ “rPET นวัตกรรมเปลี่ยนโลก สร้างโอกาสใหม่ด้วยแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” ว่าการขับเคลื่อนความยั่งยืน จะต้องทำผ่านกลยุทธ์ตั้งแต่ระดับโครงสร้าง กระบวนการ และที่สำคัญที่สุดคือการมีส่วนร่วมของพนักงานในทุกระดับ อินโดรามาให้ความสำคัญและใช้ความพยายามอย่างต่อเนื่อง โดยส่งเสริมการรีไซเคิล และทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอย่างใกล้ชิด ลงทุนกับคนและเพื่อโลก โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ หนึ่งในข้อพิสูจน์คือเราได้กำหนดเป้าหมายความยั่งยืนที่อิงหลักวิทยาศาสตร์ และเป็นไปตามข้อกำหนดของ SBTi (Science Based Targets initiative) ทั้งยังเป็นสมาชิกในกลุ่มที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ (SBTi Expert Advisory Group) สำหรับกลุ่มบริษัทเคมีภัณฑ์

เวทีเสวนา สร้างสรรค์นวัตกรรม รวมพลังขับเคลื่อนความยั่งยืน

ภายในงานยังเปิดเวทีระดมความคิดในหัวข้อ “สร้างสรรค์นวัตกรรม รวมพลังขับเคลื่อนความยั่งยืน” โดยมีนายขจรศักดิ์ เปลี่ยนสกุล ผู้อำนวยการสายงานซัพพลายเชน กลุ่มธุรกิจ TCP นายสาโรช ชยาวิวัฒน์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทย เบเวอร์เรจ แคน จำกัด ดร.บุตรา บุญเลี้ยง Head of Climate Resilience Office and Head of Technology Strategy and Portfolio Management บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) และคุณภคมน สุภาพพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมตลาดคาร์บอนและนวัตกรรม องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ร่วมสนทนาแลกเปลี่ยนแนวคิดเพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนอีกด้วย

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

จุฬาฯ จับมือกรม Climate Change และเครือข่ายพันธมิตรภาคเอกชน เปิดตัวหลักสูตร “TOP Green” หลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้าน Sustainability

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม หอการค้าไทย และสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ UN Global Compact Network Thailand

สภาพภูมิอากาศวิกฤตหนัก ‘ซีเค พาวเวอร์’ เดินหน้าลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ต้องยอมรับว่าตั้งแต่ต้นปี 2567 เป็นต้นมา ทั่วโลกได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวนเกิดขึ้นบ่อยครั้ง อย่างฤดูหนาวที่รัฐแคชเมียร์ประเทศอินเดียปีนี้อุณหภูมิสูงขึ้นราว 6-8 °C ทำให้ต้องเผชิญฤดูหนาวที่ไม่มีหิมะซึ่ง

'ปชน.' ชงข้อเสนอรัฐบาล ประชุมโลกร้อน 'COP29' เร่งปรับมาตรการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero

'ปชน.' ชงข้อเสนอ รัฐบาล ในการประชุมโลกร้อน 'COP29' แนะเร่งปรับมาตรการเปลี่ยนผ่านสู่ Net Zero ให้เป็นรูปธรรม-ดันร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้เกิดขึ้นภายในครึ่งปีหน้า