'ฮัทชิสัน พอร์ท 'มุ่งเเป้า 'โลจิสติกส์ สีเขียว '

ท่าเรือแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี ที่ได้รับฉายาว่าเป็น A World Class Port คือ ท่าเรือที่มีการบริการและโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือมีมาตรฐานระดับโลก ด้วยขนาดพื้นที่กว่า 6,300 ไร่ กลายเป็นประตูการค้าหลักด้านขนส่งระหว่างประเทศ ที่มีส่วนสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ ปัจจุบันท่าเรือแหลมมีท่าเทียบเรือ A,B,C,D ของบริษัทเอกชน และผู้ประกอบการอื่นๆ อีกรวมกว่า  20 ท่า อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในพื้นที่เป้าหมายของนโยบายในโครงการพัฒนาระะบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพราะนอกจากจะเป็นท่าเรือ ยังเป็นเขตพื้นที่อุตสาหกรรม การตระหนึกหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมจึงมีความอย่างยิ่ง

ล่าสุด บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย(HPT) ที่ดูแลและให้บริการท่าเทียบเรือ 6 ท่า ได้แก่  A2 A3 C1 C2 D1 และกำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาส่วนที่เหลือของท่าเทียบเรือชุด D ในพื้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งให้บริการสถานีขนถ่ายสินค้าอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบ ได้ประกาศจุดยืนการดำเนินธุรกิจในการตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน รวมไปถึงมีการนำแนวคิด GREEN มาใช้ในการพัฒนากิจการท่าเรือเพื่อความยั่งยืน

อาณัติ มัชฌิมา ประธานบริหารงานทั่วไป บริษัท ฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย กล่าวว่า  ในแผนงานเรื่องสังแวดล้อม ของบริษัท ฯ มีองค์ประกอบสำคัญ 3 ประการ คือ สิ่งแวดล้อมของเรา (Our Environment) บุคลากรของเรา (Our People) และธุรกิจของเรา (Our Business) โดยมุ่งเน้นในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการลดปริมาณขยะ ผ่าน 3 กลยุทธ์ ได้แก่

1. จัดตั้งคณะกรรมการด้านความยั่งยืน (Group Sustainability Committee: GSC) ในการจัดทำแผนงานประจำปีที่ครอบคลุมในประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล  

2. คณะกรรมการ GSC ได้รับการสนับสนุนโดยคณะทำงานด้านความยั่งยืน ซึ่งเป็นตัวแทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ใน 6 ภูมิภาค 3. ตัวแทนที่ดูแลในด้านสิ่งแวดล้อม ปฏิบัติหน้าที่เสมือนตัวกลางสื่อสารโครงการด้านความยั่งยืนแก่คณะกรรมการ GSC และคณะทำงานด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ยังมีศูนย์กลางด้านสิ่งแวดล้อม ที่มีหน้าที่จัดทำชุดเครื่องมือเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในแต่ละหน่วยธุรกิจ และยังมีหน้าที่ช่วยส่งเสริมการรับรู้และตระหนักถึงสิ่งแวดล้อมในการทำกิจกรรมประจำวัน

ในด้านพลังงานสะอาดที่ยังคงดำเนินงานต่อเนื่อง อาณัติ กล่าวว่า มีการใช้แหล่งพลังงานที่ทดแทนได้ ระบบแสงสว่างด้วยหลอด LED กับเครื่องมือขนยกที่ท่าเทียบเรือ ลานตู้สินค้า สถานีตู้สินค้าในท่าเรือ พลังงานไฟฟ้าสำหรับปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมจากระยะไกล ปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางควบคุมจากระยะไกล ปั้นจั่นยกตู้สินค้าแบบล้อยางระบบไฮบริด รถบรรทุกระบบอัตโนมัติและรถบรรทุกระบบไฟฟ้า

อาณัติ ยังกล่าวถึงแผนงานด้านสิ่งแวดล้อมในปีนี้ โดยในปี 2565 ว่า มีการเปลี่ยนหลอดไฟ LED ขนาด 900 วัตต์ เป็น 600 วัตต์ ในลานตู้สินค้า ที่ช่วยประหยัดพลังงานได้ถึง 33.33% รวมไปถึงการลงทุนซื้อปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมจากระยะไกลจำนวน 4 คัน ปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางควบคุมจากระยะไกลจำนวน 8 คัน รถบรรทุกระบบอัตโนมัติจำนวน 9 คัน และรถบรรทุกระบบไฟฟ้าจำนวน 9 คันเสริมศักยภาพของระบบจ่ายพลังงานไฟฟ้า ซึ่งในท่าเทียบเรือ D เปลี่ยนเป็นระบบไฟฟ้าได้ 90%

ส่วนท่าเทียบเรือ A และ C ยังคงมีการใช้น้ำมันในรถหัวราก  ด้วยพื้นที่ในการวางระบบไฟฟ้าที่ยังไม่เอื้อ การท่าเรือแห่งประเทศไทยสนับสนุนการจ่ายไฟฟ้าให้กับท่าเทียบเรือทุกแห่งในท่าเรือแหลมฉบัง ดังนั้นการจ่ายไฟฟ้าจึงมีเพียงพอสำหรับการปฏิบัติงาน และคาดว่าจะมีการวางแผนการดำเนินงานสำหรับเรือสินค้าแต่ละลำให้ใช้เวลาจอดที่ท่าเทียบเรือไม่นานเพื่อประหยัดพลังงานด้านการจัดการขยะ  ทางท่าเทียบเรือมีทั้งขยะเปียก และขยะแห้ง จากการติดตามตรวจสอบคุณภาพของน้ำทะเล
“ตามนโยบายของฮัทชิสัน พอร์ท ประเทศไทย  ไม่อนุญาตให้เรือสินค้าใด ๆ ที่จุดจอดเรือปล่อยทิ้งสิ่งปฏิกูล สี หรือผลิตภัณฑ์ซักล้าง โรงบำบัดน้ำเสียจะจัดการน้ำเสียทั้งหมดที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัท และเพื่อลดปริมาณน้ำเสีย ขยะทั้งหมดจะถูกคัดแยกด้วยหลักการ 3R คือ ลดปริมาณ นำกลับมาใช้ใหม่ และรีไซเคิล (Reduce, Reuse และ Recycle)”อาณัติกล่าว


ประธานฯ กล่าวอีกว่า ส่วนการบำบัดน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว จะมีบริษัทในรายชื่อของกระทรวงอุตสาหกรรมนำไปบำบัด โดยจะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพและส่งไปยังกรมควบคุมมลพิษ กรมเจ้าท่า ท่าเรือแหลมฉบังและเทศบาลนครแหลมฉบัง และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการปฏิบัติงาน มีเป้าหมายคาร์บอนไดออกไซด์ไม่เกิน 11.86 กิโลกรัม /TEU ซึ่งขณะนี้ในภาพรวมของกลุ่มฮัทชิสัน พอร์ท ทั้งไทยและต่างประเทศลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2021เฉลี่ย 2.88% และลดการปล่อยดีเซลต่อ 1 TEU เฉลี่ย 2.96%  และท่าเทียบเรือชุด D มีการพัฒนาเพื่อเป้าหมายสู่การเป็นท่าเรือสีเขียวและความยั่งยืน อย่าง ปั้นจั่นยกตู้สินค้าหน้าท่าควบคุมจากระยะไกล และปั้นจั่นยกตู้สินค้าในลานแบบล้อยางควบคุมจากระยะไกลขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้า โดยมีอัตราเฉลี่ยการประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ 75% ของการใช้พลังงานเชื้อเพลิงทั้งหมด

“รวมไปถึงการดำเนินกิจกรรมใน 2 โครงการ คือ Go Green เพื่อการส่งเสริมแนวความคิดเกี่ยวกับจากขยะสู่ทรัพยากร โดยบริษัทได้มีการรวบรวมขยะสะอาดจากท่าเทียบเรือและพื้นที่ใกล้เคียงมาเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์รีไซเคิลและบริจาคให้กับประชาชนในชุมชน อาทิ กระดาษที่เหลือใช้ และโครงการ Dock School เป็นการสนับสนุนให้โรงเรียนริเริ่มจัดกิจกรรม โรงเรียนสีเขียว (Green Dock School) ของตนเอง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้กับนักเรียนและพัฒนาศักยภาพในด้านสิ่งแวดล้อมให้แก่พวกเขา ด้วยการปลูกต้นไม้และจัดกิจกรรมรีไซเคิล เป็นการให้ความรู้และช่วยปกป้องสิ่งแวดล้อมได้ในระยะยาว” อาณัติ บอกแนวคิด 2 โครงการสีเขียว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

รมว.สุชาติ ลงพื้นที่เชียงราย ลุยพัฒนาแรงงานด้านโลจิสติกส์

วันที่ 26 มกราคม 2566 นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน พร้อมผู้บริหารกระทรวงแรงงาน ลงพื้นที่จังหวัดเชียงรายเยี่ยมชมการฝึกหลักสูตรเทคนิคการขับรถลากจูง

‘ศักดิ์สยาม’ เปิดสัมมนา ‘โลจิสติกส์ภูมิภาคอาเซียนท่ามกลางกระแสคลื่นแห่งความยากลำบากฯ’ กระชับความสัมพันธ์และความร่วมมืออันดีระหว่างไทย - ญี่ปุ่น

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายคาสุยะ นาชิดะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย กล่าวสุนทรพจน์เปิดงานสัมมนา เรื่อง “โลจิสติกส์ภูมิภาคอาเซียนท่ามกลางกระแสคลื่นแห่งความยากลำบาก - สถานการณ์ปัจจุบันในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งเน้นที่ประเทศไทย”