อพท.นำร่องอีสานใต้'เที่ยวแบบใหม่'นักท่องเที่ยวปลูกป่าชดเชยปล่อยก๊าซคาร์บอน

การส่งเสริมการพัฒนาโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) ในระดับชุมชน ถือเป็นแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ที่ช่วยสร้างและกระจายรายได้จากฐานทรัพยากรในพื้นที่ และส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวไปพร้อมกัน องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน หรือ อพท. ได้จัดกิจกรรมต้นแบบ โดยร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่สำนักงานพื้นที่พิเศษ 2 หรือ  อพท.2 ดูแลเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ จัดกิจกรรม “ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชน”  เพื่อร่วมกันปลูกต้นรกฟ้า หรือต้นเชือก ในพื้นที่รกร้าง ณ บ้านนาหนองเชือก ตำบลเจียด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อพัฒนาให้เป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เกิดประโยชน์แก่ชุมชน และยังสอดคล้องกับแนวทาง BCG เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การท่องเที่ยวที่อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สร้างการมีส่วนร่วม มุ่งสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรต้นเชือกอันเป็นอัตลักษณ์เด่นของชุมชน  กิจกรรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก 3 หน่วยงานเป็นประธานร่วมเปิดกิจกรรม ได้แก่  จังหวัดอุบลราชธานี หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หรือ นทพ.  กองบัญชาการกองทัพไทย และองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

นายศุภภิมิตร เปาริก รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี กล่าวว่า  กิจกรรมนี้สอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดอุบลราชธานี ในด้านการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวให้มีคุณภาพและความหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การส่งเสริมการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัฒนธรรมและการอนุรักษ์  ส่วนชุมชนบ้านนาหนองเชือก เป็นโครงการนำร่องการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติ ซึ่งมีผลดีช่วยเพิ่มพื้นที่ป่าชุมชน เพิ่มทรัพยากรในการสร้างอาชีพ รายได้และกระจายรายได้  ซึ่งจะเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่นๆ ในจังหวัดอุบลราชธานี ได้เข้ามาเรียนรู้และนำไปต่อยอดเพื่อให้เกิดการบริหารจัดการและใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน 

พลโทดำรง คงเดช

พลโท ดำรงค์ คงเดช เสนาธิการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา หรือ นทพ. กองบัญชาการกองทัพไทย ในฐานะประธานร่วมในพิธีเปิดกิจกรรม กล่าวว่า  นทพ. มีภารกิจในการพัฒนาประเทศเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ ทั้งในด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ เช่น งานจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เพื่อการเกษตร  ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น การส่งเสริมอาชีพ พัฒนารายได้ สร้างความอยู่ดีกินดีให้กับประชาชน และด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เช่น การฟื้นฟูอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ การปลูกป่า การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช เป็นต้น  กิจกรรมในวันนี้สอดคล้องกับบทบาทของ นทพ. เพราะเป็นการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง และบริหารจัดการตัวเองได้อย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้ชุมชนอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ จึงมีความยินดีสนับสนุนภารกิจของ อพท. ซึ่งการสนับสนุนของ นทพ. คือ อำนวยความสะดวกในกิจกรรมการปลูกป่า การนำกำลังพล พร้อมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รถบรรทุกขนส่ง เครื่องดื่มและสิ่งจำเป็น มาสนับสนุนกิจกรรม  พร้อมกับช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งเชื่อว่าผลของโครงการจะเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน โดยเฉพาะประชาชนในเขตพื้นที่เป็นชายแดน  


ทางด้าน ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการ อพท. ในฐานะประธานร่วมในพิธีเปิดกิจกรรม กล่าวว่า กิจกรรมปลูกป่าในครั้งนี้ อพท. ได้ร่วมกับ จังหวัดอุบลราชธานี หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย คณะ วปอ. 63 หมู่สิงโต บริษัท พีทีจี เอนเนอยี่ จำกัด (มหาชน) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสำนักงานอุบลราชธานี  ภาคีเครือข่ายจังหวัดอุบลราชธานี และประชาชนในตำบลเจียด จัดให้มีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์สำคัญ 5 ข้อ ได้แก่ 1) เพื่อส่งเสริม สนับสนุน การท่องเที่ยวกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมระหว่าง หน่วยงานภาครัฐ สถาบันการศึกษา ภาคเอกชนและชุมชน เพื่อมุ่งสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และแนวทาง Bio-Circular-Green Economy Model (BCG)  2) ส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรการท่องเที่ยวในชุมชนตามความต้องการของชุมชน สร้างการรับรู้แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนในพื้นที่เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอารยธรรมอีสานใต้ให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น และเพิ่มรายได้และกระจายรายได้จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืนด้วยระบบการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเป็นระบบ และ เกิดแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน

รองผอ.อพท.กล่าวอีกว่าเทรนด์ท่องเที่ยวแบบใหม่ ที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรปและญี่ปุ่น ก็คือการเน้นเรื่องความยั่งยืนหลังจบทริปจะมีการคำนวณว่านักท่องเที่ยวได้ ได้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไปเท่าไหร่  ซึ่งจะต้องชดเชยในรูปแบบของคาร์บอนเครดิต หรือการจ่ายเงิน หรือการปลูกป่าปลูกต้นไม้ เป็นวิธีการที่เหมือนการทำบาป และไถ่บาปให้กับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ซึ่งในประเทศไทย อพท.มีนโยบายส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวลักษณะนี้ ซึ่งป่าชุมชนที่จดทะเบียนกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก ก็สามารถเข้าร่วมโครงการได้ โดยให้คำนวนณการปล่อยก๊าซคาร์บอนด์ ขายให้นักท่องเที่ยว  ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างทรัพยากรธรรมชาติไปในตัว และเป็นโอกาสใหม่ให้ชุมชนต่างๆ ในการสร้างรายได้หลังโควิด

“การปลูกป่าจะช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวและเป็นพื้นที่ป่าในชุมชน สามารถใช้สอยประโยชน์ได้โดยตรงจากป่าต้นเชือกเพื่อสร้างรายได้ เช่น การนำมาผลิตสินค้าชุมชน และประโยชน์โดยอ้อมที่ชุมชนและพื้นที่ใกล้เคียงจะได้รับคือ ต้นไม้จะช่วยดูดซับคาร์บอน  กรองฝุ่น กรองสารพิษและช่วยลดอุณหภูมิในพื้นที่ได้ อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยชุมชนในพื้นที่แห่งใหม่ในรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ หรือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) การท่องเที่ยวเชิงบำเพ็ญประโยชน์หรือการท่องเที่ยวจิตอาสา (Voluntourism) ที่จะสร้างประโยชน์ สร้างรายได้ให้แก่ชุมชน นับได้ว่าเป็นต้นแบบที่ดีในการดำเนินการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนร่วมกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม”รองผอ.อพท.กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'I LAN YOR - เกาะยอทอวิถี' คว้ารางวัลชนะเลิศ นวัตกรรมท่องเที่ยว อพท. ปี 2024

อพท. จัดการแข่งขันนวัตกรรมระดับชาติ Sustainable Tourism Innovation 2024 เสริมสร้างศักยภาพคนรุ่นใหม่ 2 ทีมสุดครีเอต 'I LAN YOR' - 'เกาะยอทอวิถี' คว้ารางวัลชนะเลิศ

จุดยืนไทยต่อเวทีโลกเดือด COP29

ไทยเป็นหนึ่งในประเทศกำลังพัฒนาติดอันดับท็อปเท็นของโลกที่มีความเสี่ยงสูงจากผลกระทบของวิกฤตสภาพภูมิอากาศในระยะยาว   EM-DAT  รายงานข้อมูล 20 ปีที่ผ่านมาจนถึงปี 2565 ประเทศไทยเผชิญกับเหตุการณ์สภาพอากาศสุดขั้ว 146 ครั้ง สร้างความสูญเสียต่อชีวิต 0.21

อพท.เปิดรับฟังความคิดเห็นหลักสูตรบริหารจัดการท่องเที่ยวยั่งยืน

การจัดการการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเป็นแนวทางสำคัญที่ต้องได้รับความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ล่าสุด ดร.ชูวิทย์ มิตรชอบ รองผู้อำนวยการองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมถอดบทเรียนแนวทางการส่ง

'นักวิชาการ' ย้อนถาม การแบ่งปันคาร์บอนจากป่า กลุ่มทุนได้คาร์บอนด์เสริม ชาวประชาได้อะไร

นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เรื่อง การแบ่งปันคาร์บอนจากป่า กลุ่มทุนได้คาร์บอนด์เสริม รัฐได้เพิ่มป่า ชาวประชาได้อะไร?... มีเนื้อหาดังนี้