'ท็อป-วราวุธ' คุยหมอกควันภาคเหนือดีกว่าปี 64​ ถึง​ 70%

“วราวุธ” เผย​ สถานการณ์หมอกควันภาคเหนือปีนี้ดีกว่าปี64​ ถึง​ 70% แต่มีบางพื้นที่​ PM2.5 ยังสูง​ สั่งกรมควบคุมมลพิษประสานเลขาฯอาเซียนขอเพื่อนบ้านกวดขันตามชายแดน

22 มี.ค. 2565 – เมื่อเวลา​ 08.25​ น.​ ที่ทำเนียบรัฐบาล​ นายวราวุธ​ ศิลปอาชา​ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม​ (ทส.)​ให้สัมภาษณ์ถึงการลงพื้นที่ติดตามการเตรียมความพร้อมแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ ที่ จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน เมื่อช่วงวันหยุดที่ผ่านมา​ ว่า สถานการณ์หมอกควันของปี 65 70 ดีกว่าปี 64 ถึง​ 70% ดูได้จากจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นั่นหมายความว่าสิ่งที่กระทรวง​ ทส.และประชาชนร่วมมือกับทุกๆหน่วยงาน เร่งลดดูดความร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศไทยให้ลดไปได้มากพอควร แต่ในบางพื้นที่ปริมาณ PM 2.5 ก็ยังมากพอสมควร เนื่องจากได้รับมลภาวะจากประเทศเพื่อนบ้าน จึงได้กำชับกรมควบคุมมลพิษให้ประสานงานไปยังเลขาธิการอาเซียน เพื่อประสานไปยังประเทศเพื่อนบ้านช่วยกวดขันมาตรการหมอกควันข้ามแดน อย่างไรก็ตาม สำหรับ จ.แม่ฮ่องสอน ยังถือว่ามีจุดความร้อน ปริมาณสูงกว่าพื้นที่อื่นๆในภาคเหนือ ตนได้นั่งเฮลิคอปเตอร์ตรวจสถานการณ์ในจังหวัดดังกล่าวพร้อมทั้งกำชับผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เร่งประชาสัมพันธ์กวดขันเรื่องจุดความร้อนไม่ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ป่า ขณะที่นายกรัฐมนตรีได้กำชับด้วยความเป็นห่วง และตนได้รายงานสถิติ ตัวเลขนับเวลาเดียวกันระหว่างปี 6​4​ กับปีนี้ ว่าเรายังอยู่ในสถานการณ์ที่ดีกว่าที่เป็นมา รวมทั้งรายงานให้นายกฯทราบว่าปริมาณ PM 2.5. ในบางพื้นที่ยังส่งผลกระทบต่อประชาชนอยู่

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'หมอชูชัย' ชงยุทธศาสตร์แก้ PM2.5 หนุน HIA สร้างความเข้มแข็งชุมชนท้องถิ่น ภาคธุรกิจร่วมรับผิดชอบ

'หมอชูชัย' ชี้ปัญหาหมอกควันและฝุ่น PM 2.5 เป็นปัญหามลพิษทางอากาศที่สำคัญ เกิดขึ้นต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปี ยังไม่ได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง เสนอยุทธศาสตร์สนับสนุน HIA สร้างความเข้มแข็งอบจ.และชุมชนท้องถิ่นทั่วประเทศ เรียกร้องภาคธุรกิจมีความรับผิดชอบพัฒนาอย่างยั่งยืน

จับตาทิศทางแก้ฝุ่น PM2.5 ปี 2567

ปัญหาสิ่งแวดล้อมอันดับต้นๆ ที่คนไทย โดยเฉพาะคนกรุงเทพฯ เชียงใหม่ และหลายจังหวัดภาคเหนือตอนบนเผชิญทุกปี และรับรู้ได้ชัดเจน คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ที่ลอยปะปนในอากาศ หายใจเอาฝุ่นพิษเข้าไป  แม้อนุภาคจะเล็กมาก แต่เชื่อมโยงกับปัญหาสุขภาพมากมาย

สถานการณ์ปัญหาหมอกควันในประเทศไทย

ปัญหาหมอกควันมีมานานนับกว่า 10 ปีแล้ว แต่รุนแรงขึ้นมากอย่างที่เห็นได้ชัดในช่วง 2 - 3 ปีหลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางภาคเหนือของประเทศไทยจะถูกปกคลุมด้วยหมอกควันระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายนของทุกปี