ในช่วงหน้าแล้งของทุกปี จังหวัดเชียงใหม่ ต้องประสบปัญหาฝุ่นควันปกคลุม โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน และความเสียหายทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวจำนวนมาก สาเหตุหลักของฝุ่นควัน รับรู้กันว่า เกิดจาก การเผาในพื้นที่ป่า การเผาในพื้นที่เกษตรกรรม การเผาในพื้นที่โล่งแจ้ง และมลพิษทางอากาศจากเครื่องยนต์ รวมถึงปัญหาหมอกควัน ไฟป่าจากพื้นที่ข้างเคียง ปริมาณมากจนสะสมกลายเป็นฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า PM 2.5
ทางด้านรัฐบาลแก้ปัญหาฝุ่นควันที่บางปีถึงขั้นวิกฤต โดยคณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2562 ให้การแก้ปัญหาPM2.5 เป็นวาระแห่งชาติ และมอบหมายให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติจัดทำแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนใน 3 มาตรการ ได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) และการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการมลพิษ
ขณะที่ คนภาคเหนือได้ขับเคลื่อนการแก้ปัญหากันเอง ด้วยการตั้ง 9 ภาคีสภาลมหายใจภาคเหนือ ได้แก่ สภาลมหายใจภาคเหนือ สภาลมหายใจเชียงราย สภาลมหายใจเชียงใหม่ สภาลมหายใจน่าน สภาลมหายใจพะเยา สภาลมหายใจแพร่ สภาลมหายใจแม่ฮ่องสอน สภาลมหายใจลำปาง และสภาลมหายใจลำพูน เพื่อร่วมมือกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศภาคเหนือ
โดยเฉพาะสภาลมหายใจเชียงใหม่ ที่เจอปัญหาฝุ่นควันพิษหนักสุด ได้ทำข้อเสนอ8 ข้อ ที่ดำเนินการในปี 2565 ดังนี้ 1.ติดตั้งเครื่องวัดคุณภาพอากาศขนาดเล็กที่มีประสิทธิภาพให้ครอบคลุมทุกตำบลใน 8 จังหวัดภาคเหนือ 2.สร้างเวทีการมีส่วนร่วมอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี 3.ใช้มาตรการเชิงรุกเปลี่ยนการเผาภาคเกษตรให้เป็นวิธีการอื่น 4.จัดการไฟป่าชุมชนและท้องถิ่น โดยกำหนดมาตรการระดับพื้นที่ และสร้างพื้นที่ต้นแบบทุกจังหวัด 5.พัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในทุกจังหวัดอย่างทั่วถึง เท่าเทียม 6.แก้ไขปัญหาฝุ่นควันข้ามแดนเชิงรุก ที่เกิดจากพื้นที่เกษตรอุตสาหกรรม 7.ส่งเสริม พ.ร.บ.อากาศสะอาด ผลักดันสิทธิเข้าถึงอากาศสะอาดของประชาชนตามกฎหมาย และ 8.รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจแก่ชุมชนต่อเนื่องตลอดทั้งปี เปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพเป็นสาธารณะ
ในประเด็นการตรวจวัดคุณภาพอากาศ เพื่อหาต้นตอของฝุ่น ว่าเกิดจากสาเหตุอะไรเป็นหลัก เมื่อเร็วๆนี้ บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช ประเทศไทยได้จับมือสภาลมหายใจเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สนับสนุนโครงการวิจัย”บ้านสู้ฝุ่น” ที่เป็นโครงการต้นแบบ ในการจัดการพื้นที่สีเขียวด้วยการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นภายในครัวเรือน เพื่อลดปัญหามลพิษทางอากาศและฝุ่นละอองขนาดเล็ก ในจ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ประสบปัญหามลภาวะรุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย
โดย”บ๊อช “ได้ติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละออง ในบริเวณชุมชนหมื่นสาร ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เมื่อช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 ที่ผ่านมา เพื่อวัดค่าคุณภาพอากาศ โดยพุ่งเป้าไปที่ระดับปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM2.5 ในบริเวณพื้นที่รอบชุมชนหมื่นสาร นอกจากนั้น ยังร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการสนับสนุนการติดตั้งเครื่อง “DustBoy” ซึ่งเป็นอุปกรณ์ตรวจวัดฝุ่นละอองขนาดเล็กด้วยระบบเซ็นเซอร์ที่พัฒนาโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย
สำหรับ การทำงานของเครื่อง วัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองของบ๊อชนั้น สามารถเก็บข้อมูลดัชนีคุณภาพอากาศในพื้นที่วิจัยแบบเรียลไทม์ ที่สำคัญ ยังเป็นการเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของดัชนีคุณภาพอากาศและค่าฝุ่นละอองอีกด้วย ซึ่งข้อมูลที่จะได้จะช่วยให้นักวิจัยสามารถระบุได้ว่า ฝุ่นที่เกิดขึ้นนั้นมีต้นตอจากสาเหตุอะไร และการปลูกพรรณชนิดใดที่จะสามารถดูดซับฝุ่นละอองขนาดเล็กในบริเวณนั้น ๆ ได้
ในเรื่องของพรรณไม้ช่วยแก้ปัญหาฝุ่น เบื้องต้นผลวิจัยบ่งชี้ว่า พืชพรรณบางชนิดที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น มีลักษณะของใบเรียวเล็ก ผิวหยาบ มีขน และเหนียว มีลำต้นและกิ่งก้านพันกันสลับซับซ้อน และพืชที่มีใบขนาดเล็กจำนวนมาก สามารถช่วยดูดซับมลพิษทางอากาศได้ ผลการศึกษาวิจัยนี้ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างพื้นที่สีเขียวเพื่อลดผลกระทบจากปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งจะช่วยให้ประเทศไทยมีอากาศที่ดีขึ้น
โจเซฟ ฮง กรรมการผู้จัดการ บ๊อช ประเทศไทย และประเทศลาว กล่าวว่า บ๊อซ ดำเนินงานอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมที่จะช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองของบ๊อชนับเป็นตัวอย่างที่ชัดเจน ปัญหามลพิษทางอากาศเป็นหนึ่งในปัญหาที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพของผู้คนและสภาพแวดล้อม จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่นวัตกรรมของบ๊อชสามารถช่วยสนับสนุนการสร้างอนาคตที่มาพร้อมอากาศบริสุทธิ์ให้เป็นจริงได้
อินทิรา ปาร์ค ผู้จัดการสื่อสารองค์กรประจำประเทศไทย บริษัท โรเบิร์ต บ๊อช ประเทศไทย กล่าวว่า บ๊อช ดำเนินงานภายใต้พื้นฐานความยั่งยืนและให้ความสำคัญกับอากาศสะอาด ส่วนการร่วมแกัปัญหาฝุ่นคว้นที่เชียงใหม่ ปัจจัยหลักมองว่าเชียงใหม่มี ปัญหาเรื่องPM 2.5 สาหัสมาก ขณะเดียวกันก็มีเครือข่ายแกัปัญหาที่ดี และยังมีศูนย์วิทยาศาสตร์ภาคเหนือ จึงคิดว่าเป็นชัยภูมิที่ดีในการศึกษาเรื่องนี้ ตลอดจน โซลูชั่นเครื่องวัดคุณภาพอากาศของบ๊อช ยังสามารถวัดค่าฝุ่นได้ในเชิงลึก แยกแยะได้ว่าฝุ่นที่ล่องลอยในอากาศนั้น เกิดจากการเผาไหม้ตามพื้นที่ต่างๆ หรือมาจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์ เพราะต้องยอมรับว่าเมืองเชียงใหม่เอง มีปัญหาการจราจรหนาแน่นมาก มลภาวะจากรถยนต์ ก็น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างปัญหาฝุ่นด้วยเช่นกัน
” ในการทำกิจกรรมบ้านสู้ฝุ่น ต้องขอบคุณ ม.เชียงใหม่ ที่ทำให้เรารู้จักสภาลมหายใจเชียงใหม่ ซึ่งมีเจตนาตรงกันในเรื่อง การสื่อสารเรื่่องอากาศสะอาดเหมือนกับบ๊อช ตลอดจนเชียงใหม่มี pain point เรื่องมลภาวะทางอากาศ ที่ย่ำแย่มาหลายปี จึงคิดว่า โซลูชั่นของบ๊อช ที่สามารถวัดค่าฝุ่นได้เชิงลึก หลากหลาย น่าจะช่วยวิจัยปัญหานี้ได้ แม้จะยังไม่ได้ผลสรุป เพราะติดขัดปัญหาทางเทคนิคบางประการ ซึ่งทางบ๊อช ที่เยอรมันกำลังดูให้ แต่ตามแผนจะต้องสามารถเห็นข้อมูลได้ทุกจุดที่มีการติดตั้งเครื่องวัด โดยโครงการที่ร่วมทำกับ ม.เชียงใหม่ จะเป็นโครงการนำร่อง ในอนาคตบ๊อชอาจร่วมมือกับภาคส่วนอื่นๆ ต่อไป”
อินทิรา บอกอีกว่า ไม่ได้มีแต่ที่เชียงใหม่เท่านั้น ก่อนหน้านี้ บ๊อช ก็มีประสบการณ์นำเทคโนโลยีวัดค่าฝุ่น ไปติดตั้งที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษมาแล้ว โดยติดตั้งไป 20 ตัว ข้อมูลที่ได้ สามารถลิงค์ กับกล้องวงจรปิดหลายชุด และนำข้อมูลมาแก้ปัญหาฝุ่น โดยใช้การปล่อยไฟจราจรมาเป็นตัวช่วย และข้อมูลนี้ยังสามารถนำมาใช้เพื่อวางผังเมืองได้อีกด้วย หรือนำไปใช้กับปัญหาอื่นๆ ขึ้นกับบริบทของแต่ละพื้นที่
“บ๊อชเอง เราเป็นผู้นำผลิตส่วนประกอบรถยนต์ Neutral Technology และมุ่งมั่นเรื่องทำอากาศสะอาดขึ้น ในช่วง 10-15 ปี ข้างหน้าก่อนที่รถยนต์ไฟฟ้าแพร่หลาย เราก็จะขอมีส่วนร่วมทำอากาศสะอาดไว้ก่อน”อินทิรากล่าว
รศ.ดร. สมพร จันทระ หัวหน้าศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ภายใต้ความร่วมมือกับ บ๊อช ทำให้เราเข้าถึงเทคโนโลยีที่จะช่วยติดตามสถานการณ์ค่าดัชนีคุณภาพอากาศในบริเวณที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น รวมไปถึงช่วยให้เราสามารถศึกษาและบอกได้ว่าการปลูกพรรณไม้สู้ฝุ่นมีส่วนช่วยทำให้คุณภาพอากาศในบริเวณนั้น ๆ ดีขึ้นได้มากน้อยอย่างไร
สุรีรัตน์ ตรีมรรคา รองประธานคณะกรรมการอำนวยการ สภาลมหายใจเชียงใหม่ กล่าวว่า “โครงการ “บ้านสู้ฝุ่น” มีเป้าหมายที่สนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันควบคุมปัญหามลพิษทางอากาศ หากทุกภาคส่วนช่วยกันแล้ว เราจะสามารถตระหนักและรับรู้ถึงปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และทำให้เมืองเชียงใหม่กลับมาเป็นเมืองที่น่าอยู่อีกครั้ง
มร.ฮง กล่าวปิดท้ายว่า เทคโนโลยีขับเคลื่อนของบ๊อช ถือว่าสอดคล้องไปกับทิศทางการขยายตัวของสังคมเมืองทั้งในประเทศไทย และในระดับโลก ที่ต้องมีทั้งความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และความยั่งยืน รวมไปถึงสามารถปกป้องชีวิตและสุขภาพของเราได้ ซึ่งความยั่งยืนนั้นเป็นแนวคิดหลักของผลิตภัณฑ์ของบ๊อช ที่ต้องการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้คนอย่างยั่งยืน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กองกำลังผาเมือง ปะทะเดือดแก๊งยานรก ชายแดนอำเภอฝาง ยึดยาบ้า 3 แสนเม็ด
กองกำลังผาเมือง โดย พลตรี กิดากร จันทรา ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมือง(กกล.ผาเมือง) มอบหมายให้ พันเอก อำนาจ วชิรศักดิ์โสภานะ ผู้บังคับหน่วยเฉพาะกิจไชยานุภาพ เป็นผู้แทน ผู้บัญชาการกองกำลังผาเมือง พร้อมด้วย รองผู้บังคับกองบังคับการผาดำ
เปิดภาพ 'แม่คะนิ้ง' เกิดครั้งแรกหน้าหนาวปีนี้ 'กิ่วแม่ปาน' ยะเยือก 4 องศา
จังหวัดเชียงใหม่ยอดดอยอินทนนท์หนาวจัด เกิดเหมยขาบแรกแห่งปี อุณหภูมิต่ำสุด 4 องศาเซลเซียสที่กิ่วแม่ปาน พบบริเวณลานจอดตรงข้ามพระมหาธาตุเจดีย์ บรรยากาศ ยอดดอยและกิ่วแม่ปานอากาศเปิด คุณภาพอากาศดีมาก
ครม.สัญจรเชียงใหม่ทุ่มทุนจัดเต็มรับ 'นางพญาอิ๊งค์'
'ศศิกานต์” เผย ครม.สัญจรเชียงใหม่พรุ่งนี้ จัดในธีมฟื้นคืนสู่ความเฟื่องฟู ขณะจว.เตรียมเสื้อผ้าฝ้ายทอมือปัก 'ลายสิริวชิราภรณ์-ลายดอกรักราชกัญญา' มอบให้นายกฯ-ครม.ใส่ประชุม
เปิดโปรแกรมทัวร์ 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรกที่เมืองเหนือ
เปิดโปรแกรม 'ครม.สัญจรอิ๊งค์' นัดแรก จัดที่แม่ริม เชียงใหม่ 29 พ.ย. ก่อนถก 'คลังสัญจร' เชียงราย ฟื้นฟูพื้นที่เศรษฐกิจ พร้อมพบประชาชน
'ดอยอินทนนท์' ต่ำสุด 10 องศา อุ่นขึ้นเล็กน้อย ชมความงาม หยดน้ำค้างบนยอดหญ้า
เพจเฟซบุ๊ก "อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่" โพสต์ภาพพร้อมข้อความว่า ดอยอินทนนท์อุ่นขึ้นเล็กน้อย แต่ยังคงอากาศหนาว
ชมความสวยงามน้ำค้างแข็งเกาะใบหญ้าขาวโพลน บนยอดดอยอินทนนท์ อุณหภูมิต่ำสุด 10 องศา
บรรยากาศเช้านี้ บนยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ อุณหภูมิต่ำสุด 10 องศา อยู่ในเกณฑ์อากาศหนาว โดยเช้านี้ก็ยังได้ชมความสวยงามของหยดน้ำค้าง