พิธีกรสาวสวยใจบุญ ได๋ -ไดอาน่า จงจินตนาการ ผู้อยู่เบื้องหลังเพจเราต้องรอด ช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ได้ออกมาเปิดใจผ่านรายการ คุยแซ่บshow ทางช่อง วัน31 ว่าที่ผ่านมาเจอบททดสอบอะไรบ้างถึงกับจิตตกจนหวิดเป็นโรคซึมเศร้า แถมยอมควักเงินส่วนตัวเกือบ 10 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด พร้อมขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนในวงการและนอกวงการที่แอบซัพพอร์ตอยู่ลับๆ จนทำให้ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี
“จุดเริ่มต้นของการทำเพจเราต้องรอด มันมาจาก จ๊ะ นงผณี เราสองคนช่วงไม่มีงานเราก็จะคุยกันตลอด แล้วจ๊ะก็บอกว่ามีคน DM มาในไอจีบอกว่าติดโควิดทำยังไงดี เราช่วยเขากัน แล้วเราอยู่ในจุดที่เราช่วยได้ แล้วพอได้มาเคสแรก มันก็มาอีกเรื่อยๆ เราก็เลยคิดว่าเราทำเพจดีกว่าเพื่อจะได้เอาทุกข้อความในเพจ จะได้มีแอดมินมาช่วย เผื่อเวลาเราทำงานจะได้มีคนรับเคสได้ ตอนที่เปิดเพจคือวันที่ 25 เมษายน ช่วงนั้นสถานการณ์มันยังไม่กลายพันธุ์ ส่วนมากถ้ารอนานเกินไปเขาอาจจะเสียชีวิต ณ ตอนนั้นทุกการประสานทุกนาทีมันมีความหมายและมีคุณค่ามาก ถ้าช้านิดเดียวมันจะไม่ทัน ตอนนี้น่าจะ 4 หมื่นราย แต่ว่า 4 หมื่นรายไม่ใช่ว่าเราช่วยเองทุกอย่าง เราก็ช่วยประสานงาน
ถ้าถามว่าเหนื่อยไหม ต้องยอมรับว่าเหนื่อย แต่พอเราเห็นรอยยิ้มของเด็กๆ เห็นคนแก่เขาหายเราก็หายเหนื่อยไม่ว่าจะเหนื่อยแค่ไหนก็ตาม ช่วงแรกๆ ที่ทำเพจ เราทำงานหนักมาก หนักขนาดที่ว่ามีคนเสียชีวิตในสายโทรศัพท์หรือวีดิโอคอลต่อหน้าเราวันละ 10-20 ราย คือวิธีการทำงานของเรา เราไม่ได้เป็นหมอ อาสาก็จะรายงานเข้ามาให้คุณหมอรู้ ซึ่งเราอยู่ในนั้นด้วย เราก็ช่วยประสาน แต่บางทีก็ไม่ทันเขาก็เสียชีวิต มันก็เลยหนัก ช่วงนั้นร้องตลอดเวลา แต่ว่ามันต้องปาดน้ำตาออกเวลาคนโทรเข้ามาเราต้องให้กำลังใจเขา แล้วเราก็ต้องห้ามอ่อนแอ เราต้องสู้ เพราะว่ามีคนที่เขาต้องการให้เราช่วย
ตอนนั้นพอหลับตาปุ๊บเราจะเห็นหน้ายาย จะเห็นหน้าศพทุกคนที่เราแบบทำไมคนนี้ช่วยไม่ได้ ทำไมคนนี้ไม่ทัน เราพลาดตรงไหน เพราะปกติเราทำงานเราจะกลับมาย้อนดูตัวเองเสมอว่าวันนี้เราพลาดตรงไหน เพื่อที่จะทำงานของตัวเองให้ดีขึ้นในวันพรุ่งนี้ ณ ตอนนั้นเราโทษตัวเองตลอดเวลา และโชคดีมากที่ตอนนั้นนิหน่าอยู่กับเราตลอด บางทีก็โทรไปกรี๊ดใส่ ร้องไห้ใส่ แล้วแบบโอเคหายแล้ว ไปรับเคสก่อนนะ มันเป็นความรู้สึกที่ว่าพอมันดาวน์แล้วมันถมแล้วทับๆ กัน มันก็เลยเหมือนต้องเคลียร์ตัวเองทุกวัน
(เห็นว่ามันคาบเกี่ยวกับคนที่จะเป็นโรคซึมเศร้า) ก็มีคนโทรมาหาเยอะมาก เพราะตอนนั้นที่มีคลิปไวรัล เหตุการณ์อย่างนั้นมันเกิดขึ้นตลอดเวลา ก็มีคุณหมอ เพื่อนๆ ที่เป็นจิตแพทย์โทรมาคุย เห้ย..ไม่ต้องห่วงเราโอเคเพราะเรารู้ตัวว่าเรากำลังจะดิ่งก็ดึงตัวเองกลับขึ้นมา ถามว่าซึมเศร้าไหมก็ไม่ซึมเศร้าหรอก แค่เข้าใจและปลงว่า เกิด แก่ เจ็บ ตาย มันเป็นเรื่องธรรมดา แต่เพียงว่าโควิดมันทำให้เราเห็นทุกอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าคนเราวันนึงมันก็ต้องตาย มันทำให้เรารู้สึกว่าเราใช้ทุกนาทีให้มีคุณค่ามากยิ่งขึ้น แล้วรักทุกคนมากยิ่งขึ้น พอช่วงเคสซาๆ แบบนี้ก็จะมีโทรไปขอโทษเพื่อนที่แบบวันนั้นกินข้าวแล้วเราไม่อยู่ตรงนั้น
(ควักเงินส่วนตัว 10 ล้านช่วย) 7 หลักก็พอ ไม่ถึง 10 หรอก แค่เกือบ เป็นเงินส่วนตัว เป็นเงินเก็บเราตั้งแต่เด็ก จริงๆ ปกติเป็นคนใช้เงินประหยัด คือปัจจัยกลักที่ไม่สามารถให้ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้คือสถานะเขาไม่อำนวย เราอาจจะไม่ได้มีเงินเยอะมาก แต่มันช่วยอำนวยความสะดวกได้ทำไมเราไม่ทำ ช่วงแรกๆ ได้สถานพยายาลแล้ว เขารับแล้ว แต่ไม่มีรถ ก็เลยซื้อรถ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แต่ทั้งหมดทั้งปวงนี่ไม่ได้เราลงคนเดียว แต่ทั้งหมดทั้งปวงนี่ส่วนนึงที่เป็นของเรา แต่ก็มีเพื่อนๆ บอกว่าพอแล้วไม่ต้องจ่าย ส่วนเรื่องว่าทำไมไม่เปิดรับบริจาค เราไม่อยากให้มีข้อครหาว่าเอาเงินไปใช้ เราใช้และบริหารให้ถูกวัตถุประสงค์อยู่แล้ว แต่เราไม่รู้ว่าคนอื่นจะคิดยังไง เพราะว่าร้อยคนก็ร้อยความคิด แต่ก็อยากขอบคุณ ขอบคุณเพื่อนๆ ทุกคนในวงการ นอกวงการที่แอบซัพพอร์ตอยู่ลับๆ โดยที่ไม่ได้บอกเราค่ะ”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โควิดพุ่ง! ติดเชื้อใหม่รอบสัปดาห์ 3,039 ราย ดับ 1 คน 'เชียงใหม่' ป่วยสูงสุด
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 22 - 28 ธันวาคม 2567 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่
'หมอยง' ชี้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนตามกาลเวลา ปีนี้ยุติแล้ว แต่ไวรัสยังอยู่ต่อไป
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า 5 ปี โควิด 19 กาลเวลาเปลี่ยน สถานการณ์เปลี่ยน
ย้อนดู 5 ปี 'โควิด 19' ความสับสนของข้อมูลในสื่อสังคมออนไลน์
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ จุฬา โพสต์เฟซบุ๊กว่า
ไทยติดโควิดใหม่รอบสัปดาห์ 549 ราย ดับเพิ่ม 1 คน
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 รายสัปดาห์ว่า ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม - 2 พฤศจิกายน 2567