บอล-ต่อพงศ์ จันทบุบผา หนึ่งในสมาชิกวง “สครับบ์” โพสต์ถึงศิลปินที่นำเพลงของสครับบ์ไปเล่นคอนเสิร์ตที่ต่างประเทศโดยไม่มีการขออนุญาตว่า
“มี Live stream ก็ต้องขออนุญาตเช่นกันครับ #fy! ...เล่นเพลงคนอื่นในต่างประเทศก็ต้องขออนุญาตนะครับ #fyi”
งานนี้ทำเอาแฟนๆต่างก็อยากรู้ว่าศิลปินคนดังกล่าวเป็นใคร ซึ่งต่อมาเจ้าตัวก็แชร์ความรู้เรื่องลิขสิทธิ์เพลงผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวโดยเนื้อหาที่แชร์มีอยู่ว่า
“รู้หรือไม่? เพลงหนึ่งเพลงมีลิขสิทธิ์อะไรประกอบอยู่บ้าง วันนี้เราจะมาเล่าให้ฟังกันว่า ‘เพลง’ มีลิขสิทธิ์อะไรเกี่ยวข้องอยู่บ้าง ใครเป็นผู้ดูแล ครอบคลุมถึงส่วนไหน และเราจะจัดการกับลิขสิทธิ์เหล่านี้ยังไง ‘เพลง’ ในโลกยุคดิจิทัลนี้จะมีลิขสิทธิ์ที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่ 3 สิทธิคือ งานสิ่งบันทึกเสียง (Sound Recording) งานดนตรีกรรม (Musical Work) และสิทธินักแสดง (Performer Right) ซึ่งจะครอบคลุมเรื่องต่างๆ ภายใต้หัวข้อนั้นๆ และมีหน่วยงานที่เข้ามาช่วยดูแลที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและกฎหมายของประเทศนั้น ๆ .งานสิ่งบันทึกเสียง (Sound Recording) – ลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งบันทึกเสียง หรือที่เรามักเรียกกันว่างานมาสเตอร์ของเพลง จะมี Music Distributor อย่าง Believe คอยเป็นผู้ดูแลสิทธิ์ในส่วนนี้ให้ ซึ่งโดยส่วนมากเจ้าของสิทธิ์จะเป็นศิลปินหรือค่ายเพลง ส่วนในบางกรณีที่เพลงนั้นๆ มีผู้ว่าจ้างผลิตเพลง สิทธิในสิ่งบันทึกเสียงนี้อาจเป็นของผู้ว่าจ้างก็เป็นไปได้เช่นกัน เช่น เพลงโฆษณาหรือเพลงประกอบภาพยนต์ ละคร ซีรีย์ การ์ตูนต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับการตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างกับศิลปิน โดยที่ Music Distributor จะเข้าไปดูแลสิทธิเหล่านี้บนโลกดิจิทัลให้กับเจ้าของสิทธิ เก็บรายได้ (Claim) กลับสู่เจ้าของสิทธิหรือระงับการใช้งาน (Block) มาสเตอร์เพลงนั้นๆ ตามหลักการสากลและความเหมาะสมในแต่ละกรณี”
“งานดนตรีกรรม (Musical Work) – ลิขสิทธิ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้ประพันธ์เนื้อร้องและทำนองเพลง รวมถึงบริษัท Publishing ที่เข้ามาช่วยดูแลสิทธิ์นี้ให้กับนักแต่งเพลงทั่วโลก โดยลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมก็จะมีองค์กรนักแต่งเพลง หรือที่ในวงการเพลงเรียกว่า Collective Management Organizations (CMOs) เข้ามาดูแล ซึ่งในแต่ละประเทศก็จะมีองค์กรในลักษณะนี้คอยดูแลอยู่.สิทธินักแสดง (Performer Right) – สิทธิส่วนนี้จะเป็นการดูแลถึงการแสดงของศิลปินหรือนักแสดง ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีคนเต้นท่า Moon Walk ของ Michael Jackson แล้วเรานึกถึง Michael นั้นคือสิทธิที่สามารถเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งถึงแม้ลิขสิทธิ์ส่วนนี้จะมีระบุอยู่ในกฎหมายลิขสิทธิ์ของประเทศไทย แต่การดำเนินงานโดยส่วนใหญ่ยังคงถูกรวมไปกับงานสิ่งบันทึกเสียง เนื่องจากตอนนี้ในประเทศไทยยังไม่มีองค์กรหรือหน่วยงานที่มากำกับดูแลลิขสิทธิ์ในส่วนนี้นั้นเอง**ข้อมูล ณ วันที่ 17 สิงหาคม 2565 #believeTH #believe #MusicInsights #MusicCopyright”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เหล่า 'Sniper' เตรียมตัวให้พร้อม พ่อพ่อ (แดน-บีม) เรียกกลับด้อม!
RS SHOWBiZ ในเครือ RS Music จัดคอนเสิร์ตใหญ่ส่งท้ายปี 2024 ในรูปแบบ Theme Concert Series ซึ่งเป็น Concept พิเศษ ตั้งใจอยากจะสร้างเพื่อต่อยอดให้ศิลปินที่มีเพลงฮิตสามารถสปริงบอร์ดโชว์รูปแบบใหม่ภายใต้ Series เดียวกัน ขอประกาศเปิดคลับรับชาว ‘Sniper’ กลับด้อมใน ‘อำพลฟูดส์ presents DAN - BEAM DREAM 2 BE CONCERT 21ST CENTURY PARTY DADDY’S CLUB’ (อำพลฟูดส์ พรีเซนต์ แดน-บีม ดรีม ทู บี คอนเสิร์ต ทเวนตี้เฟิร์ส เซนจูรี แด๊ดดี้ส์ คลับ)
'หงส์ทอง เฟี้ยวติวัล' เรียกระดมพลคนเฟี้ยว คอนเสิร์ตออนทัวร์ 10 จังหวัด!
พร้อมระเบิดความเฟี้ยวต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 กันแบบครบรสกันอีกครั้ง กับงานคอนเสิร์ต "หงส์ทอง เฟี้ยวติวัล" คอนเสิร์ตที่รวมพลคนเฟี้ยวไว้มากที่สุดในประเทศไทยก็ว่าได้ กลับมาคราวนี้เหล่าแฟนคลับต้องห้ามพลาด เพราะครั้งนี้พร้อมกลับมารันวงการความเฟี้ยวครบทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น เวที แสง สี เสียง เครื่องดื่มชื่นใจจากหงส์ทอง จุดถ่ายรูปที่เอาใจสายคอนเทนต์ พร้อมกับเซอร์ไพรส์สุดเฟี้ยวอีกเพียบ
'PALMY มิตร Universe Concert' คอนเสิร์ตแห่งปี จาก 'ปาล์มมี่' ถึงมิตรรัก
แม้คอนเสิร์ตจะจบไปแล้ว แต่ยังไม่มีใครกลับจากอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี เพราะ “Krungthai-AXA Life presents PALMY มิตร Universe Concert” เมื่อวันที่ 7,8,11 และ 12 กันยายน ที่ผ่านมา ทำถึง และทำเกิน! จนหลายคนยกให้เป็นคอนเสิร์ตที่สุดแห่งปี ทั้งสนุกที่สุด แปลกใหม่ที่สุด และคุ้มค่าที่สุด
ทั้งสนุกทั้งได้บุญ 'CUT & CON ตัดผม ชมคอนเสิร์ต' ร่วมช่วยผู้ประสบภัยน้ำท่วม
ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ร่วมปันน้ำใจ เนรมิตพื้นที่เป็น ‘ห้องตัดผมที่ใหญ่ที่สุดในโลก’ สร้างปรากฏการณ์อัศจรรย์ในงาน ‘Cut & Con ตัดผม ชมคอนเสิร์ต’ โดยสมาคมช่างผมเสริมสวย แห่งประเทศไทย กลุ่มนักร้องนักดนตรี ศิลปิน สมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทย และ พันธมิตรอีกมากมายที่มาร่วมกันจัดงานเพื่อระดมทุนช่วยผู้ประสบอุทกภัย ในวันเสาร์ที่ 14 กันยายน 2567
ชาวนากับงูเห่าของจริง! เหล่าศิลปินดังโดนคนใกล้ชิดโกงค่าตัวที่ยุโรป
เรียกได้ว่าเดือดร้อนกันถ้วนหน้าเลยทีเดียว เมื่อเหล่าศิลปิน ปีเตอร์ คอร์ป ไดเรนดัล, อี๊ด วงฟลาย และ กบ แท็กซี่ (ระหัส ราชคำ) ถูกจ้างงานให้ไปเล่นคอนเสิร์ตที่ยุโรป 5 ประเทศ แต่กลับไม่ได้รับค่าตัวครบตามที่ได้ตกลงไว้ ทำให้ต้องควักเงินส่วนตัวใช้จ่ายค่าเครื่องบิน ค่าอาหารและค่าโรงแรมต่างๆ