เมื่อปีที่แล้วมีข่าวการยุติอาชีพนักแสดงของ บรูซ วิลลิส ปรากฏออกมา สืบเนื่องจากอาการป่วย เขาได้รับการวินิจฉัยในเวลานั้นว่าเป็นความพิการทางสมอง (Aphasia) โรคที่นำไปสู่ความผิดปกติของการพูด
แต่ขณะนี้มีความชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับสุขภาพของเขา นั่นคือ ภาวะสมองเสื่อมส่วนหน้า (Frontotemporal Dementia ) ซึ่งเป็นรูปแบบหายากของภาวะสมองเสื่อมที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เซลล์ประสาทในกลีบสมองส่วนหน้าและกลีบขมับตาย โรคนี้ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ฟังดูแม้จะเจ็บปวด แต่อย่างน้อยสมาชิกครอบครัวและคนรอบข้างของนักแสดงวัย 67 ปีก็โล่งใจที่ได้รับรู้การวินิจฉัยที่ชัดเจน
ภาวะสมองเสื่อมส่วนหน้าเป็นโรคร้ายที่หลายคนอาจไม่รู้จัก แต่มันอาจส่งผลกระทบต่อทุกคนได้ “เอมมา เฮมิง-วิลลิส” ภรรยาของบรูซกล่าวว่า “บรูซเชื่อเสมอว่าเสียงของเขาสามารถช่วยเหลือผู้คน และปลุกจิตสำนึกต่อสิ่งที่สำคัญในโลกนี้ได้ เขาคงจะทำเช่นเดียวกันหากวันนี้เขายังสามารถทำได้ เพื่อให้ผู้คนได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโรคนี้ และผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัว”
บรูซ วิลลิส เกิดเมื่อปี 1955 ในเยอรมนี พ่อเป็นทหารอเมริกันประจำการในเยอรมนี แม่เป็นชาวเยอรมัน เขาเริ่มเข้าสู่แวดวงการแสดงในช่วงทศวรรษ 1970 และมาแจ้งเกิดจนมีชื่อเสียงในวงการกับหนังแอ็กชันเรื่อง ‘Die Hard’ (1988)
วิลลิสสมรสกับ “เดมี มัวร์” ในปี 1987 มีลูกสาวด้วยกันสามคน ก่อนหย่าร้างกันในปี 1998 จากนั้นเขาแต่งงานใหม่กับนางแบบ-เอมมา เฮมิง ในปี 2009 และมีลูกสาวอีกสามคน ทั้งสองครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
หนาว! ดร.อนันต์ยกงานวิจัยต่างชาติบอก 'อัลไซเมอร์' ส่งต่อจากคนสู่คนได้แต่ไม่ง่าย
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ
อึ้ง! นักไวรัสวิทยายกผลงานวิจัยไอร์แลนด์ชี้ 'อัลไซเมอร์' อาจเกิดจากจุลินทรีย์ที่อยู่ในลำไส้
ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(ไบโอเทค)
ภรรยา 'บรูซ วิลลิส' เผยถึงภาวะสมองเสื่อมของสามี
เป็นที่รับรู้กันมาตั้งแต่ต้นปีว่า บรูซ วิลลิส กำลังป่วยเป็นโรคสมองเสื่อม ครอบครัวของเขาประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ว่
หมอธีระวัฒน์ เผยวิธีการตรวจ และป้องกันโรคสมองเสื่อม
นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์เฟซบุ๊กระบุข้อความว่า
อาจารย์หมอ แนะเรียนรู้ ‘สมองเสื่อม’ แต่เนิ่นป้องกันชะลอไม่ให้ลุกลามได้
สมองเสื่อมมีหลายยี่ห้อแล้วแต่ชนิดของโปรตีนพิษบิดเกลียว ที่จะมีทางวิ่งไปยัง สมองส่วนต่างๆไม่เหมือนกัน ดังนั้นทำให้อาการที่ปรากฏขึ้นนั้น มีความผิดแผกแตกต่างกันได้