กรมอนามัย แนะแยกชุดตรวจ ATK ใช้แล้วใส่ถุงขยะสีแดง 2 ชั้นทิ้ง ไม่ควรปะปนขยะอื่นๆ

6มี.ค.65 – นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวพบมีผู้ทิ้งชุดตรวจ ATK แบบที่ใช้แล้วลงถังขยะทั่วไป โดยไม่มีการผูกมัดถุงขยะให้มิดชิดหรือเขียนป้ายบอกเตือน ทำให้ประชาชนหวั่นเกิดการ แพร่เชื้อตามจุดทิ้งขยะต่าง ๆ นั้น เนื่องจากชุดตรวจ ATK ส่วนที่ปนเปื้อนสารคัดหลั่ง น้ำมูก หรือน้ำลาย ที่ใช้ทดสอบ ถือเป็นขยะติดเชื้อ ขอความร่วมมือประชาชนที่ซื้อชุดตรวจ ATK เพื่อนำมาใช้ตรวจโควิด-19 ด้วยตนเอง ไม่ควรทิ้งลงถังขยะทันที ขอให้กำจัดอย่างถูกวิธี ซี่งหากตรวจแล้วไม่ว่าจะขึ้น 2 ขีด หรือขีดเดียว ควรจัดการเหมือนกัน เพราะอาจเป็น ผลลบปลอม และอาจปนเปื้อนเชื้อโรคอื่น ๆ ด้วย โดยวิธีการกำจัดที่ถูกต้องให้ฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ หรือราดด้วย ผงฟอกขาว แล้วมัดปากถุงให้แน่น แยกทิ้งกับขยะทั่วไปถ้าทำได้ โดยการทิ้งควรแยกเป็น 2 ส่วน คือ 1) ขยะที่ไม่ได้ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือ สารคัดหลั่ง ที่ใช้ทดสอบ เช่น เอกสารกำกับชุดตรวจ และกล่องบรรจุภัณฑ์ ขยะประเภทนี้ ให้เก็บรวบรวมทิ้งถังขยะทั่วไปที่มีฝาปิดมิดชิดได้เลย 2) ขยะที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลาย หรือสารคัดหลั่งที่ใช้ทดสอบ เช่น ตลับหรือแผ่นทดสอบ หลอดใส่น้ำยา ฝาหลอดหยดไม้ Swap ขยะประเภทนี้ถือเป็นขยะที่มีความเสี่ยงสูง ต้องแยกจัดการจากขยะทั่วไป เพราะมีโอกาสแพร่กระจายเชื้อโรคได้


นพ.สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า แนวทางการจัดการ ATK ที่ใช้แล้วอย่างถูกวิธี เพื่อลดการแพร่กระจาย ของเชื้อโรค แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 1) กรณีในพื้นที่ หรือชุมชน มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ ให้เก็บรวบรวม ขยะติดเชื้อเป็นประจำทุกวัน ใส่ถุงขยะสีแดง 2 ชั้น โดยถุงชั้นแรกที่สัมผัสขยะติดเชื้อ มัดปากถุงด้วยเชือกให้แน่น แล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากน้ำยาฟอกขาวผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้ออีกครั้ง แล้วเคลื่อนย้ายไปไว้ยังจุดพักขยะที่จัดไว้เฉพาะ ประสานไปยังหน่วยงานที่ทำหน้าที่ให้บริการเก็บขนขยะติดเชื้อในพื้นที่ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เพื่อกำหนดวิธีการนำขยะติดเชื้อไปกำจัด อย่างถูกต้องต่อไป


2) กรณีในพื้นที่หรือชุมชนไม่มีระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อ หรือระบบการเก็บขนขยะติดเชื้อเข้าไม่ถึง ให้เก็บรวบรวมและทำลายเชื้อ โดยใส่ถุงขยะ 2 ชั้น ถุงใบแรกที่บรรจุขยะติดเชื้อแล้วให้ราดด้วยสารฆ่าเชื้อ หรือน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ จากนั้นมัดปากถุงให้แน่น แล้วฉีดพ่นบริเวณปากถุงด้วยสารฆ่าเชื้อ เช่น สารโซเดียมไฮโปคลอไรท์ 5,000 ppm หรือเตรียมจากไฮเตอร์ผสมน้ำอัตราส่วน 1 : 10 หรือแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ซ้อนด้วยถุงขยะอีก 1 ชั้น มัดปากถุงชั้นนอกด้วยเชือกให้แน่น และฉีดพ่นด้วยสารฆ่าเชื้อบริเวณปากถุงอีกครั้ง ซึ่งขยะที่ผ่านการทำลายเชื้อแล้ว ให้ประสานและนำส่งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่นำไปกำจัดเป็นขยะทั่วไป โดยหลังจัดการขยะติดเชื้อแล้ว ต้องล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ หรือเจลแอลกอฮอล์ทันที” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กรมอนามัย ชวน ชาวเน็ต ‘เล่น’ TikTok ‘เล่า’ ผ่านคลิป ‘ลุ้น’รางวัลรวม กว่า 30,000 บาท

กองส่งเสริมความรอบรู้และสื่อสารสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จัดกิจกรรมการประกวด TikTok Challenge เชิญชวนคนไทยแจกสูตรเด็ดเคล็ดลับ สุขภาพดี ทั้งกินดี นอนดี หรือ

ผงะ! ผลตรวจพบ 8 คนงาน มีสารแคดเมียมสูงเกินมาตรฐาน

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยผลการปฏิบัติงานเฝ้าระวังผลกระทบทางสุขภาพเพิ่มเติม กรณีพบกากแคดเมียมและกากสังกะสีผลการเก็บตัวอย่างแคดเมียมในปัสสาวะของพนักงานโรงงาน

Food Waste ปัญหาใหญ่ที่ซ่อนในศูนย์อาหาร

ศูนย์อาหารถือเป็นสวรรค์ของนักกิน เพราะเป็นแหล่งรวมอาหารนานาประเภท บางแห่งมีร้านดัง สะดวกสบายเพราะจัดพื้นที่ให้นั่งรับประทาน พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวก มีเมนูอร่อย จานด่วน ราคาสบายกระเป๋า ทำให้เป็นแหล่งรวมร้านอาหารและผู้บริโภคจำนวนมาก 

รัฐบาลเตือนปชช.ดูแลสุขภาพ - ติดตามพยากรณ์อากาศ

รัฐบาลห่วงประชาชน ช่วงนี้ทุกภาคทั่วไทยยังมีฝนตกหนักถึงหนักมาก แนะปฏิบัติตามคำแนะนำกรมอุตุฯ-กรมอนามัย เพื่อความปลอดภัยในชีวิต ป้องกันความเสี่ยงสุขภาพจากน้ำท่วม