มบส.ส่ง7คณะลงพื้นที่ 3จังหวัด ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก

6 มี.ค.65-ดร.สุทิพย์พร โชติรัตนศักดิ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) เปิดเผยว่า จากนโยบายของผศ.ดร.ลินดา เกณฑ์มา อธิการบดี มบส. ที่ยกระดับมาตรฐานการให้บริการทางวิชาการ มุ่งเน้นให้มหาวิทยาลัยเข้าไปช่วยในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การจัดการเรียนการสอนและการวิจัย สู่การพัฒนาความรู้ ทักษะอาชีพ และความเป็นอยู่ของคนในชุมชนท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งมีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี และมหาวิทยาลัยยังได้เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย ) หรือ U2T ของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม(อว.) ที่กำหนดให้มหาวิทยาลัยในพื้นที่เป็น System Integrator ในการจ้างงานประชาชนทั่วไป บัณฑิตจบใหม่ และนักศึกษา ให้มีงานทำและฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน ในส่วนของ มบส.ได้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวด้วย โดยรับผิดชอบ 3 พื้นที่ ได้แก่กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดสุพรรณบุรี รวม 40 ตำบล ซึ่งที่ผ่านมาทั้ง 6 คณะ 1 วิทยาลัยประกอบด้วยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะวิทยาการจัดการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย และวิทยาลัยการดนตรี ได้ลงไปทำงานในพื้นที่ต่าง ๆ ที่ได้รับผิดชอบอย่างเต็มที่ ภายใต้การดูแลป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 แบบครอบจักรวาล

ดร.สุทิพย์พร กล่าวต่อไปว่า ในปี 2565 มบส. ทั้ง 7 คณะ/วิทยาลัย ก็เริ่มทยอยลงพื้นที่ชุมชน โดยนำความเชี่ยวชาญของอาจารย์แต่ละคณะลงไปพัฒนาช่วยแก้ปัญหาให้ตอบโจทย์ชุมชน ซึ่งแต่ละพื้นที่จะมีปัญหาที่ไม่เหมือนกัน และจากสถานการณ์โควิดยอมรับว่าเราทำงานยากขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบการทำงานใหม่ ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ครอบคลุมทุกมิติและช่วยเหลือชุมชนอย่างต่อเนื่อง เช่น เดิมจัดอบรมให้ชาวบ้าน 100-200 คน ก็จะลดจำนวนลงเหลืออบรมแกนนำไม่กี่คน แล้วให้แกนนำนำความรู้ไปช่วยเผยแพร่ในชุมชนต่อไป หรือจัดอบรมออนไลน์ รวมถึงการสอนให้ชาวบ้านขายของออนไลน์มากขึ้น

ด้านผศ.ดร.หนึ่งฤทัย เอกธรรมทัศน์ ผู้ช่วยอธิการบดี มบส. กล่าวว่า การลงพื้นที่บางจุดก็จะลงเพียง 1 คณะ ขณะที่บางจุดก็ลงพร้อมกันหลายคณะ เช่น พื้นที่กรุงเทพให้ความรู้การจัดทำหลักสูตรตั้งแต่ระดับปฐมวัย อนุบาล หรือโรงเรียนสาธิต ได้เข้าไปช่วยทำสื่อการเรียนการสอน การกระดับคุณภาพการอ่าน การเขียน การวิเคราะห์ ของเด็ก ให้เด็กสามารถอ่านออกเขียนได้ ส่วนการลงพื้นที่ชุมชนบางพื้นที่ลง 1 คณะ บางพื้นที่ก็ลงไปเกือบทุกคณะ สำหรับโครงการที่โดดเด่นมากที่อำเภอบ้านแพ้วจ.สมุทรสาคร เป็นเรื่องของมะพร้าว โดยเฉพาะช่วงที่มะพร้าวราคาตกต่ำ ทางมบส. ได้เข้าไปจะไปให้ความรู้ให้แก่ชาวสวน เช่น การแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าว การทำบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เพื่อให้ได้มาตรฐาน ซึ่งทำให้ชาวบ้านสามารถขายสินค้าและมีรายได้เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ อ.อู่ทองจ.สุพรรณบุรี ลงพื้นที่ช่วยขับเคลื่อนเรื่องของสมุนไพร เพื่อต้องการพัฒนาเมืองอู่ทองให้เป็น เมืองแห่งสมุนไพรจะมีการปลูกสมุนไพรแปรรูปและส่งให้กับโรงพยาบาลต่าง ๆ

“ การลงพื้นที่ของมหาวิทยาลัยประชาชนค่อยข้างพึงพอใจอย่างมาอยากให้ประชาชนมาเข้าร่วมโครงการต่างๆของมหาวิทยาลัยมากขึ้น เพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนาชุมชน หรือกลุ่มของตนเอง ซึ่งความรู้นี้ถ้าตั้งใจจริงและนำไปต่อยอดจะทำให้เศรษฐกิจพื้นที่ดีขึ้น บางคนที่ไปทำงานในเมืองก็จะกลับมาอยู่บ้านและทำงานในชุมชน เพราะในเมืองก็ไม่มีงานให้ทำ 100 % ยิ่งเจอโควิดด้วย ลูกหลานจะกลับมาอยู่ด้วย ก็จะเกิดประโยชน์กับชุมชนท้องถิ่นจริง ๆ“ผศ.ดร.หนึ่งฤทัย กล่าว.

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

'น้องวุฒิ'ตีกลองเปิดหมวกสร้างชีวิต

ความใฝ่ฝันของพ่อแม่ผู้ปกครองส่วนใหญ่ อยากเห็นลูกได้รับการศึกษาที่ดี เพราะการศึกษาจะทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี เช่นเดียวกับครอบครัว“กีรติชัยพันธ์” ใฝ่ฝันอยากเห็น ณัฐวุฒิ  กีรติชัยพันธ์ หรือน้องวุฒิ เด็กพิเศษดาวน์ซินโดรม (Down Syndrome ) มีการศึกษาที่ดี  แต่กว่าจะผ่านการศึกษาแต่ละระดับชั้นไปให้ได้ของเด็กพิเศษ

เทศกาลสร้างสรรค์'3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน'

งานเฟสติวัลในย่านเก่าเป็นอีกกิจกรรมสร้างสรรค์ สร้างแรงกระเพื่อมให้มหานครมีมิติร่วมสมัยควบคู่ไปกับการดูแลรักษาศิลปวัฒนธรรมดั้งเดิม สีสันความสนุกที่เคลือบด้วยสาระและคุณค่าของย่านกะดีจีนจะเกิดขึ้นในงานเทศกาล ” 3 ศิลป์ 3 ศาสน์ ย่านกะดีจีน”

‘ดร.กอบศักดิ์’ ประธานบอร์ด พอช. ชวน 4 หน่วยงานสานพลัง ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก แก้ปัญหาความยากจน-ลดเหลื่อมล้ำ

เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ที่สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) อาคารจามจุรีสแควร์ เขตปทุมวัน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)

‘มิวสิควัคซีน’ลด’อัลไซเมอร์’ในชุมชน

ผู้สูงอายุต้องการความรักและความเข้าใจ การหากิจกรรมที่ผู้สูงอายุชอบ  หาโอกาสให้ออกกำลังกาย  ทำกิจกรรมสันทนาการบ้าง  ใช้ยาเฉพาะเท่าที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น สร้างบรรยากาศที่ดีในบ้านและในชุมชน จะทำให้สุขภาพกายและใจผู้สูงอายุดีขึ้น ที่สำคัญช่วยป้องกันโรค”อัลไซเมอร์”

เรือจำลองสัญชาติสมุทรสาคร ต่อยอดวิสาหกิจชุมชน

คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา (มบส.) พัฒนาเรือจำลองที่สวยงามหลายแบบ เพื่อสร้างรายได้ให้แก่ชาวสมุทรสาคร เช่น เรือประมงบางหญ้าแพรก

รมต.อนุชา เชื่อมั่นกองทุนหมู่บ้านช่วยส่งเสริม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง แนะสมาชิกกองทุนปรับตัว ดันการค้าออนไลน์หนทางสร้างรายได้ยุคดิจิทัล

วันนี้ (12 มิถุนายน 2565) เวลา 09.30 น. ณ หอประชุมโรงเรียนชัยนาทพิทยาคม อําเภอเมือง จังหวัดชัยนาท นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี