อว. เร่งจัดทำหลักสูตร Cyber Security เฝ้าระวังป้องกันภัยทางไซเบอร์ ชี้ขาดแคลนหนัก คาด 2ปีผลิตได้1,000คน

28ก.พ.65-นายศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รองปลัด อว.) กล่าวว่า ขณะนี้ อว. กำลังทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนากำลังคนขั้นสูงที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เพื่อตอบโจทย์ความสามารถในการแข่งขันของประเทศผ่านหลักสูตรที่เป็นแซนด์บอกซ์ ไม่ว่าจะเป็นที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) สภาคณบดีวิศวกรรมศาสตร์และคณะวิทยาศาสตร์ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) และภาคเอกชน โดยทางมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ จะร่วมกันร่างหลักสูตรในรายวิชาที่มีความสำคัญในการพัฒนากำลังคนขั้นสูง ซึ่งหลักสูตรแรกที่กำลังจัดทำอยู่ในขณะนี้ คือ Cyber Security หรือ ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ เพราะกำลังคนสมรรถนะสูงในด้านนี้ภายในประเทศถือว่ายังขาดแคลนอยู่มาก ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขัน และการส่งเสริมการลงทุน

อีกทั้งการเฝ้าระวังและการป้องกันภัยทางไซเบอร์ ถือเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายต้องตระหนักและให้ความสำคัญ เพราะสามารถส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก โดยหลักสูตร Cyber Security วางแผนไว้ว่า มหาวิทยาลัยต่างๆ จะช่วยกันพัฒนาและนำมาใช้ร่วมกันเป็นหลักสูตรกลาง โดยจะเปิดรับนักศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสามารถย้ายข้ามมาจากหลักสูตรอื่นเพื่อเข้าเรียนหลักสูตรนี้ได้ ในช่วงชั้นปี 3 หรือ ปี 4 โดยมีรูปแบบการเรียนที่ฝึกปฏิบัติงานไปพร้อมกัน มีผู้สอนที่มาจากอาจารย์ในมหาวิทยาลัยและผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชน เมื่อเรียนจบอาจจะได้รับปริญญาอีกใบนอกเหนือจากปริญญาในสาขาที่ตนศึกษาปกติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการดำเนินการของแต่ละมหาวิทยาลัย โดยคาดว่าภายใน 2 ปี จะสามารถผลิตกำลังคนด้าน Cyber Security ผ่านหลักสูตรแซนด์บอกซ์นี้ได้ไม่น้อยกว่า 1,000 คน

“นอกจากนี้ อว.กำลังหารือการจัดทำหลักสูตรแซนด์บอกซ์เพื่อพัฒนากำลังคนขั้นสูงในด้านอื่นๆ ร่วมกับภาคส่วนต่างๆ ตามนโยบาย ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.อว. อาทิ การพัฒนากำลังคนด้านนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist) และนักบูรณาการระบบในอุตสาหกรรมสมัยใหม่ (System Integrator) เพื่อผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรมเป็นอุตสาหกรรม 4.0 มากขึ้น เป็นต้น”รองปลัด อว. กล่าว

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันนี้ 'วันครีษมายัน' กลางวันยาวสุดของปี พระอาทิตย์อยู่บนท้องฟ้าเกือบ 13 ชม.

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สดร.) หรือ NARIT กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แจ้งว่า ในวันที่ 21 มิถุนายน 2567 เป็น “วันครีษมายัน”