21 ก.พ.65- ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี(รพ.เด็ก) นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ของศูนย์การทำ Home isolation (HI) สำหรับเด็กที่ป่วยโควิด 19 และการบริหารจัดการเตียงสำหรับเด็กป่วยโควิด 19 ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอน ในภาพรวมจำนวนเด็กทั่วประเทศพบติดเชื้อขณะนี้แล้ว 15-17% ของผู้ใหญ่ ด้วยปัจจัยคือ 1.เด็กอายุ 5-11 ปี เพิ่งได้เข้ารับวัคซีน 2.โรงเรียนมีการเปิดการเรียนการสอน เด็กๆมีการพบเจอกัน ในช่วงอายุที่พบเด็กอายุน้อยกว่า 2ปี ติดเชื้อประมาณ 4% ของกลุ่มเด็กทั้งหมด
ในส่วนของอาการเด็กที่ติดเชื้อโควิด19 สายพันธุ์โอมิครอน นพ.อดิศัย กล่าวว่า เด็กที่มีอัตราการติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่พบอาการรุนแรงไม่ถึง 3% อยู่ในระดับความรุนแรงที่ 2.2-3 หรืออยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีส้มกับสีแดง ซึ่งเป็นเด็กที่มีโรคประจำตัว อีก 50% พบว่าไม่มีอาการ และอีก 30% อยู่ในกลุ่มผู้ป่วยสีเขียว คือมีอาการเล็กน้อย อาทิ มีไข้เล็กน้อย ยังสามารถวิ่งเล่นได้ หากมีไข้ทานยาลดไข้ แต่หากผู้ปกครองในกลุ่มเด็กอายุ 1-5 ปี มีความกังวลเรื่องอัตราการหายใจ ซึ่งในเด็กกลุ่มนี้จะหายใจเร็วเป็นปกติ ก็สามารถใช้เครื่องวัดออกซิเจนได้ โดยค่าต้องไม่น้อยกว่า 96 ซึ่งเฉลี่ยแล้วเด็กจะมีอาการดีขึ้นใน 5 วัน แต่ยังคงต้องมีการดูแลตามมาตรฐานอย่างน้อย 10 วันที่รักษาในโรงพยาบาล และติดตามอาการให้ครบ 14 วัน ทั้งนี้การรักษาเด็กก็เหมือนกับผู้ใหญ่ จะแตกต่างเมื่อเด็กทานยาเม็ดไม่ได้ก็จะมีการใช้ยาน้ำฟาวิพิราเวียร์ผสมกับไซรัปของทางรพ. เพื่อให้เด็กได้ทางง่ายขึ้น โดยให้ขนาดยาตามน้ำหนัก ดังนั้นแม้ว่าแนวโน้มของเด็กที่ติดเชื้อจะมากขึ้น แต่อาการรุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลต้า
สำหรับระบบ HI เด็กที่ติดเชื้อโควิด19 ในกลุ่มสีเขียวหรือไม่ค่อยมีอาการที่ทางรพ.ดูแล ในพื้นที่กรุงเทพฯ โดยเด็กติดเชื้อช่วงเดือนม.ค.65 ซึ่งอยู่ในระบบจำนวนกว่า 200 ราย ในเดือนก.พ.เพียงครึ่งเดือนมีเด็กติดเชื้อเพิ่มขึ้นอีกกว่า 150 ราย เฉลี่ยสูงขึ้น 30% ขณะนี้รวมแล้วมีจำนวน 250 ราย จากยอดสะสมเกือบ 1,000 ราย อาจจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอีก 300 ราย ทั้งนี้เด็กที่สามารถเข้าระบบ HI ได้ต้องผ่านการคัดกรองผ่าน 3 ช่องทางได้แก่ 1.คลินิกของทางรพ. 2.สายด่วน 1330 ของสปสช. และที่อื่นๆ โดยจะต้องผ่านการคัดกรอง ซักประวัติ ไม่มีไข้สูง ไม่มีอาการซึม ทานอาหารได้ ไม่มีโรคประจำตัว พ่อแม่ผู้ปกครองพร้อมให้การดูแล และมีห้องแยกสำหรับป้องกันการแพร่เชื้อ ทางรพ. จะส่งเครื่องมือวัดไข้ วัดออกซิเจน ยา อาหาร 3 มื้อ และของเล่นเด็ก จากนั้นทีมพยาบาลก็จะมีการซักถามอาการในทุกเช้า หากพบว่าติดเชื้ออาการรุนแรงจะขอให้เข้ารับบริการรักษาใน รพ. หรือเด็กมีอาการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองสามารถโทรเข้ามาได้ที่ LINE OA ซึ่งจากการรักษาที่ผ่านมาโอกาสอาการเปลี่ยนแปลงพบเพียง 1-2% เท่านั้น เน้นย้ำส่วนเด็กทารก- เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี จะต้องเข้ารับการคัดคกรองและรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงบ้าน”
ด้านสถานการณ์เตียง นพ.อดิศัย อธิบายว่า ในภาพรวมของทางกรุงเทพฯ ทั้งหมด 20 แห่งในเครือข่ายยูฮอสเน็ต (UHOSNET) กรมการแพทย์ และสำนักงานการแพทย์ กทม. กว่า 500 เตียง มีอัตราครองเตียงประมาณ 80% ซึ่งสำหรับเด็กอาจจะยากกว่าผู้ใหญ่ เพราะเตียงเด็กจะมีการแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1. เด็กอายุน้อยกว่า 20-30 วันหรือกลุ่มเด็กทารกแรกเกิด 2.เด็กอายุ 1-5 ปี และ3.เด็กอายุมากกว่า 12 ปี ดังนั้นจำนวนเตียงของกทม. ก็มีเด็กทั้ง 3 กลุ่มเข้ารับการรักษา
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของทางรพ. สถานการณ์เตียงค่อนข้างหนาแน่น โดยมีการตั้งรับจำนวนเด็กที่ติดเชื้อจำนวน 70 เตียง เน้นกลุ่มอายุน้อยกว่า 1 ปี และกลุ่มสีแดง สีเหลือง เป็นหลัก ซึ่งขณะนี้มีอัตราการครองเตียงไปแล้วกว่า 76 เตียงรวมผู้ปกครองประมาณ 20 คนที่มีการติดเชื้อด้วย ซึ่งเราก็ต้องให้การรักษา คาดว่าจะขยายเพิ่มเป็น 80 เตียง มีแยกเป็นเตียงสำหรับเด็กทารก 8 เตียง ขณะนี้มีเข้ารับการรักษาอยู่ 1 เตียง อย่างไรก็ตาม ในเด็กอายุ 5-11 ปี ผู้ปกครองควรพิจารณาให้เข้ารับวัคซีน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศูนย์จีโนมฯ จับตาโอมิครอน KP.2.3/XEC ลูกผสมพันธุ์ใหม่ แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน KP.2.3/XEC : ลูกผสมสายพันธุ์ใหม่แพร่เร็วกว่าเดิม 2 เท่า
ศูนย์จีโนมฯ แนะนำ JN.1.4 โอมิครอนตัวล่าสุดที่จะมาแทนที่ JN.1
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
ศูนย์จีโนมฯ อัปเดตผลทดลอง 'วัคซีนโควิด' รุ่นล่าสุด 'XBB.1.5 โมโนวาเลนต์'
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า องค์การอนามัยโลกระบุวัคซีนโควิด-19 เจนเนอเรชั่นล่าสุด “XBB.1.5 โมโนวาเลนต์”
'ศูนย์จีโนม' ผวา! พบโอมิครอน 'กลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว' เพิ่มอีกตำแหน่ง
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า น่ากังวล! กลุ่มโอมิครอนกลายพันธุ์คู่-พลิกขั้ว “L455F + F456L”
ผวา! โอมิครอน BA.2.86 ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกยกระดับเฝ้าใกล้ชิด
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ผลการทดลองจากหลายห้องปฏิบัติได้ออกมายืนยันตรงกันว่าโอมิครอน BA.2.86
ศูนย์จีโนมฯ ไขข้อข้องใจ! โควิด EG.5.1 ระบาดรุนแรงแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า โอมิครอน EG.5.1 (XBB.1.9.2.5.1) จะมีการระบาดเกิดอาการรุนแรงและเข้ามาแทนที่ XBB.1.16 หรือไม่