16 ก.พ.65-รศ.นพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้อำนวยการสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัวมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ปัญหาเด็กติดเกมที่ว่ารุนแรงและเรื้อรังแล้ว เมื่อเข้าสู่ยุคเมตาเวิร์สที่สามารถทำให้ผู้คนหลุดเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงได้อย่างเต็มตัวแล้ว ยิ่งพบว่าจะทวีความรุนแรงได้มากกว่า ที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ ผลกระทบต่อสุขภาวะจากการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนทางอารมณ์ (stress hormone) ที่ยิ่งจะทำให้เด็ก และกลุ่มเปราะบางเกิดความก้าวร้าว หรือซึมเศร้า ซึ่งจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรม จากการเสพติดเกมหรือเชื่อมต่อสังคมในเมตาเวิร์สโดยขาดการควบคุมดูแลที่เหมาะสมซึ่ง “พฤติกรรม” เกิดจากการทำงานของสมองที่นำมาซึ่งประสบการณ์ ความทรงจำ และทัศนคติ สามารถส่งเสริมให้เป็นไปในทางสร้างสรรค์และเกิดความสมดุล เช่น การเล่านิทานโดยใช้สื่อดิจิทัลแต่เพียงเป็นส่วนประกอบ โดยไม่ควรปล่อยให้เด็กเรียนรู้แต่เพียงลำพัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็กควรมีพ่อแม่ หรือผู้ปกครองคอยเล่าให้ฟัง และพูดคุยกับเด็กด้วย
“การออกแบบเมตาเวิร์สควรสร้างขึ้นด้วยจิตสำนึกแห่งความรับผิดชอบต่อสังคม เช่นเดียวกับการออกแบบโรงงานอุตสาหกรรม ที่จะต้องมีการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพก่อนทุกครั้ง ดังนั้น เพื่อการเติบโตทางเทคโนโลยีที่สมดุล ทุกฝ่ายจะต้องร่วมด้วยช่วยกันในการออกแบบระบบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการ ผู้บริโภค พ่อแม่ผู้ดูแล รวมทั้งเด็กๆ ที่เป็นผู้ใช้ จะต้องเรียนรู้ไปด้วยกัน มีเป้าหมายที่สร้างสรรค์ และอยู่ภายใต้กรอบแห่งความรับผิดชอบร่วมกัน”
รศ.นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ในปี 2565 สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล เตรียมใช้เทคโนโลยีเมตาเวิร์สเป็นตัวช่วยประกอบการสร้าง “ศูนย์ฝึกการดูแลเด็กเสมือนจริง” สำหรับพ่อแม่มือใหม่ ผู้ดูแลเด็ก คุณครู หรือผู้ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กทุกประเภท รวมทั้งเยาวชน ในด้านการใช้เทคโนโลยีให้เป็นประโยชน์ พร้อมกับการเรียนรู้ผลกระทบ และการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เกิดการใช้ให้ถูกวิธี ได้มีการปรับปรุงพื้นที่ ณ บริเวณชั้น 3 ของสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็น “ศูนย์ฝึกการดูแลเด็กเสมือนจริง” ซึ่งจะมีการใช้Virtual Reality – VR หรือ เทคโนโลยีการจำลองภาพเสมือนจริงแบบ 360 องศา ด้วยแว่นตา VR และAugmented Reality – AR หรือ เทคโนโลยีการผสานโลกเสมือนจริงให้เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงด้วยซอฟต์แวร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ มาประกอบเพื่อการเรียนรู้อย่างสมบูรณ์ต่อไป
“สำหรับการใช้เทคโนโลยีไอทีในเด็กและเยาวชนนั้น ผู้ใหญ่ควรรับผิดชอบอย่างเต็มที่ในการสร้างสิ่งแวดล้อมหรือระบบนิเวศที่ปลอดภัยในการใช้ไอที สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 13 ปี และเด็กที่อายุมากกว่า 13 ปีต้องให้ข้อมูลทั้งทางบวกและทางลบโดยไม่ปิดบังและสร้างการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะให้เด็กโตกลุ่มนี้สามารถใช้ไอทีด้วยความรับผิดชอบ รวมทั้งการเรียนรู้เรื่องผลกระทบต่อสุขภาพ เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีผิดวิธีควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ดูแลเด็กทุกประเภทได้เห็นประโยชน์และโทษของความเจริญทางเทคโนโลยีและประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงดูเด็กต่อไปด้วย”รศ.นพ.อดิศักดิ์กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
'กรมสุขภาพจิต' ส่งทีมเยียวยาจิตใจ ผู้ประสบอุทกภัยเชียงใหม่-เชียงราย
'กรมสุขภาพจิต' ส่งทีมเยียวยาจิตใจผู้ประสบภัยน้ำท่วม ทั้งเชียงใหม่-ศูนย์พักพิงจังหวัดเชียงราย โดยเฉพาะเด็กและผู้สูงอายุ ชี้ยิ่งนานยิ่งน่าห่วง
อุทาหรณ์ไฟดูดเด็ก 'สพม.'ตื่นล้อมคอกตู้ใช้ไฟฟ้า ตู้กดดน้ำ
ญาติเด็กโดนไฟดูด ฝากทางโรงเรียนเอาเป็นอุทาหรณ์ ควรดีแลความปลอดภัยให้ดีกว่านี้ ด้าน ผอ.สพม.เผยสาเหตุเด็กถูกไฟดูดรอผลตรวจชัดเจนพรุ่งนี้ งัดมาตรการดูแลตู้ใช้ไฟฟ้า ตู้กดน้ำ
'วราวุธ' ส่ง 'ศรส.' ดูแล แม่โพสต์ลูกกระดกเบียร์ เตือนผิดซ้ำเจอโทษหนัก
“วราวุธ” ส่ง ศรส. ทำข้อตกลงเลี้ยงดูลูก หลังแม่โพสต์คลิปลูกกระดกเบียร์ สูบบุหรี่ อ้าง รู้เท่าไม่ถึงการณ์ เตือนทำผิดซ้ำผู้ปกคอรงเจอเอาผิดทางกฎหมาย
สำรวจบาดแผล 'เด็ก' ในยุคที่กลายมาเป็น 'คอนเทนต์' ของผู้ใหญ่
นักวิชาการธรรมศาสตร์ ชวนสำรวจบาดแผล ‘เด็ก’ ในยุคที่ต้องกลายมาเป็น ‘คอนเทนต์’ เพราะความเปราะบางของเนื้อหาจะทิ้งร่องรอยความบอบช้ำไว้เสมอ