26 ม.ค.65 – นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า แถลงข่าวแนวทางการบริหารจัดการวัคซีน covid19 กลุ่มเด็กอายุ 5 – 11 ปี ว่า สำหรับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนกลุ่มเด็กอายุ 5-11 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มใหม่ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) อนุญาตให้ฉีดได้และตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่ให้เร่งรัดฉีดวัคซีนในเด็กกลุ่ม 5-11 ปี โดยวัคซีนที่นำเข้ามาครั้งนี้ เป็นวัคซีน Pfizer สูตรสำหรับเด็ก (Pediatric fomulation dose) โดยขวดและฝามีสีส้ม ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย.แล้ว ทั้งนี้จะฉีดตามขนาดและข้อบ่งฉีดที่ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยให้คำแนะนำ และขณะนี้วัคซีนล็อตแรก 300,000 โดส ส่งมาถึงประเทศไทยแล้ว ที่เหลือ จะทยอยส่งเข้ามาโดยไตรมาสแรก ทั้งหมด 3.5 ล้านโดส จากยอดทั้งหมด 10 ล้านโดส ที่ทางคณะรัฐมนตรีอนุมัติงบประมาณจัดซื้อแล้ว และเข้าใจว่าน่าจะเพียงพอสำหรับเด็กกลุ่มนี้ สำหรับขั้นตอนต่อไปจะส่งให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ตรวจคุณภาพ จากนั้นจะส่งกระจายจุดฉีดปลายทางทั่วประเทศต่อไป
“สูตรสำหรับครั้งนี้ จะแตกต่างจากของผู้ใหญ่ โดยสูตรเด็กขวดยามีฝาปิดพลาสติกสีส้ม ในตัวยาบรรจุสารเข้มข้นสำหรับกระจายตัว 1.3 ซีซีหรือมิลลิตร เวลาจะฉีดต้องเจือจางด้วยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ร้อยละ 0.9 หรือผสมน้ำเกลือปราศจากเชื้อปริมาตร 1.3 มิลลิตรก่อนใช้ เมื่อรวมกันจะได้ 2.6 ซีซี โดยขวดหนึ่งจะฉีดได้ประมาณ 10 คน โดยขนาดการฉีดจะแตกต่างจากผู้ใหญ่หรือเด็กโตจะฉีดที่ 0.3 ซีซี แต่สำหรับเด็กสูตรฝาสีส้มจะฉีด 0.2 ซีซี หรือขนาดวัคซีน 10 ไมโครกรัมต่อโดส อันนี้คือข้อแตกต่างกัน”
นพ.โอภาส กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มเป้าหมาย คือ เด็ก อายุ 5-11 ปี การฉีดแบ่งเป็น 2 อย่างคือ 1. ฉีดที่โรงพยาบาล และ 2. ฉีดที่โรงเรียน โดยที่โรงเรียนใช้ระบบเดิมที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) โดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยได้ให้คำแนะนำว่า เด็กที่มีความเสี่ยงติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรง คือ เด็กที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ดังนี้ 1.เด็กที่มีโรคอ้วน 2.เด็กที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง รวมทั้งโรคหอบหืดที่มีอาการปานกลางหรือรุนแรง 3.เด็กที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง 4.โรคไตวายเรื้อรัง 5.โรคมะเร็งและภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ 6.โรเบาหวาน และ 7.โรคทางพันธุกรรม ทั้งกลุ่มอาการดาวน์ซินโดรม ภาวะบกพร่องทางประสาทอย่างรุนแรง เด็กที่มีพัฒนาการล่าช้า โดยเด็กกลุ่มนี้จะมีกุมารแพทย์เป็นผู้พิจารณาดำเนินการฉีดวัคซีน ส่วนเด็กอื่นๆ นอกเหนือดังกล่าวก็ใช้การฉีดโรงพยาบาลเป็นเด็กเช่นกัน
สำหรับกำหนดการจะมีการฉีด2 เข็มจะห่างกัน 3 -12 สัปดาห์ ส่วนการฉีดที่โรงเรียนเป็นฐานกำหนดต้องห่างกัน 8 สัปดาห์ โดยการฉีดที่โรงพยาบาลจะใช้ระยะห่าง 3-12 สัปดาห์ เพื่อให้กุมารแพทย์เป็นผู้ตัดสินใจในช่วงเวลาที่เหมาะสมสำทั้งนี้ การฉีดวัคซีนในเด็ก ขอย้ำว่า การฉีดเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครองไม่มีการบังคับแต่อย่างใด รวมทั้งคุณหมอดูแลผู้ป่วยร่วมตัดสินใจ เน้นย้ำความสมัครใจผู้ปกครองและเด็ก ไม่มีการบังคับเด็ดขาด ซึ่งที่ผ่านมานโยบายการฉีดวัคซีน ไม่ได้มีการบังคับฉีดแต่อย่างใด
สำหรับอาการข้างเคียงจากการฉีดวีคซีนที่สามารถพบได้คือ ไข้ หนาวสั่น ปวด บวม แดงบริเวณที่ฉีด ซึ่งเมื่อเทียบกับการฉีดในเด็กโต จากข้อมูลสหรัฐอเมริกา หรือสิงคโปร์ เกิดผลข้างเคียงในเด็กเล็กค่อนข้างน้อยเพราะปริมาณที่ฉีดมีปริมาณน้อยกว่า ดังนั้นผู้ปกครองจะได้ไม่ต้องกังวลใจมากเกินไป สำหรับแนวทางการบริหารจัดการวัคซีนจะประกอบด้วยหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมมือกันทำงาน แบ่งงานตามหน้าที่ โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
” และผมขอยืนยันข้อมูลในเบื้องต้นว่าวัคซีนมาถึงประเทศไทยแล้ว และสามารถคิกออฟฉีดวัคซีนในเด็กได้ในวันที่ 31 มกราคมนี้”อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว
ด้านนพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าวว่า การฉีดเด็กอายุ 5-11 ปี มีประมาณ 5 ล้านคน ในจำนวนนี้เป็นเด็กกลุ่มเสี่ยง 9 แสนคนกระจายตามภูมิภาคต่างๆ กรณีผู้ปกครองยินยอมให้บุตรหลานเข้าฉีดแล้ว ทางคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะมีการบริหารตามความเหมาะสมของผู้ป่วย ซึ่งมีตัวเลขอยู่แล้ว ที่สำคัญคือความพร้อมของบุคลากรทางการแพทย์และกุมารแพทย์เป็นผู้คัดสรรว่าเด็กแต่ละคนใครพร้อมจะฉีดวัคซีน สำหรับการเตรียมตัวฉีดวัคซีน หากเด็กที่มีโรคประจำตัวก็ให้ทานยารักษาโรคปกติ ทานอาหารและน้ำตามปกติ มาถึงโรงพยาบาลกุมารแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ามีไข้หรือไม่ หากมีไข้ก็จะทะเลาะเรื่องการฉีด แล้วโรคประจำตัวนั้นมีอาการรุนแรงและอันตรายหรือไม่ หากมีสิ่งเหล่านี้ก็อาจจะชะลอการฉีดไปก่อนเพื่อรักษาโรคเหล่านี้ ส่วนกรณีที่สามารถฉีดได้ก็จะมีการทบทวนการยินยอมอีกครั้ง ทั้งนี้ในขั้นตอนการฉีดจะต้องเป็นสถานที่มิดชิด เพื่อลดความกังวลของเด็กและผู้ปกครอง หลังฉีดให้รอดูอาการ 30 นาที หลังกลับบ้านไปแล้วต้องเน้นว่า เหมือนกับทุกกลุ่มอายุคือใน 1 สัปดาห์ไม่ควรให้เด็กออกกำลังกาย รวมถึงการปีนป่ายการว่ายน้ำ กันสุขสันต์ต่างๆขอให้ผู้ปกครองช่วยดูแลตรงนี้ด้วย
“สิ่งที่กังวล คือมีอาการเฉพาะที่กับอาการทั่วไป และการเกิดอาการข้างเคียงทางด้านโรคหัวใจ ซึ่งมีจริง แต่สามารถรักษาได้ โดยจากการฉีดแล้วกว่า 7 ล้านโดสนั้นพบ 7 ราย ดังนั้นอาการข้างเคียงมีน้อยแต่เพื่อไม่ประมาท เพื่อให้ผู้ปกครองเบาใจได้มีการสร้างเครือข่ายส่งต่อดูแล ให้ผู้ปกครองสามารถรู้ว่า มีอะไรที่ต้อง “เอ๊ะ” หรือสงสัยซึ่งสถิติที่เราเจอมาส่วนใหญ่มักเกิดในเข็ม 2 แต่เพื่อไม่ประมาทขอให้สังเกตตั้งแต่เข็มแรก คือเจ็บหน้าอก หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ใจสั่น โดยเฉพาะเด็กที่มีโรคประจำตัว หากมีไข้สูง ทานอาหารไม่ได้ ขอให้รีบไปโรงพยาบาลใกล้บ้าน”ผอ.สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี กล่าว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สธ.เตือนเช็กค่าฝุ่น PM 2.5 ก่อนออกจากบ้าน เพราะหลายจังหวัดแตะระดับสีส้ม
ปลัด สธ. เผยพบฝุ่น PM 2.5 หลายจังหวัดรวมทั้ง กทม.เพิ่มสูงขึ้นในระดับปานกลางถึงเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ แนะ ปชช.ตรวจสอบค่าฝุ่นก่อนออกจากบ้านหรือทำกิจกรรมนอกบ้าน
รับเหยื่อพลุระเบิด10ราย ในพระบรมราชานุเคราะห์
ในหลวงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับผู้บาดเจ็บโกดังพลุระเบิด 10 รายไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ นายกฯ
หยุดยาวแค่3วัน อุบัติเหตุดับ81 บาดเจ็บ4.4พัน
ปลัด สธ.ลงพื้นที่ติดตามดูแลผู้ป่วย อุบัติเหตุฉุกเฉินช่วงวันหยุดยาว ผ่านไปแค่ 3 วัน เสียชีวิตจากอุบัติเหตุแล้ว 81 ราย
สธ.โต้ฉีด6เข็มยังติดโควิด ย้ำลดป่วยรุนแรงเสียชีวิต
ปลัด สธ.ตอบปมนักวิชาเกินบูลลี่ฉีดวัคซีนโควิด 6 เข็มอย่าง "พิธา" ยังติดเชื้อ ย้ำหลักการวัคซีนลดป่วยรุนแรงและเสียชีวิต
สธ.ขยายบริการดูแลผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดใน รพศ.-รพท.ครบทุกจังหวัด
สธ.ขยายบริการผู้ป่วยจิตเวชยาเสพติดใน รพศ./รพท.ครบทุกจังหวัด นำร่องศูนย์ธัญญารักษ์จังหวัด ครบทุกเขต พร้อมผลิตบุคลากรเติมเต็มระบบบริการ
อิตาลีมอบวัคซีนไฟเซอร์รุ่น 2 จำนวน 7 ล้านโดสให้ไทย
สธ.รับมอบวัคซีนไฟเซอร์รุ่น 2 หรือไบวาเลนท์ 7 ล้านโดสจากอิตาลี เพื่อสำรองไว้ให้กลุ่มเสี่ยงฉีดวัคซีนโควิดประจำปี หมอหนูย้ำกลุ่มเสี่ยงควรพฉีดพร้อมวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ลดการป่วยหนักและเสียชีวิต