'วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ FIELD DAY'อัพเกรดความรู้ เกษตรกรปลูกมันสำปะหลัง จ.มุกดาหาร

“พรีเมียร์ ควอลิตี้ สตาร์ช” จับมือพันธมิตร “คูโบต้า-อายิโนะโมะโต๊ะ -หน่วยงานภาครัฐ -สถาบันการศึกษา” เปิดงาน ” FIELD DAY” วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ สําหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสําปะหลังจังหวัดมุกดาหาร “นําร่องสาธิตการปลูกมันสําปะหลังอย่างเป็นระบบ” โดยใช้เครืUองจักรกลการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิตมันสําปะหลัง โดยตั้งเป้าหมายเกษตรกรเข้าร่วมกิจกรรมปีนี จํานวน 250ราย


8 มีนาคม 2567-นายรัฐวิรุฬห์ ชาญจึงถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พรีเมียร์ ควอลิตี้ สตาร์ช จํากัด (มหาชน) หรือ PQSผู้ผลิตและจําหน่ายแป้งมันสําปะหลังชนิดพิเศษ (Premium Grade) และแป้งดัดแปร (Modified Starch) เปิดเผยว่าบริษัทได้ร่วมกับพันธมิตร บริษัท คูโบต้าเจริญชัย มุกดาหาร บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จํากัด และ บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จํากัด โดยได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการจากหน่วยงานราชการที่เกียวข้องของจังหวัดมุกดาหาร รวมทั้งได้รับเกียรติจากคุณวรญาณ บุญณราช ผู้ว่าราขการจังหวัดมุกดาหาร มาร่วมเปิดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ FIELD DAY”ซึ่งจัดขึ้น ในวันที่ 6 มีนาคม 2567ณ บริเวณ PQS Farm

สําหรับวัตถุประสงค์การจัดงานดังกล่าวเพื่อเป็นแหล่งสาธิต การใช้เครื่องจักรกลเกษตรเพื่อบริหารจัดการแปลงปลูกมันสําปะหลัง พร้อมทั้งเป็นศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ และส่งเสริมความยั่งยืนในระบบนิเวศน์เกษตร สําหรับเกษตรกรผู้ที่สนใจ

ทั้งนี้ กลุ่มบริษัท PQS เป็นผู้ผลิตแป้งมันสําปะหลัง และแป้งมันสําปะหลังดัดแปร ด้วยวัตถุดิบหัวมันสําปะหลังที่มีคุณภาพจากพื้นที่ในจังหวัดมุกดาหาร และพื้นที่ใกล้เคียงกว่าปีละ 250,000 ตัน จากเกษตรกรที่ส่งเสริมรวมกว่า 6,800 ครอบครัว ในพื้นที่ประมาณ 65,200 ไร่ และยังเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตแป้งมันสําปะหลังมาร่วม 20 ปี ที่พร้อมมุ่งมั่นเป็นผู้นําผลิตภัณฑ์แป้งมันสําปะหลัง และผลิตภัณฑ์เกี่ยวเนื่องในระดับอาเซียน

นายรัฐวิรุฬห์กล่าวว่า มันสําปะหลัง เป็นพืชที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจทั้งในเชิงเศรษฐกิจมหภาคจนถึงระดับครัวเรือนของชาวไทย มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดี อีกทั้งยังมีศักยภาพสามารถเพิมผลผลิตตันต่อไร่ให้สูงขึ้นจากค่าเฉลี่ยพื้นฐานของปัจจุบัน และเป็นสิ่งที่อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ มีความต้องการที่เติบโตต่อเนื่องโดยเฉพาะด้านอาหารและอื่นๆ ทว่าปัจจุบันการปลูกมันสําปะหลังในพื้นที่จังหวัดมุกดาหาร มักเป็นการปลูกและจัดการโดยใช้แรงคนเป็นหลัก ทําให้เกษตรกรมีข้อจํากัดในการดูแลบํารุงรักษาแปลงปลูกมันสําปะหลัง และไม่สามารถจัดการพื้นที่เพาะปลูกได้อย่างเหมาะสมทันตามฤดูกาล อันเป็นผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วยส่วนหนึ่ง ส่งผลให้ได้ผลผลิตต่อไร่ตํ่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการเพาะปลูกสูง ขาดแคลนต้นพันธุ์ที่ดี ขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เข้าสู่ช่วงผู้สูงวัย และยังขาดโอกาส ในการเข้าถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่ทันสมัย ดังนั้นเพื่อเป็นการยกระดับขีดความสามารถด้านการผลิตมันสําปะหลัง ทางกลุ่มบริษัทPQS พร้อมทั้งภาคีจึงได้ร่วมผนึกจุดแข็งและนวัตกรรมเพื่อเสนอแนวทางที่จะนําไปสู่การเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน ร่วมสร้างพื้นทีเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ด้านการใช้เครื่องจักรการเกษตรเพื่อเพิ่มผลผลิต และลดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่งเสริมให้มีการใช้พันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ รวมถึงความรู้ ในการบริหารจัดการแปลงอย่างถูกวิธีต่อช่วงอายุต่างๆของการปลูกมันสําปะหลัง และระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวที่เหมาะสม จนเป็นวัตถุดิบมันสําปะหลังที่มีคุณภาพ ส่งเสริมความยั่งยืนต่ออาชีพการปลูกมันสําปะหลังสําหรับเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม


การจัดงาน “วันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลใหม่ FIELD DAY” โดยมี “PQS” เป็นตัวกลางเชื่อมโยงผนึกกําลังระหว่างเกษตรกร หน่วยงานรัฐ ภาคีภาคเอกชน ผ่านกระบวนการสาธิตการใช้เครื่องจักรกลเกษตร และด้านนวัตกรรมการจัดการระบบการเพาะปลูกมันที่เหมาะสม เป็นอีกกลไกหนึ่งที่จะเพิ่มความยั่งยืนในอาชีพของเกษตรกร และมีวัตถุดิบคุณภาพดี ที่พอเพียงต่อการผลิตแป้งมันสําปะหลังของไทย

โดยในงานดังกล่าว ได้เชิญเกษตรกรที่เป็นพันธมิตรผู้ส่งมอบมันสําปะหลังให้กับบริษัทมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน และเปิดโอกาสให้เกษตรกรกลุ่มใหม่ที่สนใจเข้าร่วมงาน รวมจํานวน 250 ราย ส่วนการจัดทําแปลงสาธิตสําหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของเกษตรกรในครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการจัดการระบบการปลูกมันสําปะหลัง เพื่อนําไปสู่การดําเนินการวิจัยและพัฒนา(R&D) ปรับปรุงสายพันธุ์มันสําปะหลังที่มีความจําเพาะต่อความต้องการของลูกค้า การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ โดยการใช้เครื่องจักรกลเพื่อช่วยทดแทนแรงงาน การบริหารจัดการใช้ประโยชน์พื้นที่การเกษตรอย่างเหมาะสม การสร้างเสริมความมั่นคงของระบบนิเวศน์เกษตรโดยใช้ทรัพยากรดินและน้ำเชิงอนุรักษ์ และขยายผลสู่เกษตรกรต่อไปเพื่อสร้างความมั่นคงแก่ห่วงโซ่อุปทานมันสําปะหลังร่วมกันสู่อนาคตที่ยั่งยืน

เพิ่มเพื่อน