28ธ.ค.2564-นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาฯ กพฐ.) ในฐานะโฆษกสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ประชุมขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของศึกษานิเทศก์ และเครือข่ายผู้บริหารสถานศึกษาร่วมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา สังกัด สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ซึ่งได้ย้ำว่ากระบวนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา การนิเทศการศึกษาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนนโยบายลงสู่ปฏิบัติ และการนิเทศเชิงรุกที่ขับเคลื่อนร่วมกับ คณะกรรมการเครือข่ายผู้บริหารสถานศึกษาแบ่งเป็นภูมิภาค ร่วมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา เป็นกระบวนการสำคัญในการสร้างเครือข่ายผู้นิเทศ ที่เป็นต้นแบบการนำนโยบายลงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาของตนเอง และสร้างความเข้มแข็งให้กับโรงเรียนเครือข่าย เป็นการนิเทศแบบลงมือปฏิบัติให้เห็นชัดเจนในการร่วมกันขับเคลื่อนในลักษณะเครือข่ายแบบกัลยาณมิตร
นางเกศทิพย์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังได้มอบนโยบายการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้…สู่อนาคตภาพทางการศึกษา โดยการขับเคลื่อนในระดับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่จุดเน้นสำคัญของการพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ด้วยกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้เชิงรุก แบบ Active Learning ผ่านการบูรณาการตัวชี้วัด การบูรณาการข้ามกลุ่มสาระฯ และเติม Attitude and Value ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 มุ่งสู่การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียน นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของแต่ละโรงเรียนที่หลากหลายทุกระดับชั้น อาทิ การจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดมอนเตสซอรี ในระดับปฐมวัย และการจัดการเรียนการสอนบนพื้นฐานของแนวคิด จิตศึกษา PBL + PLC ในระดับประถมศึกษา เน้นการบูรณาการตัวชี้วัดและการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระฯ ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นการลงมือปฏิบัติ และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน รวมถึงการแก้ปัญหาการขาดแคลนครูตามกลุ่มสาระฯ ด้วยสื่อการเรียนการสอนในระบบ DLTV ของโรงเรียนขนาดเล็ก แต่สามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ด้านคุณภาพสูงขึ้นเชิงประจักษ์
ส่วนในระดับมัธยมศึกษานั้นมีตัวอย่างการจัดการเรียนการสอน Active learning แบบ GPAS 5 Steps + PLC สู่การพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลาย และที่สำคัญการจัดการเรียนการสอนแบบ STEAM ที่แสดงให้เห็นถึงแนวทางของการบูรณาการข้ามกลุ่มสาระฯ ได้อย่างมีคุณภาพ อีกทั้งภาพความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย 12 แห่ง ทั่วประเทศ การส่งเสริมทักษะด้านกีฬา และดนตรี ในห้องเรียนพิเศษด้านกีฬาและดนตรี ทุกสิ่งที่กล่าวมานั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าคุณภาพที่เกิดขึ้นในระดับพื้นที่นั้นมีอยู่มากมาย จึงจำเป็นที่จะต้องมีการหนุนเสริมเติมต่อคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการนิเทศเชิงรุก จากศึกษานิเทศก์ของพื้นที่ และเครือข่ายผู้บริหารสถานศึกษาร่วมขับเคลื่อนนโยบายการศึกษา บทบาทสำคัญของเครือข่ายดังกล่าว มีหน้าที่ เป็นต้นแบบในการปฏิบัติการขับเคลื่อนนโยบายสู่สถานศึกษา การสร้างเครือข่ายโรงเรียนร่วมพัฒนา การร่วมมือและสนับสนุนการนิเทศร่วมกับศึกษานิเทศก์ในเขตพื้นที่ เป็นแกนนำในการขับเคลื่อนและสนับสนุนงานตามนโยบาย และเตรียมพร้อมในการรับการประเมิน และเป็นต้นแบบการนิเทศ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กระทรวงศึกษาธิการ เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning
กระทรวงศึกษาธิการ สั่ง สพฐ. เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้ครอบคลุมทุกภาค ทุกโรงเรียน หวัง ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งคำถามและหาคำตอบเอง แทนการท่องจำแบบเดิม
'รมช.ศธ.' เคลียร์ปมเปิดบัญชีรับบริจาค เหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้
'สุรศักดิ์' แจงปมเปิดรับบริจาค ช่วยเหลือครู-นักเรียน เหตุรถบัสทัศนศึกษาไฟไหม้ มอบ 'สพป.อุทัยธานีเขต 2' รับผิดชอบหลัก
การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ขับเคลื่อนได้จริงตามนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ต้นแบบการส่งเสริม การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดย ดร.ภูมิ พระรักษา
16 พ.ค.เปิดเทอมแน่แต่ให้สิทธิ์โรงเรียนเลื่อนหากมี 'โควิด-ฝุ่นพิษ-อากาศร้อน'
รัฐบาลย้ำ สพฐ.พร้อมเปิดเทอม 16 พ.ค. นี้ กำชับผู้บริหารโรงเรียนปรับรูปแบบการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม คำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสำคัญ
สพฐ.ทำโครงการเงินอุดหนุนรายหัวลดความเหลื่อมล้ำการศึกษา
โฆษกรัฐบาลเผย สพฐ.ทำโครงการสนับสนุนเงินอุดหนุนรายหัว อนุบาล – ประถม – มัธยม – ปวช. พร้อมเงินสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ ลดภาระผู้ปกครอง