'อัมพร'รับยังเห็นภาพ'ผลลัพธ์'การพัฒนาครู 4แสนคน ที่ผ่านมาไม่ชัด

14 ธ.ค.2564- นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการให้กระทรวงศึกษา (ศธ.) วางแผนพัฒนาครูทั้งระบบ เพื่อตอบโจทย์การผลิตผู้เรียนสู่โลกอนาคตนั้น เมื่อเร็วๆนี้ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) ได้หารือกับตนในเรื่องดังกล่าวแล้วและมีข้อสั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ไปดำเนินการจัดทำแผนพัฒนาครูว่าจะมีแนวทางรูปแบบไหนอย่างไรบ้าง โดยในส่วนของสพฐ.ที่ผ่านมาเราได้ดำเนินการพัฒนาครูมาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาครูผ่านโครงการคูปองครู การร่วมมือกับภาคเอกชน หรือแม้กระทั่งมหาวิทยาลัยราชภัฎทั้ง 35 แห่งที่ช่วยเข้ามาดำเนินการพัฒนาครูให้ แต่การพัฒนาครูของสพฐ.ยังไม่มีภาพชัดเจนเท่าที่ควรว่า ครูสังกัดสพฐ. 400,000 คน มีการพัฒนาไปแล้วจำนวนกี่คน และเมื่อพัฒนาไปแล้วมีเป้าหมายของปรับการเรียนการสอนได้ตอบโจทย์หรือไม่

“หัวใจสำคัญคือเรื่องสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ดังนั้นหากต้องการให้เกิดสมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ได้เราจะต้องมาปรับเรื่องหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล ซึ่งครูจะต้องมีบทบาทสำคัญในการเรียนรู้สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ที่จะทำให้เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมได้ โดยการพัฒนาครูให้สอดคล้องกับสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ทำมาแล้วตั้งแต่ปี 2560 ซึ่งได้มีการพัฒนาครูมาตามลำดับ “


เลขากพฐ.กล่าวอีกว่า โดยขณะนี้สพฐ.กำลังสำรวจว่ามีครูกี่คนที่ได้รับการอบรมการจัดการเรียนการสอนผ่านสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 มาแล้วบ้าง เพื่อจัดระบบข้อมูลการพัฒนาครูให้ตรงจุด ซึ่งจะแบ่งแยกกลุ่มออกให้ชัดเจนว่าครูกลุ่มได้ผ่านหรือไม่ผ่านการพัฒนาตามสมรรถนะผู้เรียนดังกล่าว จากนั้น สพฐ.จะมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาไปดำเนินการพัฒนาต่อเนื่องใน 3 รูปแบบ ได้แก่ การแสวงหาความร่วมมือในการพัฒนา ร่วมกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ และร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อระดมให้เกิดการปูพรมพัฒนาครูทั้งประเทศให้เสร็จภายในปี 2566 อย่างไรก็ตาม ข้อมูลการพัฒนาครูของ สพฐ.เป็นแนวทางที่เราดำเนินการ เพื่อเสนอให้ รมว.ศธ. พิจารณาว่าจะเลือกแนวทางการพัฒนาครูแบบไหนอย่างไร

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระทรวงศึกษาธิการ เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning

กระทรวงศึกษาธิการ สั่ง สพฐ. เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้ครอบคลุมทุกภาค ทุกโรงเรียน หวัง ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งคำถามและหาคำตอบเอง แทนการท่องจำแบบเดิม

การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ขับเคลื่อนได้จริงตามนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 ต้นแบบการส่งเสริม การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ โดย ดร.ภูมิ พระรักษา

16 พ.ค.เปิดเทอมแน่แต่ให้สิทธิ์โรงเรียนเลื่อนหากมี 'โควิด-ฝุ่นพิษ-อากาศร้อน'

รัฐบาลย้ำ สพฐ.พร้อมเปิดเทอม 16 พ.ค. นี้ กำชับผู้บริหารโรงเรียนปรับรูปแบบการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม คำนึงถึงความปลอดภัยของนักเรียน ครูและบุคลากรทางการศึกษาเป็นสำคัญ

สพฐ.ทำโครงการเงินอุดหนุนรายหัวลดความเหลื่อมล้ำการศึกษา

โฆษกรัฐบาลเผย สพฐ.ทำโครงการสนับสนุนเงินอุดหนุนรายหัว อนุบาล – ประถม – มัธยม – ปวช. พร้อมเงินสนับสนุนอุปกรณ์การเรียน มุ่งลดความเหลื่อมล้ำ ลดภาระผู้ปกครอง