สพฐ.เล็งลดเนื้อหาเรียนออนไลน์เน้นกิจกรรม

 ใน 1ชั่วโมง  เรียนวิชาการแค่ 10-15นาที ที่เหลือเป็นภาคปฎิบัติ   ที่นำไปเชื่อมโยงกับอีกหลายวิชาได้ มีพี่เลี้ยงคอยประกบ ยันไม่ได้ปล่อยให้เด็กโดดเดี่ยว

7 ธ.ค.2564- นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาฯ กพฐ.) กล่าวว่า ตามที่โรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เปิดเรียนภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 มาระยะหนึ่ง ขณะนี้มีโรงเรียนที่เปิดการเรียนการสอนในรูปแบบ On Site กว่า 1.3 หมื่นโรง ซึ่งการเปิดเรียน สพฐ.ดำเนินการในลักษณะกระจาย บางแห่งเปิดได้หรือไม่ได้ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อของจังหวัดนั้นๆ และการเปิดเรียนก็มีหลายรูปแบบทั้งสลับวันเรียนตามเลขที่นักเรียน หรือระดับชั้นเรียน เป็นต้น ตามบริบทความพร้อมของแต่ละพื้นที่

ส่วนในประเด็นเสียงสะท้อนของผู้ปกครองที่มองว่าการเรียนการสอนในรูปแบบ Online ยังคงเป็นการเรียนการสอนแบบเดิมเหมือนเรียนในห้องเรียน เพียงแต่สอนผ่านระบบ Online เท่านั้น ส่งผลให้ไม่สามารถดึงดูดนักเรียนให้สนใจกับการเรียนได้ เช่น นั่งเรียนไปด้วยดูโทรศัพท์มือถือไปด้วย นั่งเรียนแต่ดูโทรทัศน์ไปด้วย เป็นต้น ซึ่งในเรื่องการเรียนการสอนที่จัดผ่านระบบ Online สพฐ.ได้มีการพัฒนาครู ให้ปรับกระบวนการ หรือ หลักคิดในการสอน เพราะการสอน Online ไม่ใช่การเรียนการสอนเหมือนในห้องเรียนปกติ โดยครูจะต้องปรับวิธีการสอน ไม่เน้นเนื้อหามากไป เน้นการปฏิบัติ เช่น ชั่วโมงเรียน 1 ชั่วโมง อาจจะเรียนเนื้อหาเพียง 10-15 นาที จากนั้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติ เป็นต้น

“นอกจากนี้ สพฐ. ยังมองไปถึงอนาคตด้วยว่า การเรียนการสอนในรูปแบบ On line จะเน้นไปในรูปแบบ On demand มากขึ้น เพื่อที่จะให้นักเรียน ได้สามารถเลือกเรียนในสิ่งที่ชอบ หรือสนใจและตามเวลาที่สะดวก หรือสนใจ ๐เลขาสพฐ.กล่าว

ด้านนางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาฯ กพฐ. กล่าวว่า สำหรับประเด็นการมอง ว่า การเรียนการสอนในรูปแบบ Online ยังคงเป็นการเรียนการสอนแบบเดิมนั้น สพฐ.เข้าใจถึงปัญหาอย่างดี  ซึ่งเราได้มีการปรับให้เรียนเนื้อหาน้อยลง เน้นการทำกิจกรรมมากขึ้น เพื่อให้เกิดการเรียนแบบ Active Learning รวมถึงยังนำไปสู่การบูรณาการบทเรียนในแต่ละสาระการเรียนรู้ ทำให้ครูได้ประสานความร่วมมือระหว่างกันมากขึ้นด้วย ส่งผลให้เมื่อนักเรียนทำงาน 1 ชิ้น จะสามารถเชื่อมโยงได้หลายวิชา และหากเรามองในรายละเอียด จะพบว่า หลายๆ โรงเรียนมีการบริหารจัดการในเรื่องนี้อย่างมาก โดยบางโรงเรียนที่อยู่ใกล้ชุมชน ครูก็จะติดตามไปถึงที่บ้านด้วย
นอกจากนี้ สพฐ.ยังได้มีการสำรวจด้วย ว่า นักเรียนแต่ละคนอาศัยอยู่กับใคร เพื่อที่จะหาผู้ช่วยครูในการเรียนการสอนแบบ Online เช่น อยู่ร่วมกับพี่ หรือผู้ปกครอง ก็จะให้ทำหน้าที่ร่วมกันเรียนรู้ไปกับตัวนักเรียนด้วย เป็นต้น ซึ่งจะมีคู่มือสำหรับผู้ปกครองในการช่วยเหลือนักเรียนด้วย

“สพฐ.ไม่ได้ทิ้งนักเรียนให้เรียน Online อย่างโดดเดี่ยว เราสำรวจ ติดตาม ทำข้อมูล พัฒนา เพื่อให้การเรียนการสอนในรูปแบบนี้สามารถตอบโจทย์การเรียนรู้ได้จริง”รองเลขาฯ กพฐ.กล่าว
——————————

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เตือนเกียรติบัตรอบรม e-Learning ก.ค.ศ. ใช้ต่อใบประกอบวิชาชีพไม่ได้

นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ตามที่มีข้อมูลปรากฏถึงเรื่องอบรมออนไลน์หลักสูตร e-Learning สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

หนังสือดีเด่น ปี 66 ปลุกรักการอ่าน

เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและการกระจายหนังสือดี มีคุณภาพ และกระตุ้นให้คนไทยมีนิสัยรักการอ่านสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ  จัดประกวดหนังสือดีเด่นมาอย่างต่อเนื่องทุกปี  การประกวดหนังสือดีเด่น ประจำปี พ.ศ. 2566  ปีนี้มีผู้ประพันธ์  ผู้จัดพิมพ์ และหน่วยงานต่างๆ ร่วมส่งหนังสือประกวดรวม411 เรื่อง