4พันธมิตร จัดงาน'ไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 '

2ธ.ค.2564 – นพ. เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวในงานเสวนาออนไลน์หัวข้อ “การขับเคลื่อนนวัตกรรมเทคโนโลยีเพื่อการสร้างสุขภาพ และบริการเพื่อสุขภาพแก่คนทั้งมวล Empowering Smart Healthcare Innovation Thailand) ซึ่งเป็นกิจกรรมเพื่อเตรียมความพร้อมการจัดงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022  ว่า ประเทศไทยมีชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่งในด้านการแพทย์และการบริการสุขภาพโดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ได้จัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทย ให้เป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub) อันประกอบด้วยศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ศูนย์กลางบริการสุขภาพ (Medical Service Hub) ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย(Academic Hub) และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub)  ในวันนี้นวัตกรรมถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทุกเรื่องเห็นได้จากการต่อสู้กับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19อย่างหนักในช่วงปีที่ผ่านมาเราได้คิดค้นนวัตกรรมหลายอย่างเพื่อต่อสู้กับการแพร่ระบาด ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมโรคและการส่งเสริมการควบคุมโรคในรูปแบบต่างๆการใช้การตรวจแบบ ATK การรักษาพยาบาล และการฉีดวัคซีนซึ่งไทยเป็นประเทศแรกๆ ที่มีการฉีดวัคซีนแบบไขว้และประสบความสำเร็จทำให้ภูมิของผู้ฉีดอยู่ในระดับสูง ทำให้วันนี้สถานการณ์การแพร่ระบาดมีการคลี่คลาย สามารถเปิดประเทศได้สร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักธุรกิจ นักลงทุน และนักท่องเที่ยวซึ่งจะนำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและการคืนชีวิตรูปแบบปกติในวิถีใหม่ได้เร็วขึ้น


โดย นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวเสริมว่านโยบายในการดำเนินงานเพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านสาธารณสุข หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้นมีแนวทางปฏิบัติที่ประกอบด้วย การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรค การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจหาเชื้อได้อย่างรวดเร็ว มาตรการ Covid Free Setting สำหรับสถานประกอบการพื้นที่ซึ่งเปิดรับนักท่องเที่ยวด้านการแพทย์และสาธารณสุขโดยปรับรูปแบบการรักษาพยาบาลที่สอดคล้องกับสถานการณ์ และเวชภัณฑ์และการส่งกำลังบำรุงเพื่อสามารถจัดหายาและเวชภัณฑ์ได้เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา

ส่วนนายคมกริช ด้วงเงิน รองผู้อำนวยการฝ่ายสินค้าการท่องเที่ยวการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย(ททท.) กล่าวว่า หลังจากมีการเปิดประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นต้นมาพบว่าอัตราการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาในประเทศไทยเฉลี่ยอยู่ที่ 2-3 พันคนต่อวันโดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าประเทศไทยมากสุดเรียงตามลำดับ ได้แก่สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น สวิตเซอร์แลนด์ สวีเดน เกาหลีใต้ ซึ่ง ททท.ได้มีการทำการตลาดและประชาสัมพันธ์ความพร้อมด้านสาธารณสุขที่เข้มงวดควบคู่กับแคมเปญส่งเสริมการท่องเที่ยว Visit Thailand Year 2022 ด้วยแนวคิด Amazing Thailand, Amazing New Chapters. พร้อมทั้งมีการจัดทำโครงการด้านสุขอนามัย Amazing Thailand Safety and Health Administration หรือ SHA ซึ่งมีสถานประกอบการที่ผ่านมาตรฐานอยู่ประมาณ 27,000 ราย ใน 10 ประเภทกิจการโดยกลุ่มของ Medical Tourism มีความสำคัญอย่างมากจากการศึกษาพบว่า 78% ของคนใน 48 ประเทศทั่วโลกมีความต้องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอยู่ในใจ และมองประไทยเป็นลำดับต้นๆ ที่จะมาใช้บริการ นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้มีค่าใช้จ่ายต่อหัวสูงถึง 80,000 -120,000 บาท สร้างมูลค่าเพิ่มให้เศรษฐกิจไทยสูงถึง 80% สอดคล้องกับแนวทางการเปลี่ยนแปลงและพลิกฟื้นการท่องเที่ยวอย่างสร้างสรรค์ ที่ต้องการให้การท่องเที่ยวไทยเป็นการท่องเที่ยวที่มีมูลค่าสูงบนพื้นฐานการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบ บนอุปทานที่เหมาะสมลดการพึ่งพิงนักท่องเที่ยวต่างชาติ  เน้นการหารายได้มากกว่าปริมาณลดจำนวนนักท่องเที่ยวแต่เพิ่มค่าใช้จ่ายต่อหัวปรับภาพการท่องเที่ยวไทยจากตลาด Mass สู่ตลาดคุณภาพภายใต้การท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบสามารถขายสินค้าการท่องเที่ยวที่มีราคาดี แตกต่างจากที่ผ่านมา


ด้านนายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยาผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ กล่าวว่า “หลังจากวิกฤติโควิด 19 และเปิดประเทศ ทีเส็บเร่งผลักดันการทำงานร่วมกับองค์กรพันธมิตรภาคีเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการจัดงานไมซ์ที่มีความปลอดภัยตามมาตรการสาธารณสุขและปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร หรือ COVID Free Setting ซึ่งการจัดงานแสดงสินค้าถือเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ Quick Win ที่ช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจภายในประเทศได้อย่างทันท่วงที ซึ่งงานไทยแลนด์อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป 2022 เป็นตัวอย่างการผนึกกำลังของพันธมิตรในการจัดงานเพื่อกระตุ้นอุตสาหกรรมไมซ์ในประเทศตามนโยบาย “หนึ่งกระทรวง หนึ่งงานนิทรรศการ” (One Ministry One Expo) ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมและยังเป็นการใช้งานแสดงสินค้าเป็นเครื่องมือในการสร้างงาน สร้างรายได้สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับภาคอุตสาหกรรมการแพทย์และสุขภาพ อีกด้วยที่ผ่านมาทีเส็บส่งเสริมการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดงานเพื่อแก้ปัญหา รวมทั้งยกระดับการจัดงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเรามีแพลตฟอร์ม Thai MICE Connectที่เป็นเหมือนตลาดเพื่อการซื้อขายสินค้าและบริการสำหรับการจัดกิจกรรมไมซ์ หรือที่เรียกว่า MICE E-Marketplaceโดยล่าสุดมีผู้ประกอบการไมซ์อยู่ในระบบมากกว่า 10,000 รายเชื่อมโยงการบริการไปยังผู้ซื้อให้เข้าถึงข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจโดยผู้ประกอบการที่อยู่ในระบบทั้งผู้จัดงาน สถานที่จัดงาน ที่พัก ร้านอาหาร ตลอดจน โลจิสติกส์มีมาตรฐานการให้บริการด้านความปลอดภัยที่ผ่านมาตรฐาน TMVS (Thailand MICE Venue Standards) และ AMVS (ASEAN MICE Venue Standards)
“โดยในงานนี้ ทีเส็บจะนำเสนอโครงการต่าง ๆที่สนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมสุขภาพด้วยนวัตกรรมแห่งไมซ์ หรือ“Driving Thailand Health Industry with MICE Innovation” ผ่านแนวคิดHygiene + Hybrid (2HY) อาทิ แนวปฎิบัติการจัดงานต่าง ๆแพ็กเกจสนับสนุนการจัดงาน ตัวอย่างการจัดงานไมซ์แบบ 2HYเทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดงานด้าน Virtual / Hybrid Event Management, Crowd Management, Biz Connect Application เพื่อสร้างความมั่นใจว่าการจัดประชุม สัมมนาการจัดงานแสดงสินค้าและงานอีเวนต์ในประเทศไทย จะขับเคลื่อนไปได้อย่างเต็มศักยภาพภายใต้มาตรฐานการจัดงานที่ปลอดภัย สำหรับทุกคน”

ด้าน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า ในยุคที่ดิจิทัลไลเซชั่น (Digitalization) เข้ามามีอิทธิพลสูงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย และมีข้อมูลที่หลากหลายแต่นวัตกรรมและเทคโนโลยีก็เป็นเครื่องมือที่สำคัญที่เปิดโอกาสให้เราใช้เผยแพร่องค์ความรู้ที่มีอยู่มากมาย ผ่านระบบออนไลน์ช่วยให้ประชาชนเข้าถึงได้ง่าย อย่างในช่วงการระบาดของโควิด-19 สสส.ได้มีการนำคู่มือการฉีดวัคซีนโควิด-19 การทำ Home Isolation หรือ Community Isolation เผยแพร่ในระบบออนไลน์ ก็มีประชาชนเข้ามาดาวน์โหลดมากถึง 7 ล้านคน นอกจากนั้น สสส. ยังมีการพัฒนาระบบสารสนเทศ “Persona Health สื่อเฉพาะคุณ ซึ่งเป็นระบบคลังของสารและเครื่องมือสร้างสุขภาพที่มีการรวบรวมชุดความรู้คู่มือ แอปพลิเคชั่นและสื่อรณรงค์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพของ สสส.และภาคีเครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพกว่า 10,000 ชิ้นโดยมีการนำมาจัดกลุ่มให้เหมาะสมกับข้อมูลส่วนบุคคล เช่น จัดกลุ่มเพศ อายุ ประเด็นสุขภาพ โรคประจำตัว โดย สสส. ได้ร่วมมือกับ สปสช.ใช้ปัญญาประดิษฐ์นำสารและเครื่องมือสร้างเสริมสุขภาพที่เหมาะสมส่งตรงเข้าสู่โทรศัพท์มือถือรายบุคคลอีกด้วย


สำหรับผู้สนใจเข้าร่วมงานไทยแลนด์ อินเตอร์เนชั่นแนล เฮลท์ เอ็กซ์โป2022 ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 23 มกราคม 2565 ณ รอยัลพารากอนฮอลล์ 1 – 3 ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอนติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์http://www.thailandhealthexpo.com Facebook : ThailandInternational Health Expo 2022 หรืออีเมล์[email protected]

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

MRT Healthy Station เดินทางสู่เฟซ 3 สสส. สานพลัง BMN ต่อยอดพื้นที่สาธารณะสื่อสารสุขภาพ เนรมิตอุโมงค์บางซื่อ ให้กลายเป็น Walk Stadium เดินฟาสต์ให้ร่างฟิต

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูล์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า สสส. มุ่งสร้างนวัตกรรมสุขภาพ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อ (NCDs)

“สมศักดิ์” เห็นชอบตั้ง “ชาญเชาวน์” อดีตปลัดยุติธรรม จับมือหน่วยงานเกี่ยวข้องปราบบุหรี่ไฟฟ้า กวดขัน “ห้ามพกพา-สูบ” ในสถานที่ราชการ สนามบิน

เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 2567 ที่กระทรวงสาธารณสุข นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในฐานะรองประธานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ คนที่ 1

สุขให้เป็น..ก็เป็นสุข จิตวิทยาเชิงบวก ห่างไกล...ซึมเศร้า

ในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “สุขเป็น:จิตวิทยาเชิงบวกในชุมชนโดยกลไกชุมชน” ภายใต้โครงการสร้างเสริมสุขภาวะทางจิต เด็ก เยาวชน และครอบครัว ที่สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

สสส. ห่วง "เด็กและเยาวชน" ติดกับดักความสุข เปรียบเทียบภาพความสำเร็จกับคนอื่น

นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้จัดการกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)กล่าวว่า สสส. สนับสนุนภาคีเครือข่าย สร้างนวัตกรรมการเรียนรู้หลายรูปแบบ โดยร่วมกับ Eyedropper Fill กลุ่มนักออกแบบที่เคยร่วมงานจากนิทรรศการ “Homecoming

ระดมความคิด"ถก"กม.โลกร้อน ชี้ทุกประเทศต้องร่วมมือพิทักษ์โลก

การสัมมนารับฟังความคิดเห็นต่อการจัดทำกฎหมายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศบนฐานสิทธิมนุษยชน ณ ห้อง 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)