อว.เอาจริง! ตั้งคกก.ควบคุม 'ม.พิษณุโลก' หลังกกอ.ส่งหนังสือ 9 ฉบับ ทักท้วงการแต่งตั้งตำแหน่งวิชาการ 51 อาจารย์ แต่ไม่เป็นผล

ก่อนหน้านี้ กกอ. ได้แจ้งให้สภามหาวิทยาลัยพิษณุโลกพิจารณาถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลกที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์จำนวน 51 ตำแหน่ง

16 มี.ค.2566-ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว. ) เปิดเผยว่า กระทรวง อว. ได้มีคำสั่งให้มหาวิทยาลัยพิษณุโลกอยู่ในความควบคุม และแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมฯ ทำหน้าที่สภามหาวิทยาลัย โดยคำแนะนำของคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) จากกรณีที่มหาวิทยาลัยพิษณุโลกได้ดำเนินการกำหนดตำแหน่งวิชาการในมหาวิทยาลัยไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กกอ. กำหนด

ทั้งนี้ อว.ได้พิจารณาอย่างรอบคอบและให้โอกาสมหาวิทยาลัยพิษณุโลกในการแก้ไขการกำหนดตำแหน่งวิชาการให้ถูกต้องมาหลายครั้งแล้ว แต่มหาวิทยาลัยก็ไม่ดำเนินการให้ถูกต้องครบถ้วน จึงได้มีคำสั่งควบคุมมหาวิทยาลัยพิษณุโลกโดยคำแนะนำของ กกอ. และแต่งตั้งคณะกรรมการจำนวน 10 ท่าน โดยมี รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และอดีตกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยอีสาน ทำหน้าที่เป็นประธาน ส่วนกรรมการ ประกอบด้วย ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล ศ.ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ ศ.ดร.ผดุงศักดิ์ รัตนเดโช ศ.ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล ศ.ดร.สุรศักดิ์ ฐานีพานิชสกุล รศ.ดร.ชาลี ทองเรือง รศ.ดร.วีรยา ฉิมอ้อย นายสุทน เฉื่อยพุก และ ผอ.กองกฎหมาย สำนักงานปลัดกระทรวง อว. เข้ามาทำหน้าที่ เพื่อไม่ให้มหาวิทยาลัยเกิดความเสียหาย ทั้งนี้การกำหนดตำแหน่งวิชาการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการนั้นมีความสำคัญมาก เป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพ คุณภาพและความเป็นมาตรฐานของสถาบันอุดมศึกษา ทั้งนี้ การเข้าควบคุมจะเริ่มตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

“ที่ผ่านมา กระทรวง อว.พยายามให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรมในการกำหนดตำแหน่งวิชาการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กกอ.กำหนด โดยให้สภามหาวิทยาลัยพิษณุโลกพิจารณาถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลกที่ได้ดำเนินการไม่เป็นไปตามระเบียบ แต่สภามหาวิทยาลัยพิษณุโลกกลับมีมติยังไม่ถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการตามมติ กกอ. ดังนั้น กระทรวง อว.จึงต้องมีคำสั่งควบคุมและแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยพิษณุโลก เพื่อรักษากติกาและความถูกต้องทางการศึกษาไว้ ที่สำคัญไม่ให้สถาบันอุดมศึกษาต้องเสียหาย เพราะสถาบันอุดมศึกษาต้องเป็นแบบอย่างที่ถูกต้องของสังคม” รมว.อว.กล่าว

ด้าน ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ประธานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ กกอ. ได้แจ้งให้สภามหาวิทยาลัยพิษณุโลกพิจารณาถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลกที่ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์จำนวน 51 ตำแหน่ง ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และตรวจสอบการดำเนินการพิจารณากำหนดตำแหน่งทางวิชาการของมหาวิทยาลัยพิษณุโลก พร้อมทั้งมอบคณะอนุกรรมการด้านกฎหมาย พิจารณาประเด็นที่เกี่ยวข้องกับข้อกฎหมายก่อนเสนอ กกอ. พิจารณา โดยหลังจากที่ กกอ. ได้พิจารณาอย่างรอบคอบ รวม 13 ครั้ง และได้มีหนังสือแจ้งมติ พร้อมรายละเอียดผลการพิจารณาไปยังมหาวิทยาลัยพิษณุโลก รวม 9 ฉบับ เพื่อให้ดำเนินการให้ถูกต้อง ซึ่งภายหลังมหาวิทยาลัยพิษณุโลก ได้มีมติถอดถอนตำแหน่งทางวิชาการของคณาจารย์มหาวิทยาลัยพิษณุโลก 13 ตำแหน่งส่วนที่เหลืออีกจำนวน 38 ตำแหน่ง ยังไม่ได้ดำเนินการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กกอ. กำหนด

ประธาน กกอ. กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ การดำเนินการและการจัดส่งเอกสารมายังสำนักงานปลัดกระทรวง อว. ก็ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์และมีความบกพร่องที่แสดงให้เห็นถึงการไม่ปฏิบัติตามมติ กกอ. ดังนั้น กกอ.จึงได้เสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว.พิจารณาสั่งการให้สภามหาวิทยาลัยพิษณุโลกทบทวนการแต่งตั้งคณาจารย์ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กกอ.กำหนดภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้ง ซึ่งเป็นไปตามความในมาตรา 7 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 86(2) แห่ง พ.ร.บ.สถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งหากสภามหาวิทยาลัยพิษณุโลกไม่ดำเนินการภายใน 15 วัน จะถือว่าเป็นการจงใจไม่ปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงานที่ได้สั่งการโดยชอบตามที่กฎหมายกำหนด แต่เมื่อครบกำหนดระยะเวลา 15 วันแล้ว สภามหาวิทยาลัยพิษณุโลกก็ยังไม่ได้แจ้งผลการพิจารณาทบทวนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กกอ.กำหนด จากนั้น กกอ. จึงมีมติให้แจ้งสภามหาวิทยาลัยพิษณุโลก ดำเนินการตามหนังสือสั่งการของ รมว.อว.โดยเคร่งครัด พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินการให้ กกอ. ทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งมติ ซี่งบัดนี้ได้ครบระยะเวลาตามที่กำหนดแล้ว แต่สภามหาวิทยาลัยพิษณุโลกก็ยังไม่ได้แจ้งผลการดำเนินการตามมติ กกอ. มาแต่อย่างใด ดังนั้น จึงจำเป็นต้องดำเนินการแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่สภามหาวิทยาลัยเพื่อพิจารณาแก้ไขปัญหาตามมาตรา 86 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่ม

ขณะที่ รศ.ดร.สุมนต์ สกลไชย ประธานคณะกรรมการควบคุมมหาวิทยาลัยพิษณุโลก กล่าวว่าคณะกรรมการควบคุมฯ จะเข้าไปปฏิบัติงานแทนสภามหาวิทยาลัย แต่งตั้งรักษาการอธิการบดี เข้าไปดำเนินการแก้ไขปัญหาความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ คณะกรรมการฯ จะดำเนินการด้วยความรวดเร็ว โปร่งใส และให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่รับผลกระทบจากการเข้าควบคุมในครั้งนี้ โดยไม่ให้มีผลกระทบต่อนักศึกษา

เพิ่มเพื่อน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

กระทรวง อว. - บพค. จัดงานประชุมวิชาการ PMU-B Brainpower Congress 2024 ภายใต้แนวคิด “Unlocking the Potential of Ignite Thailand: ปลดล็อกศักยภาพคนไทยจุดประกายสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต”

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากําลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

“ศุภมาส” จัดเต็ม ! ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ขนทัพมหาวิทยาลัยจากทั่วประเทศรวมไว้ในที่เดียว พร้อมเปิดงาน One Stop Open House 2024 มหกรรมการศึกษาครั้งยิ่งใหญ่

วันที่ 27 พ.ย.67 ที่ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดงาน “One Stop Open House 2024”

เดินหน้าต่อเนื่อง! "ศุภมาส" ประกาศจัดงาน "One Stop Open House 2024" สานต่อความสำเร็จของ "อว.แฟร์"

เมื่อวันที่ 25 พ.ย. 2567 นางสาวศุภมาส อิศรภักดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) แถลงข่าวประกาศความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของการจัด งาน "อว.แฟร์ : SCI POWER FOR FUTURE THAILAND" ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 - 28 กรกฎาคม 2567 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ พร้อมประกาศการเตรียมจัดงาน "One Stop Open House 2024" ภายใต้แนวคิด "อนาคตของคุณเริ่มต้นที่นี่:

อว.หนุนเต็มที่ ! "ศุภชัย" เปิดประชุมนานาชาติด้านชีววิทยาสังเคราะห์ SynBio Consortium 2024

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ณ ห้องอีเทอร์นิตี้ บอลรูม โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้รับมอบหมายจาก นางสาวศุภมาส อิศรภักดี

ไปแอ่วหละปูนกันเต๊อะ ยลมหานครโคมโลก !

ประเด็น "การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล" ในไหล่ทวีป 26,400 ตารางกิโลเมตร ระหว่างไทย-กัมพูชา กลับมาเป็นเรื่องร้อนๆ ที่ถูกพูดถึงทางการเมืองอีกครั้ง