ข้อสรุป ที่ผมได้ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราต้องเป็นผู้ให้ เลิร์นนิ่ง มากกว่าผู้ขายหนังสือเรียน ผมนำความคิดนี้ไปถกแถลงผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นของบริษัท บอกเขาว่าเลิร์นนิ่ง มันอยู่เหนือ โปรดักส์ หรือ ตำราเรียนของเรา ซึ่งมันควรเป็น Philosophy หรือปรัชญาขององค์กร
1ธ.ค.2565-ในวงการหนังสือแบบเรียนตอนนี้ คงแทบไม่มีโรงเรียนไหน ไม่รู้จักแบบเรียนของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ ซึ่งครองส่วนแบ่งตลาดหนังสือเรียนประมาณ 40% ที่เหลือเป็นส่วนแบ่งของสำนักพิมพ์จากคุรุสภา 40%และสำนักพิมพ์อื่นๆ
เหตุใดสำนักพิมพ์เอกชน ที่เมื่อประมาณ 30 ปีก่อน ยังเป็นสำนักพิมพ์เล็กๆ เป็นน้องใหม่ในวงการแบบเรียน ยังไม่เป็นที่รู้จักมากนัก จึงเติบโตพุ่งพรวดเป็นที่ยอมรับในโรงเรียนต่างๆ คงต้องยกให้เป็นฝีมือการบริหารของ ตะวัน เทวอักษร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อักษรเจริญทัศน์ จำกัด ทายาทรุ่นที่สองของสำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์ ที่เข้ามารับช่วงบริหาร เมื่อ 15ปีก่อน
หลังจบการศึกษาปริญญาตรีวิศวเครื่องกล จากออสเตรเลีย ตะวัน ไม่ได้มาบริหารกิจการของครอบครัวในทันที แต่โดดเข้าวงการวาณิชธนกิจ ซึ่งเป็นช่วงพอดีกับเกิดวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 รู้สึกสนุกกับงานมาก เพราะเป็นหนึ่งในทีมที่ให้คำปรึกษาลูกค้าเกี่ยวกับการขาย และควบรวมกิจการ งานบางชิ้นมี impact ถึงขนาดขึ้นหน้าหนังสือพิมพ์เกือบทุกวัน
แต่เมื่อต้องมารับช่วงกิจการ ตะวันบอกว่า แม้ตอนเด็กๆ จะเคยช่วยทำงานให้กับครอบครัวบ้าง เช่น จัดส่งหนังสือให้กับโรงเรียนต่างๆ ที่มีทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด แต่ลึกๆแล้ว เขายังไม่ได้เข้าใจธุรกิจหนังสือตำราเรียนของเด็กๆที่ครอบครัวทำอยู่ดีนัก
“วันแรกมาทำงาน ผมอยู่นอกวงการศึกษา ไม่เคยรู้มาก่อน เพราะทำงานกับสายวาณิชธนกิจ มาถึงไม่รู้เรื่องอะไร ผมเลยใช้วิธีคุยกับพนักงานทุกคน ออกไปเยี่ยมลูกค้า และถามๆๆๆ เพื่อหาคำตอบว่า ควรทำอะไร ที่สนองความต้องการลูกค้า ผมคุยตั้งแต่ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู นักเรียน พ่อแม่ของนักเรียน และร้านค้า หรือบูธที่ไปออกงาน ทำอย่างนี้อยู่ 1ปี ซึ่งจับความได้ว่าหลายคนโดยเฉพาะ คุณครูอยากได้ Learning ที่มากกว่าแค่ความเป็น”หนังสือ “
“ข้อสรุป ที่ผมได้ถ้าเช่นนั้นแล้ว เราต้องเป็นผู้ให้ เลิร์นนิ่ง มากกว่าผู้ขายหนังสือเรียน ผมนำความคิดนี้ไปถกแถลงผู้บริหาร ผู้ถือหุ้นของบริษัท บอกเขาว่าเลิร์นนิ่ง มันอยู่เหนือ โปรดักส์ หรือ ตำราเรียนของเรา ซึ่งมันควรเป็น Philosophy หรือปรัชญาขององค์กร เพราะฉะนั้น เราต้องเริ่มต้นPhilosophy ของการ Learning หลังจากนั้นผมก็พูดๆๆๆ กับทั้งพนักงาน ผู้บริหาร กรรมการ หัวหน้างาน ทุกคนเพื่อให้เห็นภาพเดียวกับที่เราเห็น ทางที่เราจะเดินไป กระบวนการดึงให้ทุกคนมามีส่วนร่วม บางเรื่องพูดซ้ำๆ เป็นร้อยครั้ง ให้ทุกคนเห็นด้วยไม่ใช่การบังคับ “
หลังจากนั้น แบบเรียนของอักษรเจริญทัศน์ จึงค่อยๆพลิกโฉม ไปสู่แบบเรียนที่เป็น ” เลิร์นนิ่ง “อย่างค่อยเป็นค่อยไป จากรูปแบบเดิมที่มีแต่เนื้อหาให้กับเด็ก เปลี่ยนเป็นหนังสือมีภาพประกอบสี่สี มีจุดเน้น หรือมีช่องที่เป็น Note ในหน้าเดียวกัน เพื่อให้เด็กสังเกตุเห็นได้ชัดเจน ว่าอะไรเป็นจุดสำคัญของเนื้อหา ทั้งนี้ เพื่อสร้างความน่าสนใจ ดึงดูดผู้เรียน ที่ยังไม่เคยมีมาก่อนในแบบเรียนของไทย
ไม่ได้มีแต่เพียงโฉมหน้าแบบเรียนที่เปลี่ยนไป อักษรเจริญทัศน์ ยังทรานสฟอร์มจากหนังสือเรียน มาเป็นในรูปแบบมัลติมีเดียด้วย เช่น การอธิบายการเกิดสึนามิ การเกิดภัยพิบัติ และใช้อินโฟกราฟฟิกส์ ซึ่งตะวันบอกว่าสำนักพิมพ์อักษรฯใช้เป็นรายแรกๆของประเทศ
แต่กว่าจะมาเป็นแบบเรียนที่โดนใจทั้งนักเรียนและครูได้ ตะวันบอกว่า ได้ทำงานร่วมกับซัพพลายเออร์ คอนเทนส์ บริษัทชั้นนำทั่วโลกหลายแห่ง ได้แก่ Benesse Corporationสำนักพิมพ์เก่าแก่ผลิตสื่อการศึกษาของประเทศญี่ปุ่น Code.org ผู้เชี่ยวชาญการเรียนเกี่ยวกับโค้ดดิ้งและศาสตร์คอมพิวเตอร์ , Start Publishing สื่อที่มีประสบการณ์ผลิตนิยายวิทยาศาสตร์และแนวแฟนตาซี Cambridge University Press โดยสำนักพิมพ์ออกฟอร์ด รวมมือด้านการพัฒนาเนื้อหา และสื่อดิจิทัล Twig World Express Publishing ที่มีประสบการณ์ด้านการใช้สื่อดิจิทัลในการสอนให้เด็กให้เข้าใจในเนื้อหาในหลักสูตร ผ่านเรื่องราวต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น และ. Shing Lee Publisher สำนักพิมพ์จากประเทศสิงคโปร์ ผู้ทำDogital learning platform สื่อการเรียนและเชี่ยวชาญการผลิตแบบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศสิงคโปร์
“ถึงเราจะทำงานกับบริษัทผู้นำในfield ต่างๅ ทั่วโลก แต่เราไม่ได้นำของเขามาใช้ทั้งหมด มีการปรับแต่งใหม่ และผสมผสมนกับของทีมงานของเราเองห้ลงตัว เหมาะกับบริบทไทยๆ เพราะต่างประเทศที่ทำคอนเทนต์ ไม่รู้บริบทของครูไทยว่าเป็นอย่างไร แต่เรารู้ เราก็เอาสิ่งต่างๆเหล่านี้มาแอพลลาย อย่างของสิงคโปร์ วิชาคณิตศาสตร์ เราเอาคอนเซ็ปต์ของเขามาปรับประยุกต์ใชกับโรงเรียนธรรมดาๆ “
ไม่ได้หยุดแค่การสร้างปรากฎการณ์ใหม่ให้วงการแบบเรียนสำหรับเด็ก แต่อักษรฯ ยังรุกคืบโดยทำโครงการอบรมครูตามโรงเรียนต่างๆที่เป็นลูกค้าของบริษัท ซึ่งเป็นการอบรมทุกวิชา โดยในช่วง 10ปี ของการจัดอีเวนต์ มียมีครูผานการอบรมมาแล้วประมาณ 3 ล้านคน หรือปีหนึ่งประมาณ 80,000-1แสนคน
การอบรมครูไม่ได้หวังผลแค่ด้านการทำตลาดเท่านั้น แต่ในใจลึกๆ ตะวัน บอกว่า เขาอยากเห็นความเหลื่อมล้ำหรือความไม่เท่าเทียมต่างๆในสังคมแคบลง ซึ่งหากทำได้ก็จะทำให้การพัฒนาประเทศเกิดความยั่งยืน และมองว่าปัญหาใหญ่ของไทยคือ ความไม่เท่าเทียม และรากฐานปัญหาที่สำคัญ คือ โอกาสที่ไม่เท่ากันในการเรียนรู้ของเด็ก หากแก้ตรงนี้ได้ การพัฒนาก็จะเสถียรเดินไปข้างหน้าได้ง่าย
“ทางแก้ต้เองอยู่ที่โรงเรียนทั่วไป โรงเรียนที่โอกาสน้อย ครูที่เก่งน้อยกว่า ทำให้เด็กเกิดโอกาสเท่าเทียมได้อย่างไร ตรงนี้เป็นช่องที่ทำให้อักษรเข้าไปทำกิจกรรม ทางแก้ต้องทำให้ครูทำให้ได้ เรามีครู5แสนคน จะทำยังไงให้ครูสอนเด็กแบบที่ต้องการได้ “
หลังจากอบรมครูมาหลายรุ่นหลายปี เขาบอกว่าพอจะเริ่มเห็นผล สิ่งที่พยายามทำบ้างแล้ว เช่น โรงเรียนธรรมดาบ้านๆ อยุธยา ครูตั้งโจทย์ให้เด็กคิดที่แปลกออกไป “คุณครูบอกว่านักเรียนมาช่วยแก่ปีญหาหน่อย จะมีอุกาบาตมาชนโลก ต้องหาบ้านใหม่ ทำไงดี ครูชวนเด็กระดมสมอง แล้วพรีเซนต์ให้เพื่อนๆได้ถกเถีบงกัน โอกาสแบบนี้ ให้เด็กนักเรียนได้คิดวิเคราะห์ เชื่อว่าเมื่อเติบโตไป เขาก็จะได้คิดเป็น หรือ โรงเรียนธรรมดาแถวดาวคะนอง ครูบอกนักเรียนให้เล่าว่าชุมชนในฝันว่าเป็นอย่างไร เด็กก็ไปคิดมีประปา ไฟฟ้า มีระบบบำบัดน้ำเสีย มีตำรวจ ระดมสมอง ถกเถียงกัน หรืออีกตัวอย่าง.ที่ผมชอบมาก ครู ถามนักเรียนชั้น ม.ต้นว่า นักเรียนถ้าเราต้องเดินทางไปให้ถึงลอนดอนเวลา 6โมงเช้า แล้วเราจะต้องออกจากกรุงเทพฯ กี่โมง โจทย์นี้ยากนะ สำหรับผู้ใหญ่ยังยากเลย เด็กจะพบเรื่องใหม่ๆ เช่นไทม์โซน .เครื่องบินบินเร็วเท่าไหร่ “
ตะวันเล่าอีกว่า เมื่อ 4ปีที่แล้ว ประเทศไทย เพิ่งจะมีการเริ่มหลักสูตร Computer Science ซึ่งไม่เคยมีการเรียนการสอนมาก่อน ครูวิทยาศาสตร์บอกว่าสอนไม่เป็น บางคนบอก เคยสอนแต่การใช้โปรแกรมไมโครซอฟต์ หรือเอ็กเซล เราบอกว่าเราจะอบรมให้ เราให้ครูทำหุ่นยนต์ เอาหุ่นยนต์ที่ครูผลิตมาวิ่งแข่งกัน ครูบอกฉันไม่เคยทำ เราบอกไม่เป็นไรจะสอนให้ พอทำกิจกรรมเสร็จครูบอกว่าเข้าใจแล้วเรื่องโปรแกรม บางคนบอกทำได้นี่หว่า
การอบรมครู ที่ทำเรื่อยๆ ทุกปีบางครั้งเป็นการนซ้ำกลับมาโรงเรียนเดิม เพราะต้องยอมรับว่า พอออกจากห้องอบรมไปแล้วบางทีครูก็อาจจะลืมสิ่งที่อบรม แต่ถึงครูจะลืม ตะวันบอกว่า ไม่เป็นไร เขา”มีตัวช่วย” นั่นก็คือ “Teaching Guide ” ที่อักษรฯทำขึ้นและโดยแจกฟรีให้กับโรงเรียนต่างๆ ในTeaching guide มีการดีไซน์ แนะนำการสอนอย่างเป็นขั้นเป็นตอน โดยมีแถบสีต่างๆ เป็นตัวบอก เช่น ควรอธิบายขยายความช่วงไหน หรือในช่อง”คำถามชวนคิด “ก็จะแนะให้ครูตั้งคำถามสำคัญอะไรบ้างที่เป็นคีย์คอนเซ็ปต์ของเรื่อง
ตะวันบอกอีกว่า ไม่คาดหวังว่าครูต้องทำได้เป๊ะตามที่ Teaching guide บอก แต่การทำแบบนี้จะทำให้ครูได้ไอเดีย จากตรงโน้นนิด ตรงนี้หน่อย ทำบ่อยๆก็จะเกิดทักษะ และคนที่ได้ประโยชน์ก็คือเด็กสามารถคิดวิเคราะห์เป็น
” ผมคิดว่านอกจากเรื่องคิด เป็นยังมีเรื่องskill ที่เราต้องฝึกเด็ก ที่เป็นคุณสมบัติที่โลกยุคใหม่คาดหวัง เช่น ทำงานเป็นทีมเป็น คิดสร้างสรรค์ทำสิ่งใหม่เป็น และสื่อสารรู้เรื่อง เล่าความคิดของตัวเองได้ 3-4 อย่างนี้ ครูต้องฝึกให้เด็ก ให้โอกาสเด็กพรีเซ็น ถกแถลง เพื่อให้เกิดไอเดียใหม่ๆ “
แพลตฟอร์มการสอนของครูทางออนไลน์ เป็นอีกสิ่งที่อักษรฯพัฒนาขึ้นมาและแจกฟรีเพื่อให้กับครูนำไปใช้สอนเด็ก ในช่วงโควิดระบาด โดยเน้นเนื้อหาที่กระชับ และมีแบบฝึกหัดแจกการบ้านให้เด็กทำ โดยจะมีDash board ตรวจสอบเด็กว่าทำการบ้านหรือไม่ และครูยังสามารถเก็บข้อมูลนี้ เป็นผลงานส่วนตัวได้ ทำให้มีครูลงทะเบียนใช้แพลตฟอร์มนี้หลายแสนคน
ทั้งการพลิกโฉมแบบเรียนเด็ก และการพัฒนาครู ล้วนต้องใช้ขุมกำลังที่เป็นทรัพยากรเบื้องหลังพอสมควร ตะวันบอกว่า เขามีทีมพัฒนาคอนเทนต์ 200 คน ทุกวิชา ซึ่งเป็นครูจากโรงเรียนครู อาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ คณะศึกษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ เอาคนที่เป็น subject expert และคนที่เป็น Teaching expert ต้องผสมผสานกัน โดยคนเหล่านี้มีทั้งที่เป็นพนักงานเต็มเวลา และคนข้างนอกที่เป็นพาร์ทไทม์ อีกทั้ง มีผู้เขียนอีก 200- 300 กว่าคน ที่เป็นคนนอก ในการพัฒนาเนื้อหาต่างๆ
“สิ่งที่เราทำทั้งหมดที่พูดมา เป็นเพราะเราวางโพซิชั่น ของเราเป็นเลิร์นนิ่ง การออกแบบการเรียนรู้ที่เราทำ มีเป้าหมายว่าทำยังไงให้เด็กธรรมดาๆ สามารถก้าวต่อไปได้ และคิดว่าทำยังให้ให้ครูสามารถผลักดันเด็กได้ ทั้งเหล่านี้ ทั้งที่ปรากฎในกระดาษ หรือในสกรีน หรือเลิร์นนิ่งโปรเซสต่างๆ และแม้ว่าเนื้อหาคือสิ่งที่เราขาย แต่สิ่งที่ไม่เห็นคือ จิตวิญญาณ การเรียนรู้ นั่นคือ สิ่งที่เราอยากให้เกิดขึ้นกับเด็ก”ตะวันตบท้าย