ข้อมูลทั้งหมดนี้ชี้ว่า หากปล่อยทุกอย่างเป็นไปตามภาวะปกติ ในทศวรรษหน้าเราจะเผชิญปัญหาหนัก และปัญหานี้จะไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงภาคการศึกษา (Education Sector) เท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบกับภาคอื่น ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ
28พ.ย.2565-จากที่ ดร.วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ไทยกำลังจะเผชิญความท้าทายใหญ่หลวงในทศวรรษหน้า หากไม่เร่งเตรียมพร้อมพัฒนากำลังคนตั้งแต่วันนี้ เพราะการพัฒนากำลังคนต้องใช้เวลานั้น ดร.อรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ตามที่ทราบกันโดยทั่วไปแล้วว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ประกอบกับเด็กเกิดลดลงมากเป็นประวัติการณ์ หลายได้ฟังก็คิดว่าเป็นปัญหาที่ทราบกันแล้ว แต่มีข้อมูลมากมายที่ชี้ว่าเรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเล็กน้อย และกำลังจะกลายเป็นวิกฤติหนักของประเทศในทศวรรษหน้า 5ประการดังนี้
ประการแรก ในอีก 11 ปีข้างหน้าผู้สูงอายุของไทยจะสูงขึ้นเป็น 28% หรือมากกว่าปัจจุบันราว 10% ซึ่งในทางวิชาการจะใช้ศัพท์ที่เรียกว่าสังคมสูงอายุระดับสุดยอด และปัจจุบันมีผู้สูงอายุ 19.2% อาศัยรายได้จากเบี้ยยังชีพจากราชการ ที่อัตราเพียงเดือนละ 600 -1,000 บาทต่อคนเท่านั้น
ประการที่สอง ผลิตภาพแรงงาน (Labour Productivity) เป็นการวัดสัดส่วนผลผลิตต่อหน่วยของแรงงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจระยะยาว และความสามารถในการแข่งขันของประเทศ จากข้อมูลจากองค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization : ILO) พบว่า ผลิตภาพแรงงานต่อชั่วโมงของไทยมีทิศทางลดลงและปรับเป็นระดับหดตัวในปี 2563 ในอัตราร้อยละ -1.89 และจากการจัดอันดับของโดย Institute for Management Development (IMD) ปี2564 ผลิตภาพแรงงานของไทยอยู่ในอันดับที่ 40 จาก 64 ประเทศ
ประการที่ 3 ในปี 2562 ไทยมีกลุ่มเยาวชนว่างงานและนอกระบบการศึกษา (NEET) เยาวชนอายุ 15-24 ปี ที่ไม่อยู่ในระบบการศึกษา การจ้างงาน และการฝึกอบรม มากถึง 1.3 ล้านคน (14% ของเยาวชนไทย) และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปีที่ 1% ประการที่ 4 ในปี 2564 ไทยมีแรงงานฝีมือเพียง 14.4% และมีแรงงานนอกระบบมากถึง 52% ซึ่งแรงงานกลุ่มนี้ไม่มีสวัสดิการ เมื่อเกษียณอายุแล้วย่อมส่งผลกับการดำรงชีวิต ในระยะยาวจะกระทบต่อรัฐในการจัดสรรงบประมาณโดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณด้านสุขภาพ และประการที่ 5. ดัชนีทุนมนุษย์ (Human Capital Index) ที่คำนวณโดยธนาคารโลก (World Bank) ในปี 2563 อยู่ที่ 0.61 หมายความว่าเด็กที่เกิดในประเทศไทยเมื่อเติบโตขึ้นจะมีศักยภาพในระดับร้อยละ 61 ของผลิตภาพที่เป็นไปได้ของตัวเอง (Potential Productivity)
ปลัด ศธ.กล่าวต่อไปว่า ข้อมูลทั้งหมดนี้ชี้ว่า หากปล่อยทุกอย่างเป็นไปตามภาวะปกติ ในทศวรรษหน้าเราจะเผชิญปัญหาหนัก และปัญหานี้จะไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงภาคการศึกษา (Education Sector) เท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบกับภาคอื่น ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ
“อย่างไรก็ตาม ข้อมูลยังชี้ให้เห็นว่ามีช่องว่างที่เราสามารถเข้าไปพัฒนา คือการเตรียมพัฒนากำลังคนให้ทำงานได้เต็มตามศักยภาพ ซึ่งการพัฒนากำลังคนเป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและเตรียมการตั้งแต่วัยเยาว์ จึงขอเรียกร้องให้ทุกภาคส่วนต้องให้ความสำคัญและร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการในการเตรียมพัฒนากำลังคนอย่างเต็มกำลังเพื่อให้ประเทศก้าวผ่านวิกฤตินี้”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รัฐบาลชวน 'ครู-นร.' ลงทะเบียน 'ซิมพร้อมเรียน' ใช้เน็ตฟรี
นายคารม พลพรกลาง รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาล โดยกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ได้ร่วมมือกับคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
กระทรวงศึกษาธิการ เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning
กระทรวงศึกษาธิการ สั่ง สพฐ. เร่งผลักดันการเรียนรู้แบบ Active Learning ให้ครอบคลุมทุกภาค ทุกโรงเรียน หวัง ส่งเสริมให้นักเรียนตั้งคำถามและหาคำตอบเอง แทนการท่องจำแบบเดิม
'รมช.ศธ.' เคลียร์ปมเปิดบัญชีรับบริจาค เหตุรถบัสนักเรียนไฟไหม้
'สุรศักดิ์' แจงปมเปิดรับบริจาค ช่วยเหลือครู-นักเรียน เหตุรถบัสทัศนศึกษาไฟไหม้ มอบ 'สพป.อุทัยธานีเขต 2' รับผิดชอบหลัก
"พล.ต.อ.เพิ่มพูน" จับมือครูเงาะ นำหลักสูตรอินเนอร์พาวเวอร์ช่วยพัฒนาครูฟรี ผ่านระบบออนไลน์ หวังใช้จิตวิทยาลดภาวะซึมเศร้าของเด็กและเยาวชน
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานการแถลงข่าวโครงการพัฒนาศักยภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
'เศรษฐา' สั่ง ศธ.เร่งแก้ไขปัญหาเด็กหลุดระบบการศึกษา
นายกฯ ประชุมหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงฯ ย้ำเดินหน้าแก้ไขปัญหาเด็กหลุดระบบการศึกษา ช่วยกันปลูกฝังให้เกลียดชังยาเสพติด แนะแบ่งเงินรางวัลนำจับเป็น 2 ส่วน เพื่อสร้างแรงจูงใจการทำงานของเจ้าหน้าที่