22 พ.ย.2565- สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้ออกแถลงการณ์ เรื่อง การเผยแพร่ผลงานซ้ำซ้อนและการมีชื่อในผลงานที่ตนไม่มีส่วนร่วมของอดีตอธิการบดี โดยระบุว่า ผศ.สืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง ถูกตั้งข้อกล่าวหาเพิ่ม เกิดจากกรณีถูกกล่าวหาฝ่าฝืนจรรยาวิชาชีพวิจัย และแนวปฏิบัติของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ พ.ศ. 2555 และมีพฤติกรรมในทางวิชาการที่ขัดต่อบทบัญญัติในกฎหมายและระเบียบ หรือข้อบังคับ ม.รามคำแหง หลายกรรมหลายบท ด้วยการคัดลอกผลงานตนเองและมีชื่อปรากฏในบทความทางวิชาการ ที่ตนเองไม่มีส่วนร่วม
ภายหลังจากที่ผศ.สืบพงษ์ ถูกสภา ม.รามคำแหง ถอดถอนจากตำแหน่งอธิการบดีเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2565 ด้วยข้อหาการใช้วุฒิการศึกษาปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจากก.พ. การปกปิดหรือไม่รายงานต่อสภามหาวิทยาลัยกรณีการรับโอนทรัพย์สินจากนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ที่ถูกกล่าวหาว่าร่ำรวยผิดปกติและต่อมาศาลฎีกาได้พิพากษาให้ทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของแผ่นดิน และการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาด้วยข้อความอันเป็นเท็จ แล้ว
ปรากฏว่าในการประชุมสภา ม.รามคำแหง ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2565 สภามหาวิทยาลัยฯ ได้พิจารณารายงานจากคณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฏหมาย ฯ ที่สภามหาวิทยาลัยฯ ได้แต่งตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อร้องเรียน ผศ. สืบพงษ์ กรณีเข้าข่ายการคัดลอกผลงานตนเองโดยไม่มีการอ้างอิงผลงานเดิมของตน โดยคณะกรรมการได้สรุปว่า ข้อกล่าวหาดังกล่าวมีมูล โดยพิจารณาจากหลักฐานบทความทางวิชาการสองชิ้นของ ผศ. สืบพงษ์ และคณะ ผลงานทางวิชาการทั้งสองชิ้น ได้ถูกนำไปเผยแพร่ซ้ำซ้อนกันในวารสารทางวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ โดยไม่มีการอ้างอิง และมีเนื้อหาที่เหมือนกันกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ การเผยแพร่บทความในลักษณะดังกล่าวถือว่าเป็นการขัดต่อจรรยาบรรณทางวิชาการ ทำให้ผู้อื่นอาจเข้าใจผิดว่าเป็นผลงานใหม่และทำให้เกิดปัญหาการอ้างอิงและส่งผลกระทบต่อคุณภาพทางวิชาการ
คณะกรรมการตรวจสอบความไม่ชอบด้วยกฎหมายฯ ยังรายงานด้วยว่าพฤติการณ์ดังกล่าวยังส่งผลต่อความไม่ชอบด้วยกฎหมายของ ผศ.สืบพงษ์ ในการเป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรและอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกของคณะศึกษาศาสตร์ เนื่องจาก มีคุณสมบัติที่ไม่เป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่องเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2558 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2560 ข้อ 5.1.4 (1) ที่ระบุว่า “ต้องมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ไม่นำผลงานของผู้อื่นมาเป็นผลงานของตน และไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น ไม่นำผลงานของตนเองในเรื่องเดียวกันไปเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการมากกว่าหนึ่งฉบับ รวมถึงไม่คัดลอกข้อความใด ๆ จากผลงานเดิมของตน โดยไม่อ้างอิงผลงานเดิมตามหลักวิชาการ ทั้งนี้ ในลักษณะที่ทำให้เข้าใจว่าเป็นผลงานใหม่”
นอกจากนั้น การกระทำของ ผศ.สืบพงษ์ ยังขัดต่อข้อบังคับม.รามคำแหง ว่าด้วยจรรยาบรรณข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย และลูกจ้างมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. 2551 ข้อ 4.2 ข้อ 5.2 และข้อ 5.7 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การกระทำของ ผศ.สืบพงษ์ มีผลกระทบต่อผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ และมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือของหลักสูตรต่าง ๆ ของ ม.รามคำแหง รวมทั้งชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยฯ ด้วยพฤติการณ์เช่นนี้ ส่งผลให้ผศ.สืบพงษ์ เป็นผู้ที่ขาดคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้บริหาร เนื่องจากข้อบังคับ ม.รามคำแหง ว่าด้วยคุณสมบัติ และคุณสมบัติต้องห้ามของผู้บริหาร พ.ศ. 2562 ข้อ 3 กำหนดไว้ว่า “ผู้บริหารควรยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม ความถูกต้องและความเป็นธรรมในสังคม ยึดถือผลประโยชน์ของมหาวิทยาลัย เหนือกว่าประโยชน์ส่วนตน”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับคำฟ้อง 'สืบพงษ์' ฟ้องสภาม.ราม จำหน่ายคดีออกจากสารบบ พ้นสภาพอาจารย์
ม.รามคำแหง แพร่ข่าว ศาลปกครองสูงสุด ไม่รับฟ้อง 'สืบพงษ์ ปราบใหญ่' อดีตอธิการบดี ม.รามคำแหง ฟ้องสภาฯม.ราม จำหน่ายคดีออกจากสารบบ ระบุชัด'สืบพงษ์ ใช้ วุฒิป.เอก ไม่มีตัวตน ยืนยันพ้นสภาพอาจารย์ม.รามฯ
'อว.' แจงศาลปค.ไม่พิจารณาคุณวุฒิ 'ดร.สืบพงษ์' เหตุ 'ACICS' ไม่รับรองวิทยฐานะ
มีรายงานความคืบหน้าปัญหาคุณวุฒิ นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยรามคำแหง หลังจากเกิดข้อพิพาพกับสภามหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการฟ้องร้องกันอย่างยืดเยื้อ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม(อว.)
จบ! ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยกคำขอของ 'สืบพงษ์' ให้ทุเลาถอดพ้นอธิการบดีม.รามฯ
ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา คำร้องที่ ๒๘๐/๒๕๖๖ คำสั่งที่ ๗๔๔/๒๕๖๖ ในคดีของศาล
ศาลปกครองกลาง พิพากษาเพิกถอนมติสภาม.รามฯ ถอด 'สืบพงษ์' พ้นอธิการบดีม.รามฯ
ศาลปกครองกลางได้มีคำพิพากษา คดีหมายเลขดำที่ บ. 12/2565 หมายเลขแดงที่ บ.116/2566 ระหว่าง นายสืบพงษ์ ปราบใหญ่ ผู้ฟ้องคดี กับ สภามหาวิทยาลัยรามคำแหงที่ 1 ศาสตราจารย์ สมบูรณ์ สุข
ศาลไฟเขียว 'สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง' เลิกจ้าง 'สืบพงษ์ ปราบใหญ่' พร้อมให้ขนของออกจากสำนักงาน
ศาลจังหวัดสมุทรปราการ สั่งคุ้มครองชั่วคราว ไฟเขียว 'สภามหาวิทยาลัยรามคำแหง' เลิกจ้าง 'สืบพงษ์ ปราบใหญ่' ได้ ชี้นำวุฒิปริญญาเอกที่ไม่ได้รับการรับรองจาก ก.พ. จึงเป็นผู้ขาดคุณสมบัติ ต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีทันที พร้อมให้ขนของออกจากสำนักงาน